วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คู่มือ รพ สต 18 ภารกิจหลักบท 3 โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

ขอบเขตการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค
จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ถือเป็น
กิจกรรมหนึ่งที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควรจะมีความสามารถในการให้บริการแก่
ชุมชนได้ อย่างไรก็ตาม ในระยะเริ่มแรกของการพัฒนาการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค
จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม อาจเป็นการยากที่จะจัดกิจกรรมการดำเนินการให้
ครอบคลุมในทุกกิจกรรม รวมทั้งการมีข้อจำกัดของหน่วยบริการสุขภาพด้วย เช่น การมีข้อ
จำกัดในเรื่องจำนวนบุคลากร พื้นฐานความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยของบุคลากรในหน่วย
บริการนั้น การขาดแคลนในเรื่องอุปกรณ์ งบประมาณหรือทรัพยากรอื่นๆ เป็นต้น ดังนั้นจึง
มีความจำเป็นที่จะต้องริเริ่มและพัฒนากิจกรรมของการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคจาก
การประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ตามความพร้อมของแต่ละหน่วยบริการ
กิจกรรมของการป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมนั้น แม้ว่า
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงานจะมุ่งเน้นที่การป้องกันการประสบอันตรายและเจ็บป่วยจาก
การทำงานและการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แต่การ
ดำเนินการดังกล่าวจะต้องครอบคลุมทุกมิติของการจัดบริการสุขภาพทั่วไปด้วย คือ การ
ป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การวินิจฉัยและรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพ
ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในกิจกรรมของการดำเนินงานป้องกันควบคุม
โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมในหน่วยบริการสุขภาพ จึงอาจแบ่งกิจกรรมของ
การให้บริการออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบ
อาชีพและสิ่งแวดล้อมเชิงรุกและเชิงรับ โดยการพิจารณาจากกิจกรรมของการบริการที่อิงกับ
สถานที่ของหน่วยบริการเป็นหลัก ถ้าเป็นการจัดบริการภายในหน่วยบริการเองจะเรียกว่า
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 155
การให้บริการเชิงรับ และถ้าเป็นการให้บริการนอกหน่วยบริการหรือดำเนินการในชุมชน จะ
เรียกว่าการให้บริการเชิงรุก โดยสามารถสรุปกิจกรรมหลักที่สำคัญดังนี้
การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ
และสิ่งแวดล้อมเชิงรุก
การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมเชิงรุก
เป็นการดำเนินงานในพื้นที่ ประกอบด้วยกิจกรรม การสำรวจสภาพการทำงานและประเมิน
ความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทำงานของกลุ่มผู้ทำงานในพื้นที่ และการสำรวจปัญหาและ
ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม รวบรวมข้อมูลปัญหาโรค
จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนหาแนวทางแก้ไขปัญหา
โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่ได้รับผลกระทบ
ต่อสุขภาพในการทำงานและผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมงานเชิงรุก ประกอบด้วย
1. ดำเนินการสำรวจและประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจากสภาพแวดล้อมใน
การทำงานในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ และผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมในกลุ่ม
ประชาชน ปีละ 1 ครั้ง
2. ดำเนินการรวบรวมข้อมูล สรุปปัญหา โรคและผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่ง
แวดล้อม เพื่อวางแผนในการติดตาม ตรวจเยี่ยม แก้ไขปัญหา และประสานการดำเนินงาน
กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. ดำเนินการติดตาม ตรวจเยี่ยมผู้ที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทำงาน และกลุ่ม
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คำแนะนำสำหรับการป้องกันและ
การปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยง
156 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
4. ดำเนินการให้ความรู้และอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะในการป้องกันโรคจากการ
ประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชน
5. ดำเนินการสนับสนุนเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำ
หมู่บ้าน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพในชุมชน กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อสร้างความ
เข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
6. ดำเนินการสอบสวนโรคและการบาดเจ็บที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ผลกระทบ
ต่อสุขภาพที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ร่วมกับเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เช่น สสอ. รพช. รพท.
