วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คู่มือการให้บริการ รพ สต 6

วัยรุ่น
46 | คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
แนวคิดการทำงาน : วัยรุ่นเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และ
จิตใจ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และสิ่งแวดล้อม
ในส่วนของปัญหาสุขภาพหรือความต้องการในการดูแลส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญในวัยนี้
มีอยู่อย่างน้อย 3 ด้าน ได้แก่ การมีทัศนคติ ความรู้ และพฤติกรรมที่เหมาะสมเกี่ยวกับเรื่อง
เพศ ซึ่งรวมถึงการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (และการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์) การมี
สุขภาพจิตที่ดี มีความสามารถในการจัดการกับความคิด ความรู้สึก อารมณ์ สามารถจัด
ความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวเองกับผู้คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม การไม่ตก
เป็นทาสของสารเสพติด และสิ่งมึนเมาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บุหรี่ เหล้า ยาเสพติด
รพ.สต. มีบทบาทสำคัญในการดำเนินกิจกรรม หรือจัดบริการ ร่วมกับภาคีต่างๆ ใน
พื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัว ชุมชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสถาบันการศึกษา
เพื่อให้วัยรุ่นมีศักยภาพที่จะพัฒนาสุขภาพตนเองอย่างมีสมดุล เป็นทรัพยากรที่สำคัญของ
ชุมชนและสังคม
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. | 47
วัยรุ่น (15-20 ปี)
วัยรุ่นเป็นวันที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม
จึงอาจทำให้มีพฤติกรรมที่ไม่ดีและไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อตัววัยรุ่น ครอบครัว
ชุมชน และประเทศ รพ.สต.จึงควรมีการจัดบริการที่เป็นการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ
ดังนี้
• การป้องกันสารเสพติด ซึ่งเป็นการดำเนินกิจกรรมด้านจิตวิทยา รพ.สต.ควร
ดำเนินกิจกรรมร่วมกับภาคส่วนในพื้นที่ อาทิ ผู้ปกครอง โรงเรียน ผู้นำชุมชน
อปท. และวัยรุ่น เพื่อสร้างรูปแบบที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เช่น ทักษะชีวิตในการสร้าง
ภูมิคุ้มกัน การตั้งหน่วยให้คำปรึกษา รูปแบบการจัดกิจกรรม เอกสารและสื่อ การ
จัดกิจกรรมและในการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
• การตั้งครรภ์อันไม่พึงประสงค์ การป้องกันการติดเชื้อ HIV และจิตวิทยา ‘การรู้จัก
คุณค่าของตัวเอง’ รพ.สต. จัดบริการให้การปรึกษา วิธีการ ช่องทางการสื่อให้
เหมาะสมกับบริบทของตัวเอง วัยรุ่นสามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยคำนึงถึงการมีส่วน
ร่วมของทุกฝ่าย เช่น คลินิกบริการ ใช้ website e-mail โทรศัพท์
• การเตรียมความพร้อมเพื่อการมีครอบครัวที่ดี รพ.สต.ควรจัดกิจกรรมบริการให้วัย
รุ่นมีความเข้าใจ เท่าทัน และเตรียมตัวที่จะมีครอบครัวที่ดี เช่น สัมพันธภาพใน
ครอบครัว (ครอบครัวอบอุ่น) การวางแผนครอบครัว การตรวจสุขภาพก่อน
แต่งงาน วิธีการ เช่น จัดกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อนสอนเพื่อน พี่สอนน้อง ผู้สูงอายุสอน
หลาน
การจัดกิจกรรมวัยรุ่น รพ.สต.ควรจัดการบริการร่วมกับหลายฝ่ายในพื้นที่ และมี
รูปแบบวิธีการที่เหมาะสมกับบริบท ดังนี้
48 | คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
รพ.สต. ส่งเสริมให้มีการจัดการบริการแบบมีส่วนร่วม
รพ.สต.ประสานการจัดการบริการแก่วัยรุ่นในโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น
