วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คู่มือ รพ สต 12 ภารกิจหลักบท 3 เฝ้าระวัง สอบสวนโรค

ขอบเขตบริการ
เฝ้าระวัง
สอบสวนโรค
122 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
1. การเฝ้าระวังโรคเชิงรุก หมายถึง การเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์โรค/ภัยสุขภาพที่
คาดว่าจะเกิด และค้นหาการระบาดโรค/ภัยที่อาจจะเกิดขึ้นและสามารถดำเนินการควบคุม
ได้ทันเวลา
2. วิธีการให้บริการ
รูปแบบการทำงานเฝ้าระวัง
• การเฝ้าระวัง ค้นหาและรายงานโรค/ภัย ประจำถิ่นที่สำคัญและโรคอุบัติใหม่ที่อาจ
เกิดขึ้น
- ให้มีการรายงานโรคด้วยบัตรรายงาน 506 โดยอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านโปรแกรม
เก็บข้อมูลผู้มารับบริการ เช่น Health Center Information System : HCIS
- ค้นหาการระบาดของโรค/ภัย ในระบบรายงาน 506 และในฐานข้อมูลผู้มารับ
บริการ (HCIS) หากพบผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายคลึงกันมารับบริการมากผิดปกติ
หรือมาจากพื้นที่เดียวกันพร้อมกันเป็นกลุ่มก้อน หรืออาการรุนแรงที่ไม่ทราบ
สาเหตุ ให้รายงานโรงพยาบาลแม่ข่ายทันที
- หากพบผู้ป่วยกล้ามเนื้อปวกเปียกเฉียบพลัน ให้ปรึกษาหรือส่งต่อโรงพยาบาล
แม่ข่ายเพื่อการวินิจฉัยยืนยัน
- หากทราบว่ามีการตายผิดปกติของสัตว์ ให้รีบรายงานโรงพยาบาลแม่ข่าย และ
ห้ามไม่ให้ประชาชนนำซากสัตว์มาบริโภค
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 123
- อบรม อสม.ให้ทราบปัญหา/โรค/ภัย ที่ต้องเฝ้าระวังตามฤดูกาลและรายงาน
อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
• การเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย / สัตว์สงสัยก่อโรคส่งตรวจหาเชื้อสาเหตุ
รพ.สต. ต้องเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยเมื่อสงสัยว่าจะป่วยด้วยโรคต่อไปนี้
1. เมื่อสงสัยผู้ป่วยจะเป็นอหิวาตกโรค ให้เก็บ Rectal Swab Culture
2. เมื่อสงสัยไข้เลือดออกรายแรกของหมู่บ้าน ให้เก็บเลือดด้วยกระดาษกรองซับเลือด
3. เมื่อมีสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติให้เก็บซากสัตว์เพื่อส่งตรวจ
• การสอบสวนการระบาด และการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย
การสอบสวนและควบคุมการระบาด รพ.สต. ต้องสามารถสอบสวนและควบคุม
การระบาดเบื้องต้นของโรคอาหารเป็นพิษในพื้นที่ของตนเอง ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยที่พบ เช่น เพาะเชื้อจากตัวอย่างอุจจาระใส่ในอาหาร
เลี้ยงเชื้อ อาเจียนของผู้ป่วยใส่ในถุงพลาสติกใหม่สะอาด และไม่เคยใช้งานมา
ก่อน
2. ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมโดยใช้ลักษณะอาการของผู้ป่วยที่พบ หรือใช้นิยามตาม
คู่มือ นิยามผู้ป่วย
3. สอบสวนผู้ป่วยเฉพาะรายจำนวนหนึ่ง (5-10 ราย) เพื่อค้นหาอาหารที่สงสัย
ปัจจัยเสี่ยง
4. เก็บตัวอย่างอาหารที่สงสัย เพื่อส่งตรวจหาสาเหตุ
5. แจ้งเตือนประชาชนให้หยุดบริโภคอาหารที่สงสัยที่ยังเหลืออยู่
6. รายงานโรงพยาบาลแม่ข่าย และขอความช่วยเหลือตามความจำเป็น
การสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย รพ.สต. จะต้องดำเนินการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะ
รายเมื่อพบผู้ป่วยไข้เลือดออกรายแรกของหมู่บ้าน ผู้ป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วย
วัคซีน โดยใช้แบบสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะรายตามคู่มือ นิยามโรคติดเชื้อ
124 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
• การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการควบคุมการระบาด
- สำรวจข้อมูลประชากรและชุมชน โดยบูรณาการไปกับการจัดทำแฟ้มครอบครัว
