วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คู่มือการให้บริการ รพ สต 5

ภารกิจหลัก
พื้นฐานในการให้บริการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

เด็ก
38 | คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
แนวคิดการทำงาน : เด็กเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของการทำงานส่งเสริมสุขภาพของ
รพ.สต.โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะทำให้เด็กไทยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรงทั้งร่างกายและ
จิตใจ มีสติปัญญาดี และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข
แนวคิดการดูแลสุขภาพเด็กเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากด้วยความรู้ทางวิชาการที่เพิ่มขึ้น
และสำหรับประเทศไทยที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองที่ดีขึ้นตามลำดับ
เป้าหมายการทำงานเกี่ยวกับสุขภาพเด็ก ได้ก้าวพ้นจากปัญหาความขาดแคลน เช่น ปัญหา
เด็กขาดสารอาหาร ปัญหาการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร มาเป็นความพยายามทำให้เด็กรุ่น
ใหม่มีพัฒนาการทางสมอง และสติปัญญาที่เหมาะสม สามารถดำรงชีวิตอย่างสร้างสรรค์ มี
ความสุข
นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยที่แสดงอย่างชัดเจนว่า การเจริญเติบโตของทารกขณะที่อยู่ใน
ครรภ์ มีผลต่อพัฒนาการของร่างกายและสมองเมื่อเด็กเจริญเติบโตมากขึ้น เช่น ทารกน้ำ
หนักน้อย หรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอขณะที่อยู่ในครรภ์ ทำให้เด็กที่เกิดมามีความเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เมื่อเด็กคนนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน
เพิ่มขึ้น
การจะบรรลุเป้าหมายเด็กรุ่นใหม่มีสุขภาพดีในภาพรวม จึงหมายถึงการทำงาน ที่จะ
ช่วยดูแลตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ ไปจนถึงวัยรุ่น ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของชีวิต มีบริการ หรือ
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. | 39
การดูแลสำคัญๆ ที่ รพ.สต. ต้องเข้าไปดูแลหรือจัดให้มีบริการ แบ่งได้เป็น 5 ช่วงอายุ
หลักๆได้แก่
1. ช่วงอยู่ในครรภ์ : เป็นช่วงที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ รวม
ทั้งสติปัญญา การดูแลหญิงตั้งครรภ์ ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างความมั่นใจว่า จะ
ได้ประชากรในอนาคตที่แข็งแรง เก่ง และมีความสุข
2. ช่วงอายุหลังคลอดถึง 1 ปี : เป็นช่วงเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ด้วยโรคทางกาย
สำหรับเด็กที่เกิดในประเทศกำลังพัฒนา (เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว) แต่สำหรับ
ประเทศไทย การดูแลเด็กในช่วงวัยนี้ มุ่งหวังให้เกิดกิจกรรมหรือให้บริการที่จะเปิดโอกาสให้
เด็กมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมกับครอบครัว ในการจัดบริการ
3. ช่วง 1-3 ปี : พัฒนาการทางสมองของเด็กจะเจริญเติบโตอย่างมากในช่วงอายุ 3
ปีแรก การดูแลเด็กในช่วงนี้จึงมุ่งที่จะทำให้เด็กมีประสบการณ์ และเจริญเติบโตในครอบครัว
และสิ่งแวดล้อม ที่กระตุ้นพัฒนาการของสมองอย่างเต็มที่ โดยคำนึงถึงเรื่องอาหาร
การดูแลสุขภาพทั่วไป และที่สำคัญคือมีโอกาสเรียนรู้ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างที่
ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก
4. ช่วงอายุ 3-5 ปี : เป็นช่วงที่เด็กเริ่มเข้าไปมีชีวิตในสถาบัน หรือหน่วยงานที่ดูแล
พัฒนาการและสุขภาพนอกเหนือจากครอบครัว และมีข้อมูลชัดเจนจากการศึกษาในต่าง
ประเทศว่า ศูนย์เด็กเล็กที่มีคุณภาพ มีผลต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาวของเด็กเมื่อเติบโตขึ้น
5. ช่วงอายุวัยเรียน (ไม่นับรวมวัยรุ่น ซึ่งจะแยกพูดถึงโดยเฉพาะ) : รพ.สต. ควรมี
บทบาทที่จะทำให้ ชีวิตในวัยเรียนเป็นช่วงสำคัญในพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ และสติ
ปัญญานอกเหนือจากการได้ความรู้ที่สำคัญตามระบบการศึกษา เด็กนักเรียนควรมีโอกาสใน
40 | คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
การพัฒนาศักยภาพและการเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วม ในการทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพ รวม
ทั้งมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และปัญญา
การดูแลเด็กให้มีพัฒนาการอย่างสมดุลผ่านการจัดกิจกรรมการให้บริการที่เหมาะสม
ในแต่ละช่วงอายุ จำเป็นต้องดำเนินการโดย รพ.สต. ร่วมกับการทำงานกับภาคีต่างๆ โดย
เฉพาะคือ ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และท้องถิ่น และยังต้องมีการเชื่อมต่อกับหน่วย
บริการระดับอำเภอ (CUP) ในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะการดูแลเมื่อเจ็บป่วยหรือมีโรคเรื้อรัง
ซึ่งต้องมีการจัดเครือข่ายการดูแลต่อเนื่องตามสภาวะสุขภาพรายบุคคล
เด็กอายุ 0-1 ปี
การให้บริการของ รพ.สต.ในเด็กกลุ่มอายุ 0-1 ปี รพ.สต.ควรเน้นการดำเนินการแบบ
บูรณาการกับกิจกรรมบริการดูแลหลังคลอด พ่อ แม่ และญาติ หรือพี่เลี้ยงเด็ก ซึ่งการ
บริการเป็นกิจกรรมทั้งใน รพ.สต.และการเยี่ยมบ้านตามมาตรฐาน Home Health Care
(HHC) โดยการจัดบริการ มีดังนี้
1. ตรวจ/ประเมินคัดกรองความเสี่ยงในเด็กแรกเกิดตามมาตรฐาน (คู่มือ)
2. กินนมแม่ เด็กในวัยนี้ควรมีการส่งเสริมให้ได้รับนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน
และต่อเนื่องควบคู่กับอาหารเสริมจนครบ 2 ปี เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและกระตุ้นสายใยรัก
ระหว่างแม่ต่อลูก โดยการส่งต่อข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) กับ รพ.สต. ซึ่ง
เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้มีการขึ้นทะเบียน วางแผนการเยี่ยม และดำเนินการเยี่ยมบ้านโดยทีม
สหวิชาชีพร่วมกับ อสม. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. | 41
3. ประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือกรมอนามัย เสริมการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ จัด
คลินิกบริการที่เหมาะสมกับช่วงอายุทุกกลุ่ม และควรกำหนดแผนดำเนินกิจกรรม ‘คลินิก
เด็กดี’ Well Baby Clinic (WBC) ตามความเหมาะสมกับพื้นที่ การจัดกิจกรรมบริการ
แต่ละกิจกรรมตามมาตรฐานโดยการมีส่วนร่วมของพ่อ แม่ และญาติ หรือพี่เลี้ยงเด็กทุกขั้น
ตอน เพื่อจัดกิจกรรมในการประเมินพัฒนาการเด็กให้ได้ตามมาตรฐาน
วิธีการจัดบริการ อาจจัดได้ในหลายรูปแบบ เช่น
ก. จัดกิจกรรมทุกจัดกรรมในวันเดียวกัน (EPI WBC ทันตแพทย์ ฯลฯ) หรือ
ข. จัดกิจกรรมตามข้อ ก. แต่ลดจำนวนกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มวันบริการ
