วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รพ สต 4 แนวคิดการทำงาน***

บทที่ 1
แนวคิดการทำงาน


รัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบาย
ด้านสาธารณสุขต่อสภาผู้แทนราษฎร ในข้อ 3.3.3 คือ ปรับปรุงระบบบริการด้าน
สาธารณสุข โดยลงทุนพัฒนาระบบบริการสุขภาพภาครัฐ ทุกระดับให้ได้มาตรฐาน ยกระดับ
สถานีอนามัยเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และพัฒนาเครือข่ายการส่ง
ต่อในทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงกันทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ระบบหลัก
ประกันสุขภาพมีคุณภาพอย่างเพียงพอทั่วถึง มีทางเลือกหลากหลายรูปแบบ และครอบคลุม
ได้ถึงการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ

กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อการแก้ปัญหาและนโยบายของรัฐ
ดังกล่าวต่อเนื่อง โดยการปรับโฉมการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของประเทศไทย ให้
เปลี่ยนจากบริการเชิงรับมาเป็นเชิงรุก โดยจัดทำ “แผนการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบล พ.ศ.2552-2555” ขึ้น เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และได้ดำเนินการระยะแรกที่เป้าหมายสถานีอนามัย
จำนวน 1,001 แห่ง ในการปรับโฉมการบริการนี้ สถานีอนามัยจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง
ทั้งด้านกายภาพ รูปแบบบริการ โดยบุคลากรที่ได้รับการชี้แจงและอบรมตามแนวทางใหม่
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อให้การปฏิบัติในภารกิจหลัก เป็นไปใน
แนวทางเดียวกัน ตามปรัชญาของ รพ.สต. โดยภารกิจหลักนั้นจำแนกเป็น 2 แบบ คือการ

ทำงานกับกลุ่มประชากร และการทำงานกับกลุ่มโรค ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ รพ.สต.ต้องปฏิบัติ
ส่วนภารกิจเสริมหรือภารกิจบางลักษณะ รพ.สต.อาจเลือกพิจารณาปฏิบัติตามความจำเป็น
และเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยมุ่งให้มีคุณลักษณะสำคัญ ดังนี้

ขอบเขตการดำเนินงาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีขอบเขตการดำเนินการบริการสาธารณสุข
ผสมผสาน ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และ
การฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว
ชุมชนและสังคม ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยมีจุดเน้นดังนี้ (รายละเอียดอยู่ในภาคผนวก)

• ดำเนินการเชิงรุก โดยมุ่งเข้าหาประชาชนและชุมชนเพื่อการสร้างสุขภาพเป็นหลัก
รวมทั้งมุ่งจัดการกับปัจจัยเสี่ยงที่เป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพ
• บริการอย่างต่อเนื่อง สามารถให้คำปรึกษาและส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลา โดย
สามารถปรึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลพี่เลี้ยง หรือส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลา ทั้งนี้
อาจมีบริการเตียงนอนเพื่อสังเกตอาการโดยไม่รับผู้ป่วยไว้นอนค้างคืน และหากมี
กรณีฉุกเฉิน ก็มีระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อออกไปรับผู้ป่วยและให้การปฐม
พยาบาลก่อนส่งต่อ
• มีความเชื่อมโยงและมีส่วนร่วม โดยมีความเชื่อมโยงกับบริการสุขภาพในระดับอื่น
ในการดูแลผู้ป่วยรายกรณีอย่างมีประสิทธิภาพ และมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการ
ดำเนินงานของประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองท้องถิ่น

พื้นที่การทำงาน
มีเขตพื้นที่รับผิดชอบ (catchment area) อย่างชัดเจน โดยใช้บ้านเป็นเรือนผู้ป่วย
(home ward)
บุคลากรผู้ปฎิบัติงาน
• มีความรู้และทักษะในการให้บริการผสมผสาน และมีทักษะเพิ่มเติมเฉพาะด้าน
• มีศักยภาพในการบริหารจัดการและการทำงานเป็นทีม
• มีศักยภาพในการทำงานเชิงรุกในชุมชน
• มีศักยภาพในการใช้ และจัดการระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริหารจัดการ
เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ราชการ
ส่วนภูมิภาค องค์กรเอกชน โดยมีเป้าหมายร่วมให้เกิดระบบที่มีความยืดหยุ่น คล่องตัว มี
ความยั่งยืน มีความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ เป็นระบบที่ชุมชนสนับสนุน กำกับดูแล และ
รู้สึกเป็นเจ้าของ

