วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คู่มือ รพ สต 13 ภารกิจหลักบท 3 การควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญ

ขอบเขตบริการ
การป้องกันควบคุม
โรคติดต่อที่สำคัญ
128 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
วัณโรค
การดำเนินงาน
1. ด้านการค้นหารายป่วย
ก) ค้นหาผู้ที่อาการสงสัยวัณโรคที่มาตรวจ ณ รพ.สต.
ข) เมื่อพบผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคดำเนินการดังนี้
- ให้ผู้มีอาการสงสัยวัณโรค เก็บเสมหะตอนเช้า และส่งตัวผู้มีอาการสงสัยวัณโรค
พร้อมกับเสมหะที่เก็บได้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
- ส่งเสมหะของผู้มีอาการสงสัยวัณโรคซึ่งเก็บเองที่บ้านเพื่อนำไปตรวจที่โรง
พยาบาล
2. ด้านการรักษา
ก) ดูแลให้ผู้ป่วยที่วินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคได้กินยาตามที่แพทย์แนะนำ
ข) บันทึกการกินยาและการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีกินยาที่สถานีอนามัยทุกวัน
ค) จัดให้มีผู้ดูแลการกินยาให้ผู้ป่วยแต่ละรายตลอดการรักษา
ง) เก็บเสมหะของผู้ป่วยในระหว่างการรักษาส่งตรวจเพื่อติดตามผลการรักษา
จ) ติดตามผู้ป่วยที่ขาดการรักษาให้กลับมารักษาต่อให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
ฉ) ส่งผู้ป่วยที่มีอาการแพ้ยาไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 129
3. ด้านการป้องกัน
ให้วัคซีนปัองกันวัณโรค บีซีจี (BCG) แก่เด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ซึ่งไม่มีแผลเป็น
บีซีจี
4. ด้านสุขศึกษา
ให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่ผู้ป่วย และญาติ (หากผู้ป่วยยินยอมให้ญาติรู้เรื่องการ
เจ็บป่วย) และชุมชน
5. ด้านการนิเทศและฝึกอบรม
นิเทศและฝึกอบรมเรื่องการดำเนินงานวัณโรคในชุมชนแก่ อสม. หรือ ผู้นำชุมชน
บทบาทชุมชน/ครอบครัว
- แกนนำชุมชุม หรือ อสม. ให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่สมาชิกในชุมชน
- แกนนำชุมชน หรือ อสม. ติดตามอาการสงสัยวัณโรคของสมาชิกครอบครัวที่มี
ผู้ป่วยวัณโรค
- ส่งเสริมให้ อสม. วัณโรค เป็นคณะกรรมการสุขภาพตำบล เพื่อนำเสนอเรื่อง
วัณโรคเป็นวาระหนึ่งในการประชุมคณะกรรมการ
- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนงานวัณโรค เช่น
ก) สร้างความตระหนักเรื่องวัณโรคในชุมชนเพื่อลดความรู้สึกรังเกียจผู้ป่วย เช่น
การจัดประกวดเรียงความของนักเรียน การประกวดวาดภาพเรื่องชุมชนปลอด
วัณโรค การมอบรางวัลดีเด่นแก่ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านวัณโรค
ข) จัดรถพยาบาลรับส่งระหว่างบ้านผู้ป่วยกับโรงพยาบาลชุมชนหากผู้ป่วยยากจน
ไม่มีค่ารถไปโรงพยาบาล
130 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
การเชื่อมโยง/ส่งต่อ
- ส่งต่อผู้มีอาการสงสัยวัณโรคไปรับการตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลชุมชน
- ส่งตัวอย่างเสมหะผู้มีอาการสงสัยวัณโรคไปรับการตรวจย้อมเชื้อทางกล้อง
จุลทรรศน์ หากผู้ที่ผลตรวจพบเชื้อวัณโรคในเสมหะ ให้ส่งต่อเพื่อวินิจฉัยที่โรง
พยาบาล