ค. จัดกิจกรรมบริการแบบแยกจัดกิจกรรมแต่ละวัน
ง. โรงพยาบาลแม่ข่ายร่วมจัดบริการ
4. หนังสือเล่มแรกของหนู เด็กในวัยนี้ควรเสริมสร้างการพัฒนาด้านสติปัญญาและ
การได้รับความอบอุ่นจากครอบครัว โดยใช้แนวทางการดำเนินกิจกรรมตามแนวทางหนังสือ
เล่มแรกของหนู (แนวทางการดำเนินงานศึกษาจากคู่มือการดูแลหลังคลอด)
การเชื่อมโยง
รพ.สต. ต้องมีระบบการประสานและเชื่อมโยงข้อมูลการเด็กแรกเกิด หญิงหลังคลอด
กับโรงพยาบาลแม่ข่าย, คลินิก, โรงพยาบาลเอกชน และอสม. เพื่อนำมาทะเบียนให้ครบถ้วน
เด็ก 1-5 ปี
ในการจัดบริการของ รพ.สต. ควรจัดกลุ่มเด็กในวัยนี้เป็น 2 กลุ่ม เพื่อใช้จัดกิจกรรม
บริการสุขภาพตามวัย คือ อายุ 1-3 ปี และ อายุมากกว่า 3-5 ปี
42 | คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
แนวทางการจัดบริการเด็กอายุ 1-5 ปี ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล
อายุ 1 - 3 ปี
กิจกรรม
- ตรวจคัดกรอง ค้นหาความผิดปกติ และ
พัฒนาการตามเกณฑ์ ด้าน
ภาวะพร่องไทรอยด์
พัฒนาการรับรู้
พัฒนาการตามวัย
ตรวจสุขภาพช่องปาก
- เฝ้าระวังทางโภชนาการ
และแก้ไขทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน
- ติดตามเยี่ยมดูแลครอบครัวเด็กที่ต้องได้รับ
การดูแลพิเศษ
- ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
- หนังสือเล่มแรกของหนูฯ
อายุมากกว่า 3 ปี - 5 ปี (ก่อนวัยเรียน)
กิจกรรม
- ตรวจคัดกรอง ค้นหาความผิดปกติ และ
พัฒนาการตามเกณฑ์ ด้าน
ภาวะพร่องไทรอยด์
พัฒนาการรับรู้/การเรียนรู้ 7 ระบบ
พัฒนาการตามวัย
ตรวจสุขภาพช่องปาก
- เฝ้าระวังทางโภชนาการ
และแก้ไขทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน
- ติดตามเยี่ยมดูแลครอบครัวเด็กที่ต้องได้รับ
การดูแลพิเศษ
- ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
- เล่านิทาน ฯ
แนวทางปฏิบัติ ตามคู่มือแนวปฏิบัติบริการสุขภาพสำหรับศูนย์สุขภาพชุมชนด้าน
ส่งเสริมสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการ
การเชื่อมโยง
การจัดบริการกับเด็กวัยนี้ ต้องมีระบบการประสานเชื่อมโยงข้อมูลกับหลายฝ่าย โดย
เฉพาะโรงพยาบาลแม่ข่าย และ อปท. ซึ่งรับผิดชอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนที่ดูแล
เด็กก่อนวัยเรียน โดย รพ.สต.ประสานเพื่อให้เกิดการจัดบริการแบบมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ
ดังนี้
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. | 43
รพ.สต. ส่งเสริมให้มีการจัดการบริการแบบมีส่วนร่วม
1. รพ.สต.ศึกษา มาตรฐานการพัฒนาเด็กเล็กของทุกองค์กร และบูรณาการ
แล้วนำเสนอ อปท. เพื่อจัดลำดับความสำคัญและวางแผน ดำเนิน
กิจกรรม สนับสนุนทรัพยากรร่วมกัน โดยคำนึงถึงสภาพในแต่ละพื้นที่
สำคัญ
2. รพ.สต.ร่วมกับ อปท.ในการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงเด็ก ด้วยการอบรม เพิ่ม
ทักษะ การจัดชุดความรู้ เพื่อให้ครูพี่เลี้ยงดำเนินกิจกรรมสุขภาพแก่เด็กได้
3. รพ.สต.ส่งเสริมให้ อปท. ครูพี่เลี้ยง และผู้ปกครองเด็กให้เข้ามามีส่วนร่วม
ในการพัฒนาการเด็ก ดูแลสุขภาพ และอื่นๆ เช่น ผู้ปกครองจิตอาสาเล่า
นิทานให้เด็กฟัง วันเด็ก เรียนรู้สืบสานประเพณี/วัฒนธรรมท้องถิ่น หรือ
การปรับปรุงโครงสร้าง สนามเด็กเล่น ที่ปลอดภัย มีมาตรฐานฯ
4. รพ.สต.จะต้องมีการวางแผน การจัดบริการแบบมีส่วนร่วม และติดตาม