(Family Folder) และใช้เครื่องมือแผนที่เดินดินเพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐานของชุมชน
ที่รับผิดชอบ ดังนี้ โครงสร้างประชากร อาชีพ ศาสนา การอพยพเดินทางเข้า
ออก แหล่งอาหาร แหล่งน้ำ โรงงาน โรงเรียน ความครอบคลุมของวัคซีนอย่าง
น้อยปีละ 1 ครั้ง
- นำเสนอข้อมูลทางระบาดวิทยาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทราบ
สถานการณ์และแนวโน้มของโรคให้สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล อย่างน้อย
เดือนละ 1 ครั้ง เช่น จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่พบในปัจจุบันเทียบกับช่วง
เวลาเดียวกันในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นโรคที่ป้องกัน
ได้ด้วยวัคซีนและผลการสอบสวน ความครอบคลุมของการให้วัคซีน
• การทำงานร่วมกับเครือข่ายและ อสม. เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมโรค
- บุคลากรผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยาและควบคุมโรคต้องเป็นสมาชิกในทีมเฝ้า
ระวังและสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team
SRRT) ของโรงพยาบาลแม่ข่าย
- อ่านรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ โดยเฉพาะสรุปการตรวจ
สอบข่าวการระบาดของโรคในรอบสัปดาห์ บนเว็บเพจ http://203.157.15.4/
wesr/
- ติดตามสถานการณ์ของโรคอุบัติใหม่ และแนวทางการดำเนินงานของสถาน
บริการทางสาธารณสุขบนเว็บไซด์กระทรวงสาธารณสุข http://www.moph.
go.th/ และกรมควบคุมโรค http://www.ddc.moph.go.th/
- ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคจากโรงพยาบาลแม่ข่าย หรือสำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัดอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อทราบสถานการณ์และ
แนวทางการดำเนินงานต่างๆ ที่อาจมีการปรับเปลี่ยน
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 125
- จัดทำทะเบียนและทบทวนหมายเลขโทรศัพท์ หรือที่อยู่ที่เป็นปัจจุบันของ
อสม.ทุกคนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
- จัดทำทะเบียนและทบทวนหมายเลขโทรศัพท์ หรือที่อยู่ที่เป็นปัจจุบันของ
สมาชิกทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Repaid Response
Team : SRRT ของโรงพยาบาลแม่ข่าย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
3 . Tools : รพ.สต. ควรมีอุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างส่งตรวจโรคที่พบบ่อย
• อาหารเลี้ยงเชื้อ (Carry Blair) สำหรับเก็บเพาะเชื้อจากตัวอย่างอุจจาระ
(Rectal Swab Culture)
• กระดาษกรองซับเลือด เพื่อส่งตรวจไข้เลือดออก
• ตลับเก็บ fresh stool เมื่อมีผู้ป่วย Acute Flaccid Paralysis : AFP
• ขวด Sterile เก็บสิ่งที่ผู้ป่วยอาเจียน หรือไอ
4 . วิธีการจัดการภายใน รพ.สต. และวิธีเชื่อมโยงกับหน่วยที่สูงขึ้น รวมทั้งภาคีอื่นๆ
• ในภาวะปกติ การเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่สูงขึ้นสามารถดำเนินการผ่านการ
ประชุมประจำเดือน โทรศัพท์ โทรสาร หรือ อินเทอร์เน็ต
• หากเกิดการระบาด ให้แจ้งข่าวการระบาดไปยังโรงพยาบาลแม่ข่ายทันที และ
ให้แจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภายใน 24 ชั่วโมง
• หากพบการระบาดที่มีขอบเขตกว้างขวางนอกพื้นที่รับผิดชอบ ให้แจ้งสำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัดทันที ทางโทรศัพท์หรือโทรสาร หากพบการระบาดเกี่ยวข้อง
กับจังหวัดอื่นๆ ให้แจ้งสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขตหรือสำนักระบาดวิทยา
ทันทีทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2590-1882 หรือ โทรสาร 0-2591-8579 หรือทางอินเทอร์เน็ต outbreak@health.moph.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น