ตอนปลาย หรือเทียบเท่า (ถ้ามี) โดยการประสานการจัดบริการร่วมกับ
โรงเรียน ผู้ปกครอง อปท. และนักเรียน เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมบริการที่
เหมาะสม สามารถแก้ไข ป้องปราม และส่งเสริมการตระหนักถึงพฤติกรรมที่ดี
ของรุ่นตามหัวข้อการจัดบริการข้างต้น ซึ่งอาจมีวิธีการ รูปแบบ เช่น
- รูปแบบกลุ่มสัมพันธ์ในโรงเรียน
- ส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้/รักษาคุณค่าตัวเอง เช่น การรักนวลสงวนตัว การเรียนรู้
วิธีปฏิเสธ การรู้จักตนเอง และเลือกอนาคตที่ดีกับตัวเอง
- พี่สอนน้อง เช่น ให้รุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จ หรือเคยปฏิบัติตัวไม่
เหมาะสมแต่ปรับปรุงตัวแล้ว ถ่ายทอดให้รุ่นน้องฟัง
- การใช้ website e-mail หรือโทรศัพท์ ที่วัยรุ่นสามารถเข้าไปศึกษาเรียนรู้
ถามและตอบปัญหาได้ด้วยตนเอง ซึ่งอาจสร้างแรงจูงใจ เช่น รางวัลกับ
ผู้ที่สนใจศึกษา
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมรับรู้ วางแผนแก้ไข และติดตาม ระหว่างผู้ปกครอง
โรงเรียนและนักเรียน โดย รพ.สต.เป็นผู้ประสาน เสนอแนะ แนวทาง โดย
มี ชุมชน อปท.เข้ามามีส่วนร่วม ส่งเสริม และเฝ้าระวังติดตามในชุมชน
เช่น ลดแหล่งมั่วสุมวัยรุ่น ส่งเสริมกิจกรรมของวัยรุ่นในชุมชน เช่น กีฬา
ดนตรี การจ้างทำงานช่วงปิดเทอมวันหยุด
รพ.สต.จัดทำทะเบียนวัยรุ่นกลุ่มนี้ และประสานการจัดการบริการแก่วัยรุ่นใน
ชุมชน ที่ทำงาน บ้าน หรือศึกษานอกโรงเรียน โดยการประสานการจัด
บริการร่วมกับ ชุมชน หรือ การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ผู้ปกครอง วัยรุ่น
และที่สำคัญ คือ ชุมชน และ อปท. เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมบริการที่
เหมาะสม สามารถแก้ไข ป้องปราม และส่งเสริม การตระหนักถึงพฤติกรรม
ที่ดีของรุ่นตามหัวข้อการจัดบริการข้างต้น ซึ่งวิธีการ รูปแบบ เช่น
หน่วยงาน
ในโรงเรียน
นอกโรงเรียน
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. | 49
รพ.สต. ส่งเสริมให้มีการจัดการบริการแบบมีส่วนร่วม
- รูปแบบกลุ่มสัมพันธ์ในชุมชน ในหมู่บ้าน เช่น ชมรม To Be Number
One กลุ่มวัยรุ่นที่มีความชอบ/ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น กลุ่มกีฬาฯ โดย
ชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. อสม.ฯ) อปท.สนับสนุนทรัพยากรให้วัย
รุ่นสามารถดำเนินกิจกรรมกลุ่ม/ชมรมของตวเองได้อย่างต่อเนื่อง โดย
ผลักดันให้บรรจุกิจกรรม/โครงการเหล่านี้เข้าสู่แผนชุมชน แผนงบประมาณ
อปท.เพื่อจัดสรรงบประมาณ
- ส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้/รักษาคุณค่าตัวเอง เช่น การรักนวลสงวนตัว การเรียนรู้
วิธีปฏิเสธ การรู้จักตนเองและเลือกอนาคตที่ดีกับตัวเอง
- พี่สอนน้อง เช่น ให้รุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จ หรือเคยปฏิบัติตัวไม่
เหมาะสมแต่ปรับปรุงตัวแล้ว ถ่ายทอดให้รุ่นน้องฟัง
- การใช้ website e-mail หรือโทรศัพท์ ที่วัยรุ่นสามารถเข้าไปศึกษาเรียนรู้
ถามและตอบปัญหาได้ด้วยตนเอง ซึ่งอาจสร้างแรงจูงใจ เช่น รางวัลกับ
ผู้ที่สนใจศึกษา
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมรับรู้ วางแผนแก้ไข และติดตาม ระหว่างผู้ปกครอง
โรงเรียนและนักเรียน โดย รพ.สต.เป็นผู้ประสาน เสนอแนะ แนวทาง โดย
มี ชุมชน อปท.เข้ามามีส่วนร่วม ส่งเสริม และเฝ้าระวังติดตามในชุมชน
เช่น ลดแหล่งมั่วสุมวัยรุ่น ส่งเสริมกิจกรรมของวัยรุ่นในชุมชน เช่น กีฬา
ดนตรี การจ้างทำงานช่วงปิดเทอมวันหยุด
หน่วยงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น