วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คู่มือ รพ สต 14 ภารกิจหลักบท 3 โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ

กลุ่มโรคติดต่อทั่วไป
โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ
1. การป้องกัน ก่อนเกิดการระบาด
เป้าหมายของการป้องกันโรค โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ คือการจัดการให้
สิ่งแวดล้อมของการจำหน่าย ปรุง และรับประทานอาหารมีความถูกสุขลักษณะ รวมทั้งการ
ส่งเสริมพฤติกรรมของผู้จำหน่าย ผู้ปรุง และผู้รับประทานอาหารมีความถูกต้องตาม
สุขบัญญัติ
การจัดการสิ่งแวดล้อม ทั้งโดยดำเนินการเองและการประสานงานให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ ประกอบด้วยมาตรการหลักคือ
1. การสุขาภิบาลอาหาร
2. การจัดหาน้ำสะอาด
3. การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (การจัดการสิ่งปฎิกูล ขยะมูลฝอย การควบคุมสัตว์
แมลงพาหะนำโรค)
การเฝ้าระวังโรคเชิงรุกเพื่อการป้องกันโรค ควรเน้นในสถานที่เสี่ยง เทศกาลเสี่ยงหรือ
บุคคลที่เสี่ยงต่อการเป็นแหล่งโรคและแหล่งแพร่กระจายโรค เช่น โรงเรียน งานเลี้ยง งาน
เทศกาล หาบเร่/แผงลอย อาหารที่เตรียมสำหรับการทัศนศึกษา ผู้ปรุงอาหาร/ผู้เสริฟอาหาร
การป้องกันโรคอุจจาระร่วงในเด็ก เน้นการให้ความรู้และส่งเสริมพฤติกรรมของ
มารดาหรือผู้ดูแลเด็ก ดังนี้
- ให้นมแม่ในระยะ 6 เดือนแรก ขวดนมล้างให้สะอาด แล้วต้มในน้ำเดือด 10-15
นาที
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 137
- ขณะหย่านม ให้อาหารที่สะอาด มีคุณภาพ
- ให้เด็กได้รับวัคซีน ครบตามเกณฑ์อายุ
- ให้คนในบ้านล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดหลังเข้าห้องส้วม และก่อนเตรียมอาหาร
- ก่อนป้อนอาหารเด็ก ให้ล้างมือด้วยสบู่ทั้งเด็กและผู้ป้อน
- ให้คนในบ้านใช้ส้วม
- กำจัดอุจจาระเด็กโดยทิ้งลงส้วม รวมทั้งน้ำซักผ้าเปื้อนอุจจาระเด็ก
- ดื่มน้ำสะอาด ถ้าเป็นน้ำต้มสุกจะดีที่สุด และเลือกซื้อน้ำแข็งที่ถูกหลักอนามัย
- ผักหรือผลไม้ ก่อนรับประทานให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง
- เลือกรับประทานอาหารที่สะอาดปรุงสุกใหม่ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารที่สุกๆ
ดิบๆ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม หากจะเก็บอาหารที่เหลือจากการรับประทาน
หรืออาหารสำเร็จรูปที่ซื้อไว้ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นและอุ่นให้เดือดทั่วถึงทุกครั้งก่อนรับ
ประทาน
2. การรักษาโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ
เป้าหมายของการรักษาโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ คือการป้องกันและรักษาภาวะ
ขาดน้ำและเกลือแร่ ประกอบด้วยมาตรการหลักคือ
การดูแลรักษารายบุคคลเมื่อมีการป่วย ควรมีการประเมินความรุนแรงของภาวะขาด
น้ำและให้การรักษาหรือส่งต่อตามแผนการรักษา ก. ข. หรือ ค. ตามแนวทางขององค์การ
อนามัยโลก (Diarrhea Effective Case Management)
กรณีดูแลที่บ้าน ให้พาผู้ป่วยมาพบแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น ด้วยอาการดังนี้
- กระหายน้ำมากกว่าปกติ อ่อนเพลียมาก ตาลึกโหลในเด็ก ถ้ามีพฤติกรรมไม่ยอม
กิน ไม่ยอมนอน ร้องปลอบไม่นิ่ง
138 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
- อาเจียน กินอาหาร หรือดื่มน้ำไม่ได้
- ยังคงถ่ายอยู่ตลอดเวลา ถ่ายจำนวนมากและบ่อยกว่า 1 ครั้งต่อ 2 ชั่วโมง
- มีไข้สูงและถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด
3. การควบคุมโรคเมื่อมีการระบาด
เป้าหมาย ของการควบคุมโรคติดต่อเมื่อเกิดโรคระบาด คือ การค้นหาและกำจัด
แหล่งแพร่เชื้อให้หมดไป เริ่มตั้งแต่การแจ้งทีมสอบสวนและควบคุมโรคตามระบบเฝ้าระวัง
สอบสวนและควบคุมโรค เพื่อสอบสวนและควบคุมโรคเชิงรุกในชุมชนที่มีรายงานผู้ป่วย โดย
การ
- ค้นหาผู้ป่วยและผู้สัมผัสแหล่งโรคในชุมชน
- ให้การรักษาเพื่อลดการแพร่เชื้อในผู้ติดเชื้อ
- ทำลายแหล่งแพร่เชื้อโดยราดด้วยน้ำยาไลโซล 2%
- กำจัดแมลงวัน
- บำบัดน้ำด้วยผงปูนคลอรีน
- ให้สุขศึกษา
- ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ตำราสำหรับอ่านเพิ่มเติม
1. สำนักโรคติดต่อทั่วไป การป้องกันควบคุมและรักษาโรคอาหารเป็นพิษ, 2551 หน้า 39-42
2. กระทรวงสาธารณสุข คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง, 2542 หน้า 76-115
3. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ วันดี วราวิทย์ แพทย์หญิงนฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ, 2551 หน้า 27-30

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น