ระบบสนับสนุน (Supporting System)
• ระบบข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
• ระบบการปรึกษาโรงพยาบาลพี่เลี้ยงตลอดเวลา
• ระบบเวชภัณฑ์และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ที่สอดคล้องกับโรงพยาบาลพี่เลี้ยง

ขนาดของประชากรในพื้นที่รับผิดชอบตามระดับ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

สถานีอนามัย / ศูนย์สุขภาพชุมชน หรือหน่วยบริการระดับปฐมภูมิรูปแบบอื่นๆ
สามารถพัฒนาหรือยกระดับการดำเนินงานเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ โดย
รับผิดชอบจำนวนประชากรหลายระดับ ตั้งแต่ประชากรไม่กี่พันคน จนถึงประชากรเป็น
หมื่นคน และมีบุคลากรตั้งแต่ 5 - 10 คนหรือมากกว่า ตามภาระงานที่รับผิดชอบ ทั้งนี้
อาจมีแพทย์และบุคลากรแพทย์แผนไทย เภสัชกร ทันตแพทย์ นักกายภาพบำบัด และ
นักสังคมสงเคราะห์ ไปร่วมให้บริการทั้งเต็มเวลาหรือบางเวลา ตามความจำเป็นและความ
เหมาะสม
เป้าหมาย
ในปีงบประมาณ 2552 ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน 2552 ตั้งเป้าหมายที่ 1,000
แห่ง (ภายในสิ้นเดือนกันยายน ปี 2552)
และในปีงบประมาณ 2553 (1 ตุลาคม 2552 - 30 กันยายน 2553) ได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มอีก 1,000 แห่ง รวมเป็น 2,000 แห่ง
และเมื่อสิ้นสุด โครงการไทยเข้มแข็ง ปี 2553 -2555 ได้ตั้งเป้าหมายไว้จำนวน 9,762 แห่ง
ทั้งนี้จะปรับปรุง
โครงสร้างพื้นฐานและระบบบริการ ได้แก่ ปรับปรุงโครงสร้างทางกายภาพและสภาพ
แวดล้อมของ รพ.สต. โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมชุมชนหรือ
วัฒนธรรมท้องถิ่น และสนับสนุนนวัตกรรมในการทำงาน เช่น บริการเชิงรุกในการดูแล
สุขภาพ บริการรักษาพยาบาลฉุกเฉินที่มี องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นด่านหน้า (first
responder) หรือ การใช้บ้านเป็นเรือนผู้ป่วย (home ward) โดยมีพื้นที่ทั้งตำบลเป็นโรง
พยาบาล เป็นต้น

สิ่งที่ควรเน้น คือการทำงานร่วมกันเป็นทีม ใช้ความสามารถของแต่ละส่วนอย่างเต็มที่
และทำงานตอบโจทย์ปัญหาหลักของชุมชนนั้นได้ดี

กำลังคนอาจแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1) บุคลากรที่ทำงานประจำอย่างต่อเนื่องใน รพ.สต.
2) บุคลากรที่เสริมเพิ่มเติมตามบริการเฉพาะ และ
3) บุคลากรที่เป็นส่วนประสาน ในโรงพยาบาลแม่ข่ายที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงบริการระหว่าง รพ.สต. กับแม่ข่ายและหน่วย

บริการอื่นที่เกี่ยวข้อง
กำลังคนส่วนที่เป็นฐานทำงานประจำ ควรเน้นให้มีจำนวนเพียงพอกับภาระงาน และ
มีสาขาวิชาชีพที่เพิ่มเติมได้ครอบคลุมงานหลัก ได้แก่ พยาบาล นักวิชาการด้านการป้องกัน
โรคและส่งเสริมสุขภาพ และนักกายภาพบำบัด