ประเมิน ในการพัฒนาเด็กทางสุขภาพกาย สุขภาพจิต ที่ดี
1. รพ.สต.ประสานกับคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน (ประกอบ
ด้วย ครูอนามัย ผู้นำชุมชน และผู้ปกครอง) ในการจัดทำแผนบริการด้าน
สุขภาพในโรงเรียนประจำปี
2. รพ.สต.ประสานโรงเรียนในการจัดชุดความรู้ด้านสุขภาพพื้นฐานตามวัยแก่
เด็ก โดยผู้ถ่ายทอดความรู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ด้านสุขภาพ อาจมา
จากหลายฝ่าย เช่น นักเรียน (รุ่นพี่ดูแลรุ่นน้อง) จิตอาสา อสม. ครู
อนามัย เจ้าหน้าที่ รพ.สต. หรือผู้ป่วย เป็นต้น
3. รพ.สต.ให้บริการสุขภาพตามมาตรฐาน เช่น ตรวจสุขภาพทั่วไป
ทันตสาธารณสุข วัคซีนฯ และการส่งเสริมเฝ้าระวังสุขภาพตนเองของ
นักเรียนชั้น ป.5 ขึ้นไป เทอมละ 1 ครั้ง
4. ส่งเสริมการค้นหาปัญหาสุขภาพของนักเรียนและปัญหาสิ่งแวดล้อม และ
แนวทางแก้ไข
5. รพ.สต.ควรมีการชี้แจงข้อมูลสุขภาพของเด็กกับผู้ปกครอง และโรงเรียน
เพื่อจัดกิจกรรม รักษา ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพร่วมกัน
หน่วยงาน
อปท.
(ที่มีความ
พร้อมทุก
ฝ่าย)
โรงเรียน
รัฐ/เอกชน
(ที่มีความ
พร้อมทุก
ฝ่าย)
44 | คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
เด็ก 6-14 ปี (วัยเรียน)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเชิง
รุก คือการเข้าไปป้องกัน แก้ไข กำจัดที่ต้นเหตุภาวะสุขภาพ การจัดบริการสุขภาพใน
โรงเรียน ควรประกอบด้วย
• การสร้างศักยภาพเด็กนักเรียน รพ.สต.จัดให้มีการสร้างอาสาสมัครแกนนำ
นักเรียนด้านสุขภาพ ซึ่งในแต่ละพื้นที่สามารถกำหนดรูปแบบวิธีการ ที่มาของ
อาสาสมัครได้ตามสภาพพื้นที่ เช่น รุ่นพี่ดูแลน้อง (นักเรียนชั้น ป.5, 6 เป็นพี่
เลี้ยง ป.1 ) อสม.น้อย, อย.น้อย, จิตอาสา, ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นต้น
• การพัฒนาสุขภาพจิต (จิตวิทยา) รพ.สต.มีการประเมินและให้การดูแลกลุ่มเสี่ยง
ร่วมกับผู้ปกครอง และโรงเรียน
• การสร้างความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ รพ.สต.จัดทำแผนการเรียนการสอนด้าน
สุขภาพ (สุขบัญญัติ 10 ประการ) ที่มีมาตรฐาน (ด้านการศึกษา) มีประสานงาน
กับทางโรงเรียนในการจัดทำหลักสูตรด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานเพื่อเป็นการสร้าง
ความรู้ และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
• การจัดการจำหน่ายอาหารในโรงเรียนและบริเวณรอบโรงเรียน รพ.สต.ควรมีการ
ประชาคมร่วมกับผู้ปกครอง โรงเรียน ผู้ค้า และอปท. เพื่อหามาตรการร่วมกันที่
ให้ไม่มีการจำหน่ายอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเด็กวัยเรียน และเป็นการ
สร้างพฤติกรรมการบริโภคที่ดี เช่น โรงเรียน และบริเวณด้านนอกโรงเรียน ไม่
ควรมีการจำหน่าย ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม ลูกอม เป็นต้น
• รพ.สต.จัดให้มีการชี้แจงข้อมูลสุขภาพของเด็กกับผู้ปกครองและโรงเรียน เพื่อจัด
กิจกรรม รักษา ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ฟื้นฟูสภาพร่วมกัน
• บริการทันตสุขภาพ ตามแนวทางทันตสาธารณสุข
• บริการตรวจสุขภาพพื้นฐาน (ตามคู่มือ)
• รับวัคซีนตามเกณฑ์
• ส่งเสริมการเข้มงวดให้โรงเรียนปลอดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และสารเสพติด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น