รพศ. สสจ.และหน่วยงานอื่นๆ ภายนอกหน่วยงานสาธารณสุข เช่น อบต.
7. การจัดเก็บรวบรวม วิเคราะห์ และแปลผลข้อมูลที่เกิดจากการดำเนินการทางด้าน
โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เช่น ข้อมูลการประเมินความเสี่ยง ข้อมูลการ
เจ็บป่วย หรือข้อมูลการดำเนินการควบคุมหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อบริหารจัดการการ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมในการให้บริการ รวมทั้ง
การประเมินผลการให้บริการด้วย
กิจกรรมงานเชิงรับ มีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้
1. การให้บริการวินิจฉัยโรคหรือการบาดเจ็บจากการทำงาน และวินิจฉัยโรคจาก
สิ่งแวดล้อม อันได้แก่ การซักประวัติการเจ็บป่วย และประวัติการทำงาน และการวินิจฉัย
โรคเบื้องต้น รวมทั้งการให้บริการรักษาพยาบาลโรคหรือการเจ็บป่วยจากการทำงานนั้น ใน
กรณีที่ไม่สามารถให้การวินิจฉัยหรือรักษาพยาบาลได้ก็จะมีกิจกรรมของการส่งต่อเพื่อการ
วินิจฉัยและรักษาด้วย
คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 157
2. การฟื้นฟูสุขภาพ สำหรับหน่วยบริการที่สามารถดำเนินการได้ อาจมีภารกิจในการ
ฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยหรือการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวภายหลังการเจ็บป่วย เพื่อให้กลับ
มาทำงานได้เหมือนปกติหรืออย่างปลอดภัย
3. การตรวจประเมินสุขภาพเพื่อเฝ้าระวัง บางครั้งผู้ให้บริการ อาจจะนัดแนะให้
ผู้ประกอบอาชีพมารับบริการตรวจประเมินสุขภาพที่หน่วยบริการสุขภาพได้
4. การให้คำปรึกษาหรือให้ความรู้ทางด้านอาชีวสุขศึกษารายบุคคล
5. การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารทางด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
เช่น การจัดเก็บรวบรวม วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลการดำเนินการทางด้านโรคจากการ
ประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมต่างๆ
6. การจัดเตรียมในเรื่องการปฐมพยาบาลและการรับมือต่ออุบัติภัยต่างๆ
7. กิจกรรมอื่นๆ ที่สามารถดำเนินการในหน่วยบริการ เช่น การฝึกอบรมให้ความรู้แก่
กลุ่มผู้ประกอบอาชีพ เป็นต้น
ในกรณีที่กิจกรรมการดำเนินงานทางด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
มีปริมาณการดำเนินงานค่อนข้างมาก และสามารถดำเนินการเป็นประจำสม่ำเสมอทุก
สัปดาห์ รวมทั้งมีแพทย์ที่มีความรู้ทางด้านอาชีวเวชศาสตร์มาเป็นผู้ให้บริการโดยตรง หน่วย
บริการนั้นสามารถที่จะจัดเป็นคลินิกเป็นการเฉพาะเลยก็ได้ โดยอาจจะเรียกว่า คลินิกอาชีว
เวชศาสตร์ หรือคลินิกโรคจากการทำงาน เป็นต้น
158 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
สรุป
การดำเนินงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุข
ภาพระดับตำบล ถือเป็นความจำเป็นในการดำเนินงานทางด้านสาธารณสุข เพื่อที่จะมุ่งเน้น
การดูแลสุขภาพที่เกี่ยวกับการทำงานและผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งแวดล้อม ให้แก่
ประชากรในพื้นที่ ลักษณะการจัดบริการจะเน้นที่การป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพและ
สิ่งแวดล้อม โดยผสมผสานไปกับการจัดบริการที่หน่วยบริการสุขภาพดำเนินการอยู่ ซึ่ง
กิจกรรมมีทั้งการดำเนินการเชิงรับและเชิงรุก การดำเนินการดังกล่าวจะต้องมีการสนับสนุน
ในระดับนโยบายอย่างจริงจังและอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น