ผู้ติด
ยาเสพติด
84 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
แนวคิดการทำงาน : การแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน เป็นปัญหาสังคมที่มีความซับ
ซ้อน การแก้ไขและการป้องกันที่ยั่งยืนควรทำโดยชุมชน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
สามารถอยู่ในชุมชนได้ แม้ว่าปัญหายาเสพติดจะเกี่ยวข้องกับกฏหมาย แต่การใช้มาตรการ
ทางกฏหมายอย่างเข้มงวด คงจะแก้ไขได้เฉพาะปัญหาพื้นๆ และใช้ได้ผลเพียงระยะหนึ่ง
เท่านั้น การแก้ไขในระดับลึกและยั่งยืน คงต้องใช้ความมุ่งมั่นของผู้นำ การยอมรับและให้
โอกาสของคนในชุมชน โดยมีภาคราชการที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน
การบริการในรพ.สต.
รับส่งต่อจากหน่วยบำบัดเพื่อฟื้นฟูจิตใจ โดยปฏิบัติตามคู่มือกรมสุขภาพจิต
บริการในชุมชน
โดยยึดหลักดังต่อไปนี้
1. ชุมชนเป็นเจ้าของปัญหาและแก้ไขปัญหาชุมชน โดยการพูดคุยกันถึงปัญหาที่เกิด
ขึ้นและที่จะติดตามมาแก้ไขทบทวนวิธีปฏิบัติที่ผ่านมาว่า มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไรบ้าง
แสวงหาวิธีการต่างๆ ที่ได้ผลจากชุมชนอื่นๆ ร่วมกับใช้แนวทางของรัฐ ปรับให้เหมาะสมกับ
ชุมชนของตนเอง คัดสรรผู้นำตามธรรมชาติและคณะกรรมการเพื่อกำหนดแผนการแก้ไข
ปัญหา
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 85
2. จำแนกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน การจำแนกกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้ชัดเจน
จะช่วยทำให้การแก้ไขในแต่ละกลุ่มเป็นไปอย่างเหมาะสม ดังนี้
• กลุ่มปลอด ใช้การเสริมสร้างความดี ยกย่อง ชมเชย โดยมอบวุฒิบัตร/แจกธง
ประจำบ้าน
• กลุ่มเสี่ยง ป้องกันโดยรณรงค์ ให้ความรู้ ประสานกับโรงเรียนและครอบครัวใน
การเฝ้าระวัง
• กลุ่มเสพ/กลุ่มติด ช่วยเหลือให้ หยุด - ลด - เลิก โดยส่งบำบัด จัดกิจกรรมใน
ชุมชนร่วมกับโรงพยาบาลแม่ข่าย สนับสนุนให้หยุดใช้ ควบคุมไม่ให้มีแหล่ง
จำหน่ายในหมู่บ้าน วางเงื่อนไขทั้งด้านบวกและลบ เช่น ไม่ส่งชื่อให้ตำรวจ ให้
โอกาสกลับตัวกลับใจ ถ้าไม่เลิกจะไม่ให้กู้เงินกองทุน ถ้าเลิกได้จะจัดให้อยู่กลุ่ม
ปลอด ให้กู้ยืมเงินไปลงทุน
• กลุ่มผู้ค้า ควบคุมไม่ให้แหล่งจำหน่ายในหมู่บ้าน วางเงื่อนไขทั้งด้านบวกและลบ
เช่น ไม่ส่งชื่อให้ตำรวจ ให้โอกาสกลับตัวกลับใจ ถ้าไม่เลิกจะไม่ให้กู้เงินกองทุน
หมู่บ้าน ถ้าเลิกได้จะจัดให้อยู่กลุ่มปลอด ให้กู้ยืมเงินไปลงทุนได้
3 . ติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง กลุ่มผู้เสพและค้า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้
ชีวิตเหมือนคนทั่วไป นั่นคือมีงานประจำทำ มีการออกกำลังกาย ได้รับการยอมรับจาก
คนในชุมชน รู้สึกตนเองมีคุณค่าในหมู่บ้าน ชุมชนยอมรับและเปิดโอกาสให้กู้เงินลงทุน ให้
เข้าสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์หมู่บ้าน เป็นประธานกีฬาหมู่บ้าน ฯลฯ มีการเฝ้าระวังโดย
ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านที่รับผิดชอบแต่ละครอบครัวเป็นประจำทุกสัปดาห์ เด็ก
นักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น หนีเรียน ครูจะรายงานให้คณะกรรมการหมู่บ้านทราบ เพื่อ
จะได้ไปพูดคุยกับครอบครัว
86 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
• จัดตั้งกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน
• ประสานกับผู้นำชุมชนจัดกิจกรรมเข้าค่ายสำหรับกลุ่มเสี่ยง (ยังไม่ติดยา) หรือ
กลุ่มที่รักษาหายแล้ว เพื่อสร้างทักษะชีวิต และให้เป็นแกนนำเยาวชนในการต่อ
ต้านยาเสพติด ให้เป็นวิทยากรกระบวนการ
• ประสานหาเวทีให้กลุ่มเสี่ยงได้แสดงออกในความสามารถต่างๆ ด้านกีฬา ศาสนาดนตรี ศิลปวัฒนธรรม
วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น