วิธีการบริหารจัดการด้านบุคลากรให้มีเพิ่มเติมใน รพ.สต. นั้น สามารถจัดการได้ใน
4 ลักษณะ คือ
1) บุคลากรที่มีอยู่เดิม แต่มีค่าตอบแทนให้ทำงานได้เพิ่มขึ้น
2) โรงพยาบาลแม่ข่ายจัดสรรคนลงมาช่วยดูแลงานเพิ่มขึ้น ซึ่งทำได้หลายแบบ เช่น
ระดมผู้ที่สำเร็จการศึกษาใหม่ และ/หรือ ยืม/รับย้าย ผู้สมัครใจ ทั้งนี้ให้ชุมชนและองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม
3) จ้างเพิ่ม ซึ่งจ้างได้ทั้งนักวิชาการและพยาบาล ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณ
จากส่วนต่างๆ อาทิ รพ.แม่ข่าย ท้องถิ่น หรืองบสนับสนุนเพิ่มเติมจาก สปสช. ภายใต้การ
ประเมินสถานการณ์ความจำเป็น และสถานการณ์ทางการเงินของ รพ.สต. โดยคณะ
กรรมการบริหาร รพ.สต.
4) พัฒนาบุคลากรหรือส่งเสริมการศึกษาต่อเพื่อกลับมาทำงาน โดยจะใช้งบประมาณ
รพ.แม่ข่าย หรือท้องถิ่นในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเรียน ส่วนการจ้างงานเมื่อจบการ
ศึกษา จะจ้างโดย รพ.แม่ข่าย รพ.สต. หรือท้องถิ่น ขึ้นกับการตกลงกันของคณะกรรมการ
บริหาร รพ.สต.

กำลังคน เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของ “ทีมสุขภาพในโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล” โดยต้องเพิ่มกำลังคนให้เพียงพอ ด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้
ยังมีการระดมความร่วมมือในพื้นที่ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข และประชาชน เพื่อ
สนับสนุนกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพที่มุ่งเน้นการดูแลตนเอง (self care) และครอบครัว

เงื่อนไขที่สำคัญและปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินการ
จัดตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล


1) ผู้บริหารทุกระดับให้การสนับสนุนและติดตามพัฒนาอย่างจริงจังตามนโยบายและ
แผนปฏิบัติการที่กำหนด
2) หน่วยงานสนับสนุนทุกระดับมีการจัดทำแผนเพื่อการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบลทั้งระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว
3) เริ่มต้นในพื้นที่ที่มีความพร้อม ที่สมัครใจ และที่ซึ่งชุมชนมีความกระตือรือร้นใน
การมีส่วนร่วม
4) มีการใช้กระบวนการประชาคมเพื่อปรับแนวคิดของคนในชุมชน สร้างความเข้าใจ
และกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
5) มีการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลและภาพลักษณ์ของสถานบริการ ร่วมกับ
การทำงานเชิงรุกในชุมชน
6) ความเชื่อมโยงระหว่าง รพ.สต. ด้วยกัน และกับโรงพยาบาลแม่ข่าย