- ส่งเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งอาศัยใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อสัมผัส
วัณโรคไปรับการตรวจวินิจฉัย
ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค
- ดูแลการให้ยารักษาและป้องกันวัณโรคในเด็กที่สัมผัสโรคอายุต่ำกว่า 5 ปี
โรคติดต่อนำโดยแมลง
งานด้านโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคไข้
มาลาเรีย และโรคเท้าช้าง โดยของ รพ.สต.จะคลอบคลุมทั้งหมด 6 ด้านด้วยกัน คือ
1. การเฝ้าระวังป้องกันโรค
1.1. เก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคติดต่อนำโดยแมลง
1.2. เก็บข้อมูลดัชนีพาหะลูกน้ำยุงลาย
1.3. ทำแผนที่แสดงจำนวนผู้ป่วยและแหล่งแพร่โรค
1.4. รายงานข้อมูลการระบาดให้แก่หน่วยงานสาธารณสุขตามลำดับชั้นตามระบบ
รายงานการเฝ้าระวังโรค
1.5. ติดตามประเมินผล
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 131
2. การตรวจวินิจฉัยโรค
2.1. ให้การตรวจวินิจฉัย ผู้ป่วยโรคติดต่อนำโดยแมลง
2.2. ให้การตรวจรักษาผู้ป่วย (ตามแนวทางเวชปฏิบัติโรคติดเชื้อ เล่มที่ 1 “โรคติดต่อ”
คณะทำงานจัดทำแนวทางปฏิบัติโรคติดเชื้อ เครือข่ายแนวทางเวชปฏิบัติร่วมกับ
กรมควบคุมโรคติดต่อ, 2544)
3. การให้การดูแลรักษา
3.1. ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อนำโดยแมลงในระดับปฐมภูมิ
โรคไข้เลือดออก
ไม่มีการรักษาที่เฉพาะและไม่มีวัคซีนป้องกัน ให้การรักษาแบบประคับประคองตาม
อาการ โดยให้ยาลดไข้ แนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอล ให้น้ำให้เพียงพอ และพักผ่อน ถ้า
อาการไม่ดีขึ้นให้ไปพบแพทย์
โรคไข้ปวดข้อยุงลาย
ไม่มีการรักษาเฉพาะเจาะจง และไม่มีวัคซีนป้องกัน การรักษาเป็นแบบประคับประคอง
รักษาตามอาการ โดยให้ยาลดไข้ และยาแก้ปวดข้อ แนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอล และ
การพักผ่อน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ไปพบแพทย์ โรคนี้ส่วนใหญ่จะหายได้เอง และจะมี
ภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต
โรคไข้มาลาเรีย
ก่อนการรักษา ต้องมีการเจาะโลหิตทุกราย โดยมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกเจาะโลหิตผู้
สงสัย ซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
1. กำลังเป็นไข้ หรือมีอาการปวดศีรษะ
2. มีประวัติไปพักแรม หรือเดินทางมาจากท้องที่ที่แพร่เชื้อมาลาเรีย
3. เคยป่วยเป็นไข้มาลาเรียภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา
132 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
การรักษาหายขาด จะเป็นการจ่ายยาเมื่อทราบผลการตรวจโลหิตและชนิดเชื้อ
มาลาเรีย และควรจ่ายยารักษาหายขาดแก่ผู้ป่วยตรวจพบเชื้อทุกรายโดยเร็วที่สุด หลักการ
ใช้ยา เนื่องจากการรักษาหายขาดที่ใช้กับเชื้อมาลาเรียแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน จึงต้อง
นำผลการตรวจโลหิตมาประกอบการเลือกจ่ายยาให้ถูกต้อง สำหรับเชื้อมาลาเรียฟัลซิปารัม
นั้น ต้องพิจารณาสถานที่รับเชื้อ เพื่อให้ทราบถึงระดับการดื้อยามาประกอบการจ่ายยาด้วย
(ศึกษาได้จากคู่มือการรักษาไข้มาลาเรียชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน ฉบับ พ.ศ.2551 และ
