วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คู่มือ รพ สต 17 ภารกิจหลักบท 3 โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การดำเนินงานเชิงรุก
หมายถึง การจัดกิจกรรมลงในพื้นที่เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันโรค
ติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ เพื่อให้ประชาชนตระหนักและลดพฤติกรรมเสี่ยง รวมถึง
การประชาสัมพันธ์การให้บริการตรวจรักษา คัดกรองของสถานบริการสาธารณสุข ตลอดจน
การค้นหาและติดตามผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์หรือผู้ป่วย
เพื่อนำเข้าสู่บริการในระบบรักษาพยาบาลที่เหมาะสม หรือจัดคลินิกเคลื่อนที่เพื่อบริการ
ตรวจคัดกรองโรคให้แก่กลุ่มเสี่ยงต่างๆ
งานเชิงรุก
1. สำรวจข้อมูลทางระบาดวิทยา เพื่อนำมาวิเคราะห์สถานการณ์ และวางแผนการ
ทำงานป้องกันควบคุมโรค
1.1 สำรวจพื้นที่ที่มีประชากรในเขตรับผิดชอบที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง ได้แก่ สำรวจ
สถานบริการทางเพศ สำรวจชุมชนที่มีผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด สำรวจสถานบันเทิง
หรือสถานที่ต่างๆ ที่มีกลุ่มประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนและวัยรุ่นที่มีโอกาสมี
พฤติกรรมเสี่ยง
1.2 สำรวจประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง และลักษณะพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบ เช่น
สำรวจจำนวนผู้ให้บริการทางเพศในชุมชน สำรวจผู้ใช้ยาเสพติดในชุมชนปีละ
หนึ่งครั้ง และหลังจากสำรวจแล้ว ควรมีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล และจัด
ทำรายงาน รวมถึงการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการ
วางแผนการทำงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ได้อย่างเหมาะสม
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 149
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจรักษาที่พร้อมด้วย (ในอดีตที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด
เป็นผู้ให้บริการในคลินิกกามโรค และปัจจุบันคลินิกได้ย้ายมาขึ้นกับ รพท./รพศ. แต่ผู้ให้
บริการที่คลินิกส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการสาธารณสุข หรือพยาบาล มีน้อยแห่งที่มีแพทย์ลง
ตรวจ หลังจากย้ายมาที่ รพท./รพศ. ผู้เข้ารับบริการก็น้อยลง เนื่องจากปัญหาปริมาณผู้ป่วย
โรคทั่วไปจำนวนมาก และความไม่ไว้ใจในการมารับบริการที่โรงพยาบาลใหญ่ๆ ไม่มีการ
ติดตามลงพื้นที่ด้วย ดังนั้น รพ.สต. ก็สามารถให้บริการได้ ซึ่งปัจจุบันงานพัฒนาศักยภาพ
บุคลากรและหน่วยบริการให้บริการได้มาตรฐานนั้นเป็นภารกิจหนึ่งที่กรมควบคุมโรคดำเนินการ
ถ้าสามารถมีบริการได้จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการของกลุ่มผู้ให้บริการทางเพศ ประชาชน
โดยเฉพาะเยาวชนที่ติดเชื้อได้ ลดปัญหาการดื้อยา เนื่องจากการซื้อยากินเอง และลดการ
แพร่ระบาดของโรคได้)
2. ติดตามให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคแก่คู่สัมผัสโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ใน
ครอบครัวหรือชุมชน
3. ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในผู้ให้บริการทางเพศ เช่น ตรวจภายใน
ทุกเดือน เจาะเลือดเพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคซิฟิลิสเมื่อมารับบริการครั้งแรก และทุก 3 เดือน
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกปี โดยส่งตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของ รพช./
รพท./รพศ.
4. ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคทั่วไป
5. ให้ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสทั้งแบบปฐมภูมิ (ให้ยาเมื่อผู้ติดเชื้อ HIV ยังไม่
เคยป่วยเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสชนิดนั้นมาก่อนแต่มีจำนวนเม็ดเลือดขาว CD4 น้อยกว่า
เกณฑ์ที่กำหนดตามแนวทางการดูแลรักษาโรค ซึ่งสามารถเกิดโรคฉวยโอกาสได้) และการ
150 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ป้องกันแบบทุติยภูมิ (การให้ยาเมื่อผู้ป่วยป่วยเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสชนิดนั้นๆ แล้ว และ
รักษาหายขาดแล้ว จึงต้องรับประทานยาเพื่อป้องกันการเป็นโรคนั้นซ้ำอีก) โดยรับส่งต่อ
ผู้ติดเชื้อ HIV ที่ได้รับการดูแลรักษาจาก รพช./รพศ./รพท. และแพทย์สั่งให้มารับยาป้องกัน
เพื่อรับมาดูแลให้ยาต่อเนื่อง
6. ให้บริการยาต้านไวรัส HIV โดยรับส่งต่อผู้ติดเชื้อที่มีประวัติรับประทานยาอย่าง
ต่อเนื่อง และไม่มีปัญหาทางการแพทย์ที่แทรกซ้อน จาก รพช./รพศ./รพท. เพื่อรับมาดูแล
ต่อเนื่อง และจะส่งผู้ป่วยกลับไปรับบริการที่ รพช./รพศ./รพท. เป็นครั้งคราวตามที่แพทย์
นัด หรือเมื่อเกิดปัญหาด้านการรักษา เช่น การดื้อยา หรืออาการข้างเคียงจากยา
7. มีบริการฝากครรภ์ (antenatal care : ANC) เช่น ตรวจคัดกรองการติดเชื้อ HIV
และซิฟิลิส ในหญิงตั้งครรภ์ และให้บริการยาต้านไวรัสเอดส์เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ
จากแม่สู่ลูก
8. ตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น (routine laboratory testing) เพื่อใช้ประกอบ
การวินิจฉัยโรค ในกรณีที่มีแพทย์ประจำอยู่ที่ รพ.สต. และมีวัสดุอุปกรณ์ตรวจทางห้อง
ปฏิบัติการพร้อม เช่น กล้องจุลทรรศน์ และน้ำยาตรวจ ได้แก่ การตรวจ UA stool exam
(เพื่อดูการติดเชื้อที่อุจจาระ เช่น พยาธิ) การย้อมสีกรัม (ram’s stain) (เช่น ใช้ดูเชื้อ
หนองใน ดูการติดเชื้อที่ปอดจากการย้อมเสมหะ หรือดูการติดเชื้อที่แผลต่างๆ) wet
smear (ใช้น้ำเกลือหยดลงบนตัวอย่างตกขาวบนสไลด์แล้วส่งกล้องจุลทรรศน์ดู เพื่อหาเชื้อ
Trichomonas Vaginalis) KOH (ใช้ดูเชื้อรา) แต่ถ้าไม่มีแพทย์ประจำอยู่ หรืออุปกรณ์การ
ตรวจไม่พร้อม ก็ส่งตัวอย่างตรวจที่ รพช./รพท./รพศ. ได้
9. ตรวจหาการติดเชื้อ HIV โดยการตรวจหา HIV Antibody ด้วยวิธีการตรวจเร็ว
(rapid test) หรือตรวจโดยการส่งตัวอย่าง
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 151
10. ตรวจคัดกรองหามะเร็งปากมดลูก โดยวิธี PAP Smear โดยการตรวจผู้ป่วยเองแล้ว
ส่งไปดูที่ รพช./รพท./รพศ. (เพราะเป็นการตรวจตามปกติ สำหรับผู้ติดเชื้อ HIV ที่มักพบ
มะเร็งปากมดลูกได้บ่อย สำหรับวิธี VIA ยังอยู่ระหว่างการศึกษา)
11. ตรวจคัดกรองหาวัณโรคปอดในผู้ติดเชื้อ HIV โดยการทำตรวจทางรังสีปอดและ
ตรวจเสมหะ ซึ่งทำได้เองที่ รพ.สต. ถ้ามีแพทย์ประจำ หรือวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการพร้อม แต่ถ้าไม่พร้อมก็ส่งผู้ป่วยไปรับการตรวจที่ รพช. และรับส่งต่อมาให้รับ
ยารักษาวัณโรคต่อเนื่องด้วยวิธี DirectIy Observed Therapy : DOT
12. ให้คำปรึกษาเพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีแบบสมัครใจ Volunteer Counselling
and Testing Programs : VCT)
13. ให้คำปรึกษาเรื่องการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ เพื่อส่งเสริมการรับประทาน
ยาอย่างต่อเนื่อง
14. ให้คำปรึกษาโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
15. ให้คำปรึกษาด้านจิตใจ และสังคม
16. ให้คำปรึกษาเพื่อวางแผนครอบครัว การปรึกษาก่อนการตั้งครรภ์ การปรึกษา
ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
17. ให้คำปรึกษากับคู่ของผู้ติดเชื้อ HIV และครอบครัว (couple counseling, family
counseling)
152 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
18. ให้สุขศึกษาเกี่ยวกับโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การใช้ถุงยาง
อนามัยอย่างถูกต้องแก่ผู้รับบริการ เช่น ผ่านทางสื่อต่างๆ
19. มีการจัดกิจกรรมกลุ่มสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV เช่น เพื่อส่งเสริมการรับประทานยา
ต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คำปรึกษาซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม
20. มีการแจกอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ได้แก่ ถุงยางอนามัย ให้กับผู้ติดเชื้อ HIV
และผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง รวมถึง สารหล่อลื่น สำหรับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
อุปกรณ์หรือผงทำความสะอาดเข็มและกระบอกฉีดยา สำหรับกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด
21. มีบริการวัคซีนป้องกันโรคสำหรับเด็กที่ติดเชื้อ HIV ตามเกณฑ์ของกระทรวง
สาธารณสุข
22. รวบรวมข้อมูลและจัดทำรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาที่เกี่ยวข้อง เพื่อ
ติดตามสถานการณ์โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น รายงาน 506/1 และ
รายงาน 506
23. พัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการอย่างต่อเนื่อง เช่น ส่งไปฝึกอบรม ดูงาน เป็นต้น
ระบบส่งต่อและเชื่อมโยง
1. ส่งตัวอย่าง หรือส่งคนไข้ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ซับซ้อนที่ รพช./รพท./รพศ.
เช่น การตรวจ HIV PCR ในเด็ก การตรวจ CD4 การตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส TPHA
VDRL การตรวจ urine PCR เพื่อหาการติดเชื้อหนองใน ในบางกรณีอาจต้องส่งคนไข้ไป
ตรวจที่ รพช./รพท./รพศ. เช่น การตรวจ CD4 ที่ไม่สามารถเก็บตัวอย่างส่งตรวจได้ภายใน
24 ชั่วโมง เป็นต้น
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 153
2. การส่งต่อการรักษาทางการแพทย์ที่ซับซ้อน ไปยัง รพช./รพท./รพศ.
3. การส่งต่อผู้ติดเชื้อ HIV ไปเริ่มรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ที่ รพช./รพท./รพศ.
4. ส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV ไปรับการผ่าตัดครรภ์ที่ รพช./รพท./รพศ.
5. ส่งต่อ รพช./รพท./รพศ. เพื่อให้ติดตามการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคแก่คู่สัมผัส
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในครอบครัวหรือชุมชนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ รพช./รพท./
รพศ.
6. ส่งต่อผู้ใช้ยาที่ติดเชื้อ HIV ไปรับการบำบัดรักษายาเสพติดที่คลินิก/รพ./ศูนย์บำบัด
รักษายาเสพติด
7. การส่งต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือด้าน
สังคม และสวัสดิการสังคมต่างๆ เช่น เงินสงเคราะห์ การฝึกอาชีพ
8. ส่งต่อผู้ติดเชื้อ HIV ให้กับครอบครัว เพื่อการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องที่บ้าน
9. ติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ HIV อย่างต่อเนื่องที่บ้าน
10. มีการส่งต่อยาต้านไวรัสเอดส์จากโรงพยาบาลชุมชนมาให้กับ บุคลากรของ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลที่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานเพื่อป้องกันการติด
เชื้อ HIV
154 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น