บทที่ 2 กลไกการบริหารงาน และการสนับสนุนดำเนินงาน 22
คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
กลไกบริหารและสนับสนุนการดำเนินงาน
นโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
(ดูแผนภูมิหน้า 24)
คณะทำงานติดตามและสนับสนุนนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล
(รพ.สต.)
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในคำสั่ง
กระทรวงสาธารณสุข ที่ 408/2552 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2552 แต่งตั้งคณะทำงาน
ติดตามและสนับสนุนนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล โดยมีบทบาทหน้าที่
ส่งเสริมและจัดการให้เกิดการศึกษาวิจัย สร้างความรู้ เพื่อสนับสนุนระบบการสร้างเสริม
สุขภาพระดับตำบล ส่งเสริมการจัดการความรู้ (KM) ส่งเสริมและจัดการสื่อสารสังคมเพื่อ
สร้างกระบวนทัศน์สุขภาพใหม่ ตลอดจนทำการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
สำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
(สช.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) เป็นต้น
นอกจากนี้คณะทำงานฯ ชุดนี้ จะกำหนดให้มีกลไกในการติดตามประเมินผลของ
นโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยประสานงานกับสำนักตรวจราชการและ
บทที่ 2 กลไกการบริหารงานและการสนับสนุนดำเนินงาน 23
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เพื่อให้นโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
เกิดผลในทางปฏิบัติ มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาวะของประชาชน ครอบครัว และชุมชนใน
พื้นที่อย่างแท้จริง
คณะกรรมการเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
คณะกรรมการชุดนี้ แต่งตั้งโดยปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมอบหมายให้รองปลัด
กระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน มีบทบาทหน้าที่ในการเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบาย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมทั้งจัดการให้เกิดระบบสนับสนุน และจัดทำแผน
สนับสนุนด้านต่างๆ เพื่อให้นโยบายบรรลุวัตถุประสงค์ เช่น การจัดระบบสนับสนุนทางวิชาการ
การจัดทำแผนพัฒนากำลังคน (การผลิต การฝึกอบรม การสับเปลี่ยนหมุนเวียนบุคลากร
ฯลฯ การจัดการด้านการเงินการคลัง การจัดระบบข้อมูลและการวางแผน การจัดระบบการ
สนับสนุน รพ.สต. จากโรงพยาบาลแม่ข่าย (การให้คำปรึกษาทางไกล สนับสนุนเวชภัณฑ์
และการดูแลผู้ป่วยที่มีความซับซ้อน การพัฒนาระบบส่งต่อ การสนับสนุนด้านวิชาการและ
พัฒนาบุคลากร) เป็นต้น
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการเร่งรัดการดำเนินงานตาม
นโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและ/หรือนโยบายอื่นๆ ในระดับจังหวัด โดยองค์
ประกอบของคณะกรรมการชุดนี้อาจประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป
โรงพยาบาลชุมชน ที่สนับสนุน รพ.สต. หน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวข้อง ผู้แทน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่น เป็นต้น เพื่อทำ
หน้าที่ในการประสานกลไกต่างๆ ในพื้นที่ ให้ปฏิบัติงานตามนโยบาย รพ.สต. อย่างบูรณาการ
และมีเอกภาพ
24 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยอาจมี
องค์ประกอบจากเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำ
ชุมชนท้องถิ่น และอื่นๆ ที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้โรงพยาบาลส่ง
เสริมสุขภาพตำบล จะบรรลุพันธกิจในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างสุขภาวะของบุคคล
ครอบครัว และชุมชนได้ก็ต่อเมื่อคนทุกคนในชุมชน หน่วยงาน องค์กรทุกภาคส่วน จะต้อง
ร่วมกันสร้างสุขภาพตามหลักที่ว่า “สุขภาพดี สังคมดี ไม่มีขาย อยากได้ต้องร่วมสร้าง”
แผนภูมิแสดงความเชื่อมโยงของกลไก กระบวนการด้านนโยบาย
และปฏิบัติการในการสนับสนุน และพัฒนา รพ.สต.
รมว.กระทรวงสาธารณสุข
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
คณะกรรมการเร่งรัดการดำเนิน
การตามนโยบาย
คณะทำงานติดตามและ
สนับสนุนนโยบายโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
คณะกรรมการเร่งรัดการดำเนิน
การตามนโยบาย รพ.สต.
สปสช. สสส.
รพ.สต.สวรส. สช. มสช.
คณะกรรมการพัฒนา
รพ.สต.
องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น (อปท.)