แนวทางการรักษาไข้มาลาเรียสำหรับแพทย์ พ.ศ.2549 สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง)
โรคเท้าช้าง
ยาที่องค์การอนามัยโลกได้แนะนำ คือ Albendazole (400 mg.) คู่กับ Diethylcarbamazine
citrate : DEC (6mg./kg.) ยา DEC นั้น เป็นยาที่รักษาโรคเท้าช้างในประเทศ
ไทยมานานกว่า 40 ปี ราคาไม่แพง และไม่มีผลข้างเคียงที่อันตราย โดยการรักษาแบ่งตาม
การติดเชื้อของพยาธิโรคเท้าช้างแต่ละชนิด คือ
ผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อ W. bancrofti กินยา 6 mg./kg. single dose ทุก 6 เดือน
ผู้ป่วยระยะแพร่เชื้อ B. malayi กินยา 6 mg./kg. 6 วันทุก 6 เดือน
- ให้การฟื้นฟูดูแลรักษาผู้ป่วยปรากฏอาการโรคเท้าช้างทุกราย (ผู้ป่วยต่อมน้ำเหลือง
อักเสบและผู้ป่วยอวัยวะบวมโต)
3.2. ให้ส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาในระดับสูงถัดไป หากเกินขีดความสามารถของ รพ.สต.
ดังนี้
โรคไข้เลือดออก
ผู้ป่วยไข้เลือดออก ร้อยละ 70 จะมีไข้สูง 4-5 วัน ดังนั้น วันที่เป็นระยะวิกฤต/ช็อก
จะตรงกับวันที่ไข้ลง หรือไข้ต่ำกว่าเดิม จึงพึงระลึกเสมอว่า วันที่ 3 ของโรค เป็นวันที่เร็ว
ที่สุดที่ผู้ป่วยไข้เลือดออกมีโอกาสที่จะช็อกได้ และระหว่างที่ผู้ป่วยมีอาการช็อก จะมีสติดี
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 133
สามารถพูดจาโต้ตอบได้ จะดูเหมือนผู้ป่วยที่มีแต่ความอ่อนเพลียเท่านั้น ให้รีบนำผู้ป่วยส่ง
โรงพยาบาลระดับสูงทันที
โรคไข้มาลาเรีย
กรณีมาลาเรียรุนแรง หรือมาลาเรียที่มีภาวะแทรกซ้อน จะมีอาการรุนแรง ซึ่งส่วนใหญ่
จะเป็นผู้ป่วยฟัลซิปารัมมาลาเรีย ถ้ารักษาช้าผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงที่
บอกถึงความรุนแรงของโรค ลักษณะผู้ป่วยอาจเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้
1. ตรวจเลือดพบว่า จำนวนความหนาแน่นของเชื้อฟัลซิปารัมหนาแน่นมากกว่า
2,500 ตัวต่อเม็ดเลือดขาว 100 ตัว หรือพบระยะแบ่งตัวของตัวอ่อน (schizent)
ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายรวมอยู่ด้วย
2. มีอาการแทรกซ้อน ดังนี้
- อุจจาระร่วงอย่างรุนแรง
- มีเลือดออกตามไรฟัน หรือที่อื่นโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน
- มีไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะในเด็ก
- มีอาการขาดสารอาหารน้ำอย่างรุนแรง คือมีผิวหนังเหี่ยวย่น ถ้าเป็นเด็กเล็ก
กระหม่อมจะบุ๋ม
- ตัวเหลือง ตาเหลือง
- มีพฤติกรรมและระดับความรู้สึกเปลี่ยนแปลง
- อาเจียน
- ปัสสาวะมีสีเข้ม ออกน้อย หรือไม่มีเลยใน 4 ชั่วโมง
3. เด็กเล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งอายุต่ำกว่า 6 เดือน
4. หญิงมีครรภ์ 3 เดือนแรก หรือใกล้คลอด
134 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
4. การโต้ตอบภาวะการระบาด
การรายงานผู้ป่วยตามระบบเฝ้าระวัง รง.506 ให้รายงานผู้ป่วยที่เข้าข่าย (probable
case) และผู้ป่วยที่ยืนยันผล (confirmed case)
การสอบสวนโรค กระทำเมื่อมีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามของโรค ให้
สอบสวนโรค ยืนยันการวินิจฉัย ค้นหาแหล่งติดเชื้อ การสอบสวนโรคเพื่อหาผู้ป่วยเพิ่ม
