วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คู่มือ รพ สต 16 ภารกิจหลักบท 3 วัคซีน

กลุ่มโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ปัจจุบันมีโรคที่กรมควบคุมโรคนำวัคซีนมาให้บริการแก่ประชากรกลุ่มเป้าหมายเพื่อ
ป้องกันและควบคุมโรค จำแนกตามลักษณะการติดต่อได้ ดังนี้
1. โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรควัณโรค คอตีบ ไอกรน หัด
หัดเยอรมัน คางทูม และไข้หวัดใหญ่
2. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือทางเลือด ได้แก่ โรคไวรัสตับอักเสบบี
3. โรคติดต่อโดยการได้รับเชื้อทางอุจจาระเข้าสู่ปาก ได้แก่ โรคโปลิโอ
4. โรคติดต่อโดยการได้รับเชื้อเข้าทางบาดแผล ได้แก่ โรคบาดทะยัก
5. โรคติดต่อนำโดยแมลง ได้แก่ โรคไข้สมองอักเสบเจอี


วัตถุประสงค์การให้บริการ
1. เพื่อกวาดล้างโรคโปลิโอให้หมดไปจากทุกพื้นที่ในประเทศไทย
2. เพื่อกำจัดโรคบาดทะยักในทารกแรกเกิดให้เหลือไม่เกิน 1 ต่อเด็กเกิดมีชีพหนึ่งพัน
คนรายอำเภอ
3. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ดังต่อไปนี้
3.1 คอตีบ ไม่เกิน 0.02 ต่อประชากรแสนคน (ทั่วประเทศ 8 ราย)
3.2 ไอกรน ไม่เกิน 0.08 ต่อประชากรแสนคน (ทั่วประเทศ 50 ราย)
3.3 หัด ไม่เกิน 8 ต่อประชากรแสนคน (ทั่วประเทศ 5,000 ราย)
3.4 ไข้สมองอักเสบ ไม่เกิน 0.25 ต่อประชากรแสนคน (ทั่วประเทศ 150 ราย)
4. เพื่อรักษาระดับอัตราการเป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ให้
อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 0.5

เป้าหมายการให้บริการ
ประชากรเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบได้รับวัคซีน ดังนี้
1. เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ได้รับวัคซีนวัณโรค ตับอักเสบบี 1 วัคซีนรวมคอตีบ-ไอกรน-
บาดทะยัก - ตับอักเสบบี 3 วัคซีนโปลิโอชนิดกิน 3 และหัด
2. เด็กอายุ 1 ปีครึ่ง ได้รับวัคซีนรวมคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก 4 วัคซีนโปลิโอชนิด
กิน 4 และวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี 2
3. เด็กอายุ 2 ปีครึ่ง ได้รับวัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบเจอี 3
4. เด็กอายุ 4 ปี ได้รับ วัคซีนรวมคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก 5 และ วัคซีนโปลิโอชนิด
กิน 5
5. หญิงมีครรภ์ได้รับวัคซีนรวมคอตีบและบาดทะยักครบชุด ตามเกณฑ์
6. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้รับวัคซีนรวมหัด คางทูม หัดเยอรมัน ทุกคน
สำหรับวัคซีนวัณโรค ดีที และวัคซีนโปลิโอชนิดกิน ให้ตรวจสอบประวัติการได้รับ
วัคซีนในอดีตก่อน
7. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับวัคซีนรวมคอตีบและบาดทะยัก 1 ครั้งทุกราย
กำหนดการให้วัคซีนและมาตรฐานการให้วัคซีนดูได้จากแผนปฏิบัติงานโรคติดต่อที่
ป้องกัน ได้ด้วยวัคซีนประจำปี และคู่มือการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกรมควบคุมโรค
พ.ศ.2548
ตัวชี้วัดการให้บริการ

ในปีงบประมาณ 2552 กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดตัวชี้วัดในการตรวจราชการ
กระทรวง ดังนี้


