วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คู่มือการให้บริการ รพ สต 2

คำนำ

คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา แก้วภราดัย ได้นำนโยบายด้าน
สาธารณสุขดังกล่าวมาสู่การปฏิบัติ โดยได้มอบหมายให้ทางปลัดกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้ง
กลไกทางราชการรองรับนโยบาย รพ.สต. อีกทั้งได้มีคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 408/
2552 ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2552 แต่งตั้งคณะทำงานติดตามและสนับสนุนนโยบาย
รพ.สต.
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายด้านสาธารณสุขดังกล่าว เป็นไปตาม
แนวคิดหลักการสร้างเสริมสุขภาพ จึงได้มีการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน รพ.สต. ขึ้น ภายใต้
เวลาอันจำกัด โดยคู่มือดังกล่าวเขียนขึ้นจากกองบรรณาธิการที่ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงาน
จริงในสถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชน ตลอดจน รพ.สต.ที่ปฏิบัติการนำร่องไปก่อนแล้ว
รวมทั้งนักวิชาการจากกรมวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ โดยการประสานงานอย่างดียิ่ง
ของสำนักงานนโยบายยุทธศาสตร์ (สนย.)

กระทรวงสาธารณสุข
จึงขอขอบคุณบรรณาธิการ (นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิ
สาธารณสุขแห่งชาติ) และกองบรรณาธิการทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ด้วย
อนึ่งกอง บรรณาธิการชุดนี้ ได้มีแผนในการผลิตคู่มือหรือแนวทางปฏิบัติงานด้านต่างๆ ใน รพ.สต.
ออกมาอีกหลายเล่ม โดยกระทรวงสาธารณสุขจะทำงานร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุน
การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันวิจัย
ระบบสาธารณสุข (สวรส.) และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ต่อไป
(นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์)
ประธานคณะทำงานติดตาม
และสนับสนุนนโยบาย รพ.สต.



สารบัญ
บทที่ 1 : แนวคิดการทำงาน 15
• ขอบเขตการดำเนินงาน 15
• พื้นที่การทำงาน 16
• บุคลากรผู้ปฎิบัติงาน 16
• การบริหารจัดการ 16
• ระบบสนับสนุน (Supporting System) 16
• ขนาดของประชากรในพื้นที่รับผิดชอบตามระดับของโรงพยาบาล 17
ส่งเสริมสุขภาพตำบล
• เป้าหมาย 17
• การพัฒนาบุคลากร 18
• เงื่อนไขที่สำคัญและปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินการ 18
จัดตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทที่ 2 : กลไกการบริหารงานและการสนับสนุนดำเนินงาน 21
• กลไกบริหารและสนับสนุนการดำเนินงาน 22
นโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
- คณะทำงานติดตามและสนับสนุนนโยบาย 22
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล
- คณะกรรมการเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบาย 23
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 23
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 24
• การสนับสนุนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 25
- การบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 25
- คณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 25
- การจัดการด้านกำลังคน 26
- การจัดการด้านการเงินการคลัง 27
- การจัดการด้านข้อมูลและการวางแผน 27
- การสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่าย (CUP) 28
- บทบาทและการสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 30
- บทบาทและการสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 30
- บทบาทและการสนับสนุนจากเขตตรวจราชการ 31
- บทบาทและการสนับสนุนจากส่วนกลาง 31

บทที่ 3 : ภารกิจหลักของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 33

ภารกิจหลักพื้นฐานในการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 35
• เด็ก 37
• วัยรุ่น 45
• สตรี 50
• ผู้พิการ 68
• ผู้สูงอายุ 72
• ผู้ป่วยจิตเวช 80
• ผู้ติดยาเสพติด 83
• ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 87
• การจัดบริการสุขภาพช่องปาก 99

- กรณีตัวอย่าง

1. การจัดสิ่งแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 110
ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
2. การจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้านโสกน้ำขาว 111
อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
3. เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน 112
ตำบลเมืองหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
4. เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน อำเภอเชียงกราน จังหวัดน่าน 114
5. แม่ลูกฟันดีที่ชุมชนหนองตาเข้ม อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 115
6. กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ 116
ที่ชมรมผู้สูงอายุอำเภอแจ้ห่ม ลำปาง
7. การจัดทำข้อตกลงเพื่อสุขภาพช่องปากดี ที่หมู่บ้านผักกาดหญ้า 118
อำเภอลำปลายมาศ บุรีรัมย์
• ขอบเขตบริการเฝ้าระวัง สอบสวนโรค 121
• ขอบเขตบริการการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญ 126
- วัณโรค 128
- โรคติดต่อนำโดยแมลง 130

- กลุ่มโรคติดต่อทั่วไป 136
1. โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ 136
2. โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี 139
- กลุ่มโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน 141
- โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 148
- ขอบเขตการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค 154
จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
ภารกิจเสริมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 159
• ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ 160
• ด้านการแพทย์แผนไทย 164
• การป้องกันโรคที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย 167
• การปรับพฤติกรรมสุขภาพ (การคุ้มครองผู้บริโภค) 171

ภาคผนวก 175

แนวคิดการทำงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
• แนวคิดงานบริการเชิงรุกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 176
• ชุดบริการเชิงรุกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 177
• รูปแบบการทำงานเชิงรุกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 178
- บริการเชิงรุกในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 178
- บริการเชิงรุกในชุมชน 181
• แนวคิดการเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลแม่ข่าย 186
• แนวคิดการบริการอย่างต่อเนื่องและสามารถให้คำปรึกษา 187
กับผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง
• แนวทางการพัฒนาระบบบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 191
• รูปแบบการแก้ปัญหาสุขภาพตามบริบทของพื้นที่ที่แตกต่างกัน 192

คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
นโยบาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) นับเป็นก้าวสำคัญของการ
พัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ อันเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพ
ระบบบริการปฐมภูมิที่มีการกำหนดรูปแบบ และระบบการสนับสนุนที่จริงจัง เป็น
ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี โดยมีการใช้จ่ายทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้เกิด รพ.สต. ที่มีคุณภาพ นอกเหนือไปจากเรื่องการ
ปรับปรุงโครงสร้างที่มีการดำเนินการอยู่ตามแผนงบประมาณแล้ว คือการทำให้เกิดการ
ทำงานหรือให้บริการสำคัญสำหรับประชาชน ตามแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ
คู่มือฉบับนี้มุ่งหวังจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องเห็นถึงบทบาทสำคัญที่ รพ.สต. ควรจะได้ดำเนินการ
ตลอดจนวิธี หรือแนวทางในการทำงานตามบทบาทสำคัญๆ
ทั้งนี้ มีการแบ่งภารกิจของ รพ.สต. ออกเป็นสองกลุ่ม คือภารกิจหลักพื้นฐาน มี
ทั้งสิ้น 11 กลุ่มงาน เป็นกลุ่มประชากร 5 กลุ่ม กลุ่มผู้มีปัญหาสุขภาพ 5 กลุ่ม และงานเฝ้า
ระวังโรคอีก 1 งาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น