บทที่ 2 กลไกการบริหารงานและการสนับสนุนดำเนินงาน 25
การสนับสนุนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
การบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
แม้ว่าสถานีอนามัยที่จะได้รับการพัฒนาขึ้นเป็น รพ.สต. จะเป็นสถานบริการภายใต้
โครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งหมด แต่จาก
ปรัชญาการก่อกำเนิดของ รพ.สต. เกิดจากการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของทุกภาคส่วน ซึ่ง
เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินการให้เกิดความสำเร็จและยั่งยืน ดังนั้นรูปแบบการบริหาร
จัดการที่ควรจะเป็น จึงไม่อาจใช้เพียงโครงสร้างเดิมได้อีกต่อไป
คณะกรรมการบริหาร รพ.สต.
อาจมีองค์ประกอบมาจากสามภาคส่วน คือ ภาครัฐ ได้แก่ผู้แทนจากโรงพยาบาล
แม่ข่าย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เจ้าหน้าที่รพ.สต. รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ภาควิชาการ ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งทางด้านสาธารณสุขและอื่นๆ และภาคประชาสังคม ซึ่ง
รวมถึง อสม. และผู้แทนชุมชนอื่นๆ ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
ในระยะเริ่มแรก หากยังไม่มีบัญญัติไว้เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติ
นั้น ก็อาจกำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติของพื้นที่ก่อนได้ ความสำคัญอยู่ที่การบริหารที่เกิดขึ้นจริง
ที่ควรให้และใช้บทบาทของคณะกรรมการดังกล่าวให้มากที่สุด เช่น การทำแผนปฏิบัติการ
ของ รพ.สต. การดำเนินการเรื่องบุคลากร งบประมาณ เป็นต้น กิจกรรมสำคัญๆ ควรนำ
เข้ามาปรึกษาหารือในคณะกรรมการให้ช่วยพิจารณา
หน้าที่หลักของคณะกรรมการบริหาร รพ.สต. คือ การสร้างความร่วมมือด้านบริหาร
จัดการให้ รพ.สต. สามารถดำเนินการได้ตามที่กำหนดเป้าหมายบริการ การประสานเชื่อม
ต่อกับหน่วยงาน องค์กรเครือข่ายต่างๆ ให้การบริการร่วมกัน รวมถึงสนับสนุนด้าน
ทรัพยากรจากทุกภาคส่วน อาทิ บุคลากร หรืองบประมาณภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
26 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
องค์กรเอกชน ชุมชน ในการเข้ามาร่วมกันสร้างสุขภาพของประชาชนในเขตบริการ
ของ รพ.สต.
การจัดการด้านกำลังคน
เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจของ รพ.สต. ซึ่งมุ่งเน้นบริการเชิงรุกในด้านส่งเสริม ป้องกัน
และเพิ่มศักยภาพในการรักษาเบื้องต้น ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของจำนวนบุคลากรในสถานี
อนามัยปัจจุบันมีเพียง 2.9 คนต่อแห่ง จึงมีประเด็นที่ต้องคำนึงถึง คือ
1. จำนวนบุคลากรและแหล่งที่มา : จำนวนบุคลากรควรมาจากการวิเคราะห์ภาระ
งาน ประกอบกับขนาดของพื้นที่และประชากรที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ ส่วนการได้มาต้อง
อาศัยการจัดการเป็นเครือข่าย การเพิ่มจำนวนบุคลากรเป็นสิ่งที่จำเป็น โดย รพ.สต. อาจ
จ้างลูกจ้างเพิ่มเติมเพื่อปฏิบัติงาน โดยใช้เงินบำรุงของ รพ.สต. อาจมีการสนับสนุนบุคลากร
จากโรงพยาบาลแม่ข่ายมาเป็นการประจำหรือหมุนเวียนมาเป็นบางช่วงเวลาก็ได้
2. ประเภทของบุคลากร : รพ.สต. ควรมีพยาบาลวิชาชีพ หรือพยาบาลเวชปฏิบัติ เพื่อ
เพิ่มขีดความสามารถในการดูแลผู้ป่วย และบุคลากรที่ร่วมทีมงานควรมีลักษณะที่มีทักษะ
หลากหลาย ผสมผสานในแต่ละบุคคล หลีกเลี่ยงการทำให้แต่ละคนมีความชำนาญเฉพาะ
ด้านใดด้านหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีจำนวนบุคลากรน้อย รวมถึงการฝึกอบรม
อสม./แกนนำสุขภาพ จำนวนหนึ่งให้ช่วยปฏิบัติงานเป็นการประจำ โดยเฉพาะการ
สาธารณสุขมูลฐาน การแพทย์แผนไทย การเยี่ยมบ้าน และงานเชิงรุกอื่นๆ การสนับสนุน
บุคลากรจาก อปท. ก็เป็นทางออกหนึ่งที่จะเพิ่มจำนวนผู้ปฏิบัติงาน หรือการร่วมกันปฏิบัติ
ภารกิจกับองค์กรอื่นๆ ในพื้นที่ก็จะทำให้สามารถบรรลุภารกิจได้ โดยไม่ต้องเพิ่มจำนวน
คนใน รพ.สต. เช่น การส่งต่อผู้ป่วยโดยอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) หรือ
บริการรถยนต์รับส่งผู้ป่วยฉุกเฉินของท้องถิ่น เป็นต้น
บทที่ 2 กลไกการบริหารงานและการสนับสนุนดำเนินงาน 27
การจัดการด้านการเงินการคลัง
สถานีอนามัยที่ยกฐานะเพื่อเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำเป็นต้องได้รับ
งบประมาณดำเนินการภารกิจต่างๆ อย่างพอเพียง นอกเหนือจากงบลงทุนตามโครงการ
