บทนำ
นอกเหนือจากภารกิจหลักพื้นฐาน 11 กลุ่มงาน ยังมีการนำเสนอแนวทางการทำงาน
สำคัญๆ อื่นๆ ที่คนทำงานอาจจะพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับความต้องการของ
พื้นที่รับผิดชอบ
คณะทำงานพัฒนาคู่มือมุ่งหวังให้คู่มือเล่มนี้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงสำหรับคนทำงาน
ในทุกระดับ ไม่ใช่เฉพาะเจ้าหน้าที่ใน รพ.สต. เท่านั้น
แม้ว่าเจ้าหน้าที่ใน รพ.สต. เป็นกลุ่มหลักที่จะได้ประโยชน์ เพราะมีเอกสารสำหรับ
ชี้แนะการทำงาน แต่อีกกลุ่มที่สำคัญและน่าจะได้ใช้คู่มือนี้ให้เป็นประโยชน์คือหน่วยบริการ
คู่สัญญา เพื่อบริการปฐมภูมิ หรือที่รู้จักกันในระบบประกันสุขภาพว่า CUP (Contracting
Unit of Primary care)
ในเนื้อหาของงานแต่ละกลุ่ม จึงมีการพูดถึงเรื่องการประสานร่วมมือ หรือการส่งต่อ
เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแลต่อเนื่อง เป็นการดูแลเชิงรุกโดยใช้ความได้เปรียบของ
รพ.สต. ร่วมกับการหนุนเสริม สนับสนุนอย่างใกล้ชิดจาก CUP ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องวิชาการ
กำลังคน หรืองบประมาณ
ในขณะเดียวกัน กรมวิชาการในส่วนกลางและศูนย์เขตต่างๆ ก็จะได้ทราบถึงบทบาท
หน้าที่หลักๆ ของ รพ.สต. และสามารถจัดระบบสนับสนุนได้อย่างเหมาะสม
นอกเหนือจากการระบุขอบเขตการทำงานหลัก และงานที่อาจพิจาณาดำเนินการ
ตามความต้องการของพื้นที่ เนื้อหาในคู่มือยังพยายามให้ “แนวคิด” รวมทั้ง “หลักการ”
และ “แนวทาง” การทำงาน มากกว่าการระบุ “วิธีทำงาน” โดยรายละเอียดเพื่อให้ทำตาม
คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 11
อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ก็ด้วยหวังให้คนทำงานใน รพ.สต. และพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง ร่วมกัน
สร้างสรรค์ และกำหนดวิธีการทำงานที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
คู่มือฉบับนี้สำเร็จขึ้นได้ด้วยความร่วมมือ และการทุ่มเทเวลาของนักวิชาการ ในกรม
วิชาการทุกกรมในกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งทีมทำงานที่มาจากเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย
ในพื้นที่ ภายใต้การประสานงานอย่างเข้มแข็งของทีมเลขาที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
ทั้งหมดนี้ทำงานภายใต้เวลาที่จำกัด โดยมีแนวคิดและเป้าหมายอย่างที่ได้กล่าวมา ใน
ตอนต้น
ยังมีอีกหลายอย่างที่คณะทำงานจัดทำคู่มืออยากบรรจุลงในคู่มือฉบับนี้ โดยคำนึงถึง
ประโยชน์ให้คนทำงานได้มีโอกาสเรียนรู้ เพราะพลังแห่งการเรียนรู้จะมีส่วนอย่างสำคัญ ที่
จะทำให้การเกิดขึ้นของ รพ.สต. เป็นการรวมศักยภาพของคนทำงานในระบบ สู่เป้าหมาย
เดียวกัน คือประชาชนมีสุขภาพดี ไม่ต้องพึ่งแต่หมอ กินแต่ยา หรือมาโรงพยาบาลโดยไม่
จำเป็น แต่ก็พร้อมที่จะดูแลอย่างมีคุณภาพเมื่อยามเจ็บป่วย เพราะมีการสนับสนุนจาก
CUP และเครือข่ายบริการระดับสูงขึ้น
คณะทำงานยังมีแผนที่จะสร้างขุมความรู้ โดยรวบรวมตัวอย่างการทำงานที่น่าสนใจ
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต รวมทั้งโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยตรง
และมีการปรับปรุงคู่มืออย่างต่อเนื่อง ให้มีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น โดยจะใช้ความรู้
และประสบการณ์จริงจากคนทำงานในพื้นที่ ประสานเชื่อมโยงกับความรู้จากกรมวิชาการ
เพื่อให้ รพ.สต. เป็นหน่วยบริการที่มีคุณภาพในการส่งเสริมสุขภาพ ทำงานเชิงรุก ร่วมกับ
ชุมชนและท้องถิ่น มีการสนับสนุนทั้งด้านความรู้และเครือข่ายการให้บริการ มากกว่าเป็น
หน่วยบริการโดดๆ ที่แยกกันทำงานในระบบบริการสาธารณสุขไทย
หากมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงให้คู่มือการทำงาน รพ.สต. เป็นประโยชน์ได้มาก
กว่าที่เป็นอยู่ กรุณาอย่ารีรอที่จะเสนอแนะมาที่ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ หรือ
HPH_moph@hotmail.com เพื่อช่วยกันทำให้คู่มือ และขุมความรู้อื่นๆ ที่ทีมงานจะช่วยกัน
ทำให้เกิดขึ้นต่อไป เป็นประโยชน์ต่อคนทำงาน นำไปสู่การสร้างสุขภาพประชาชนไทยได้
อย่างแท้จริง
วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น