ตัวชี้วัดที่ 1 : ร้อยละของเด็กอายุ 0-1 ปี ที่ได้รับวัคซีนหัดหรือวัคซีนรวมหัด คางทูม
หัดเยอรมัน
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 143
ตัวชี้วัดที่ 2 : ร้อยละของเด็กอายุ 2-3 ปี ที่ได้รับวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี ครั้งที่ 3
ตัวชี้วัดที่ 3 : ร้อยละของเด็กอายุ 4-5 ปี ที่ได้รับ วัคซีนรวมคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก
ครั้งที่ 5
ตัวอย่างการคำนวณ :
ร้อยละของเด็กอายุ 0-1 ปี ที่ได้รับวัคซีนหัดหรือวัคซีนรวมหัด คางทูม หัดเยอรมัน
= จำนวนเด็กที่ได้รับวัคซีนหัดหรือ MMR
จำนวนเด็กอายุ 0-1 ปี ตามทะเบียนราษฎร์ในปีที่ผ่านมา
โดยจำนวนเด็กที่ได้รับวัคซีน เป็นเด็กที่มารับบริการทั้งที่อยู่ในและนอกพื้นที่รับผิดชอบ
การวิเคราะห์ จำแนกเป็นรายอำเภอ กำหนดเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ในงวดที่ 4
(กรกฎาคม - กันยายน) รายละเอียดดูได้จากแผ่นแบบ (Templete) ตัวชี้วัดการตรวจ
ราชการของกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ต้องติดตามกลุ่มเป้าหมายที่อยู่จริงในพื้นที่รับผิดชอบให้
ได้รับวัคซีนตามกำหนด มีความครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 เป็นรายหมู่บ้าน/ชุมชน)

ขอบเขตการให้บริการ

1. ให้วัคซีนตามกำหนดการปกติแก่ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนที่มาขอรับบริการ
ทั้งที่อยู่ในและนอกพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ ขอให้รวมถึงกลุ่มประชากรเป้าหมายที่ไม่ได้ขึ้น
ทะเบียนและกลุ่มเป้าหมายชาวต่างชาติ โดยการให้บริการดังกล่าว สถานบริการทุกแห่งที่อยู่
ในโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่สามารถเรียกเก็บเงินค่าบริการใดๆ ทั้งสิ้น
X 100
144 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
2. รณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอและไข้หวัดใหญ่ประจำปีแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยง (กรม
ควบคุมโรคจะจัดทำโครงการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอแก่เด็กกลุ่มเป้าหมายพิเศษ และ
โครงการรณรงค์ให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่แก่ประชากรกลุ่มเสี่ยง และแจ้งให้ทราบก่อนการ
รณรงค์ฯ)
3. สำรวจและติดตามประชากรกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบให้มารับวัคซีนตาม
กำหนดปกติ รวมทั้งกรณีที่มีการรณรงค์อย่างครบถ้วน
4. บันทึกและตรวจสอบผลการให้บริการวัคซีนเป็นรายบุคคลในระบบฐานข้อมูล
รายงาน 18 แฟ้มมาตรฐานส่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นประจำทุกเดือน
5. เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายมารับวัคซีนตามกำหนดปกติ
รวมทั้งกรณีที่มีการรณรงค์
6. ร่วมดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคกับทีม SRRT กรณีมีการระบาดของโรค
ติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน รวมทั้งกรณีมีผู้ป่วยอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตภายหลังได้รับ
วัคซีน
7. บริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็นให้ได้ตามมาตรฐาน (รายละเอียดดู
ในหัวข้อ “การบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็นในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบล”)
8. เฝ้าระวังผู้ป่วยในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่มีอาการอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก
อย่างเฉียบพลัน (Acute Flaccid Paralysis : AFP) และดำเนินการควบคุมโรคตามเกณฑ์
ของกรมควบคุมโรค (รายละเอียดดูได้จากคู่มือการกวาดล้างโรคโปลิโอ พ.ศ. 2548)

การเชื่อมโยงงานกับโรงพยาบาลแม่ข่าย
1. เบิก-รับวัคซีนจากโรงพยาบาลแม่ข่ายตามกำหนดนัดหมาย
2. ในกรณีที่พบผู้ป่วยสงสัยมีอาการอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอย่างเฉียบพลันให้
ส่งต่อแพทย์โรงพยาบาลแม่ข่ายได้ตรวจสอบอาการดังกล่าวว่าผู้ป่วยมี AFP หรือไม่ เพื่อ
ดำเนินการต่อไป
3. ในกรณีที่พบผู้ป่วยมีอาการรุนแรงภายหลังได้รับวัคซีน เช่น ไข้สูง ชัก ตัวเขียว
เป็นลม ไม่รู้สึกตัว เป็นต้น ควรส่งต่อให้โรงพยาบาลแม่ข่ายเป็นผู้ให้วัคซีนในครั้งต่อไป
การบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น
ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในฐานะลูกข่ายของโรงพยาบาลแม่ข่าย
(รพศ./รพท./รพช.) ควรกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ และมีระบบบริหารจัดการ
วัคซีนที่ใช้ในการบริการแก่กลุ่มเป้าหมายในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ดังนี้