แหล่งติดเชื้อ สอบถามประวัติเดินทาง หรือการอยู่อาศัย) ปัจจัยเสี่ยงคือ สำรวจความชุกชุม
ยุงลาย (โรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย) ป้องกันโรคและควบคุมโรค โดยดำเนินการ
4.1. วิเคราะห์ข้อมูลระบาดวิทยาเบื้องต้น เพื่อตรวจค้นการระบาด
4.2. ออกสอบสวนโรค เมื่อพบผู้ป่วยรายแรกในชุมชน
4.3. รายงานข้อมูลการระบาดให้แก่หน่วยงานสาธารณสุขตามลำดับชั้นตามระบบ
รายงานการเฝ้าระวังโรค
4.4. ติดตามสถานการณ์ของโรคติดต่อนำโดยแมลงและแนวทางการดำเนินงานของ
สถานบริการทางสาธารณสุขบนเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข http://www.
moph.go.th/และกรมควบคุมโรค http://www.ddc.moph.go.th/ สำนักโรค
ติดต่อนำโดยแมลง http://www.thaivbd.org
4.5. นำเสนอข้อมูลทางระบาดวิทยาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทราบสถานการณ์
และแนวโน้มของโรคให้สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
เช่น จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่พบในปัจจุบันเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ
อดีต 3 ปีที่ผ่านมา
5. การควบคุมแมลงพาหะ
กรณีเกิดการระบาดในพื้นที่ให้ร่วมกับ ทีมระวังและสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของ
โรงพยาบาลแม่ข่าย ดำเนินการ
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 135
5.1. ร่วมมือกับหน่วยงานด้านการควบคุมยุงพาหะ ภาคีเครือข่ายต่างๆ ค้นหาและ
ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์แมลงพาหะ
5.2. ติดตามประเมินผลและดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจนกว่าการระบาดจะยุติ
6. การสร้างภาคีเครือข่ายป้องกันควบคุมโรค
6.1. เป็นผู้นำในการให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อนำโดยแมลงแก่ชุมชนโดยผ่าน
อาสาสมัครสาธารณสุข
6.2. เป็นผู้นำในการให้ความรู้เรื่องการป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง
แก่ชุมชน
6.3. เป็นผู้นำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านการป้องกันและการควบคุมโรค
ติดต่อนำโดยแมลงแก่ชุมชน
6.4. ร่วมสร้างภาคีเครือข่ายในชุมชนต่างๆ เพื่อการป้องกันและการควบคุมโรคติดต่อ
นำโดยแมลง
สรุป
รพ.สต.มีความสามารถในการเฝ้าระวังเชิงรุกที่สำคัญ คือการวินิจฉัยดูแลรักษาเบื้อง
ต้นเมื่อพบผู้ป่วย ส่งตัวผู้ป่วยที่มีแนวโน้มว่าจะมีอาการรุนแรงเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมใน
ระดับที่สูงถัดขึ้นไป สามารถสอบสวนและตอบโต้การระบาดของโรคตามคู่มือการสอบสวน
โรคระบาด โดยร่วมมือกับทีมเฝ้าระวังและสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของโรงพยาบาลแม่ข่าย
สนับสนุนการทำงานด้านการป้องกันควบคุมโรคร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการ
ติดตามสถานการณ์ของโรคและนำเสนอรายงานสถานการณ์เป็นประจำ เสริมสร้างชุมชนให้
มีความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง
โดยผ่านภาคีเครือข่ายในชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุข
136 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น