1. การเบิก-จ่ายวัคซีน
1.1 ทำรายงานขอเบิกและการใช้วัคซีนโดยใช้แบบฟอร์ม ว.3/1 (คู่มือการบริหาร
จัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น พ.ศ.2547 หน้า 44) ส่งให้สำนักงาน
สาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) ตามกำหนดนัดหมาย เพื่อรวบรวมและตรวจสอบ
ความครบถ้วนถูกต้อง ก่อนส่งให้ฝ่ายเภสัชกรรมของโรงพยาบาลแม่ข่าย ตาม
ข้อกำหนดในการบริการจัดการวัคซีนด้วยระบบ VMI (Vendor Managment
Inventory) ที่มีหน่วยงานในส่วนกลางรับผิดชอบในการบริหารสินค้าคงคลังและ
กระจายวัคซีนถึงโรงพยาบาลแม่ข่ายโดยตรง ซึ่งในปัจจุบันคือ องค์การ
เภสัชกรรม
1.2 จัดเตรียมตู้เย็นที่ใช้จัดเก็บวัคซีนโดยเฉพาะ และหีบเย็นหรือกระติกมาตรฐาน
พร้อมทั้งน้ำแข็ง (คู่มือการบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น พ.ศ.
2547 หน้า 34-35) ที่ใช้ในการรับวัคซีนจากโรงพยาบาลแม่ข่าย
1.3 นำหีบเย็นหรือกระติกมาตรฐานและน้ำแข็งไปรับวัคซีนจากโรงพยาบาลแม่ข่าย
ตามกำหนดนัดหมาย
1.4 จัดทำทะเบียนรับ-จ่ายเป็นรายวัคซีน (คู่มือการบริหารจัดการวัคซีนและระบบ
ลูกโซ่ความเย็น พ.ศ.2547 หน้า 42) โดยไม่ควรมีวัคซีนเหลือเกิน 1 เดือนใน
รพ.สต.
2. การเก็บรักษาวัคซีน
2.1 เก็บรักษาวัคซีนแต่ละชนิดไว้ในตู้เย็นให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน
คู่มือการบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น พ.ศ.2547
2.2 บันทึกอุณหภูมิทุกวันๆ ละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ไม่เว้นวันหยุดราชการ
2.3 สอบเทียบหรือเทียบเคียงปรอทวัดอุณหภูมิที่ใช้ในตู้เย็นเก็บวัคซีนปีละ 1 ครั้ง
2.4 จัดทำผังการเตรียมความพร้อมและซักซ้อมความพร้อมกรณีฉุกเฉินในระบบลูกโซ่
ความเย็น (คู่มือการบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น พ.ศ.2547
หน้า 33) ที่ระบุชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของผู้รับผิดชอบ และแนวทางการปฏิบัติ
เมื่อไฟฟ้าดับหรือตู้เย็นเสีย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกคนใน รพ.สต.สามารถปฏิบัติได้
อย่างถูกต้อง
การกระจายวัคซีนด้วยระบบ VMI
(Vendor Management Inventory)
วัคซีนผลิต
จากต่างประเทศ
สนามบิน
วัคซีนผลิตในประเทศ
องค์การเภสัชกรรม, สภากาชาด
หน่วยบริหารสินค้า
คงคลังในส่วนกลาง
จัดส่งทุกเดือน
โรงพยาบาลแม่ข่าย
เบิก-รับวัคซีนทุกเดือน
หน่วยบริหารสินค้าคงคลังในส่วนกลาง
โรงพยาบาลแม่ข่าย (รพศ./รพท./รพช.)
สสอ.
รพสต./สอ./PCU
ใส่ข้อมูล
ผ่านระบบ VMI
จัดส่งวัคซีน
แบบฟอร์ม ว.3/1
แบบฟอร์ม ว.3/1
รับวัคซีนจาก รพ.แม่ข่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น