ไทยเข้มแข็งและงบเตรียมความพร้อมจำนวน 200,000 บาทต่อแห่งในปี 2552 และการ
สนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพิ่มเติม งบประมาณ
โรงพยาบาลแม่ข่าย งบประมาณส่งเสริมป้องกันในรูปแบบต่างๆ เช่น งบประมาณส่งเสริม
ป้องกันสุขภาพระดับพื้นที่ Area-based) จากจังหวัด งบประมาณพัฒนาบริการปฐมภูมิใน
รูปแบบต่างๆ งบลงทุนทดแทนจาก CUP สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือผู้ตรวจราชการ
กระทรวงสาธารณสุขจะต้องมีการจัดการเพื่อให้รองรับกับนโยบาย ขณะที่ รพ.สต. คงต้อง
วางแผนการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ เพื่อมาดำเนินการ อาทิ งบประมาณด้าน
สาธารณสุขจาก อปท. ภาคเอกชนอื่นๆ รวมถึงการระดมทุนจากชุมชน โดยอาศัยกลไก
คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและกลไกรูปแบบอื่นๆ รวมถึงการใช้
งบประมาณที่มีอย่างมีหลักเกณฑ์ มีการวางแผนปฏิบัติการรองรับ ควบคุม กำกับการใช้งบ
ประมาณ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า (efficiency) ก็จะสามารถจัดบริการได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
การจัดการด้านข้อมูลและการวางแผน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ต้องจัดให้มีและใช้ข้อมูลในการดำเนินการอย่าง
เป็นระบบและพอเพียง การจัดทำแฟ้มครอบครัว (family folder) ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะ
ใช้ติดตามดูแลสุขภาพของประชาชนในเขตรับผิดชอบ หากมีการสำรวจข้อมูลสุขภาพที่ดี
การปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ร่วมกับข้อมูลการมารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบลที่พัฒนาและดำเนินการอยู่ หากมีการนำมาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบก็สามารถ
ใช้ประโยชน์จากข้อมูลทั้ง 2 ส่วนได้ โดยใช้เพื่อการวิจัยชุมชน วางแผนแก้ปัญหา รวมถึง
การวางแผนการดูแลสุขภาพของปัจเจกบุคคลอย่างมีคุณภาพด้วย
28 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
การสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่าย (CUP)
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นหน่วยงานบริการที่มุ่งเน้นการบริการในระดับ
ปฐมภูมิ (primary care) ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง ทั้งนี้จะต้องมี
การสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่ายซึ่งมีศักยภาพมากกว่า โดยเฉพาะในเรื่องขีดความ
สามารถในการตรวจวินิจฉัย และการรักษาโรค รวมถึงด้านการเงินการคลัง บุคลากร และ
วิชาการ การสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่ายจึงเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญ
1. การสนับสนุนด้านการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค
1.1 การให้คำปรึกษาทางไกลแบบ Online
เป็นระบบที่ควรจัดทำให้มีขึ้นในทุก รพ.สต. เพื่อให้ รพ.สต. ขอคำปรึกษาใน
การดูแลผู้ป่วยที่ถูกต้องกับแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ที่โรงพยาบาลแม่ข่ายได้ เป็นการลด
ภาระการต้องส่งผู้ป่วยไปในกรณีที่ไม่จำเป็นต้องไปปรากฏตัวที่โรงพยาบาลแม่ข่าย
ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถติดต่อกันได้ทั้งภาพและเสียงแบบทันที (real time)
รพ.สต. สามารถเลือกใช้อุปกรณ์และระบบเชื่อมต่อที่เหมาะสมได้ ยกเว้นในบางพื้นที่
ที่อาจยังมีปัญหาเรื่องบริการการเชื่อมต่อ โรงพยาบาลแม่ข่ายต้องบริหารจัดการเรื่อง
กระบวนการที่จะให้มีบุคลากรของโรงพยาบาล โดยเฉพาะแพทย์ให้ความร่วมมือใน
การดำเนินการอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์ได้จริง หากโรงพยาบาลแม่ข่ายใด
ต้องการเรียนรู้จากตัวอย่าง (best practice) ก็มีหลายแห่งที่ดำเนินการแล้วให้การ
เรียนรู้ได้
1.2 การสนับสนุนเวชภัณฑ์และการดูแลผู้ป่วยที่มีความซับซ้อน
โรงพยาบาลแม่ข่าย ควรเพิ่มรายการบัญชียาที่สามารถให้จ่ายได้ที่ รพ.สต. ตาม
แนวทางการรักษาของโรงพยาบาลแม่ข่าย รวมถึงระบบการส่งสิ่งส่งตรวจเพื่อการ
วินิจฉัย หรือติดตามผลการรักษาจาก รพ.สต. การร่วมกันดูแลผู้ป่วยในรายที่สามารถ
บทที่ 2 กลไกการบริหารงานและการสนับสนุนดำเนินงาน 29
ส่งกลับบ้านได้แต่ยังต้องการบริการที่มีขีดความสามารถมากกว่าที่สถานีอนามัยเดิม
แต่ไม่จำเป็นต้องไปนอนรักษาที่โรงพยาบาล
1.3 การพัฒนาระบบส่งต่อ
โรงพยาบาลแม่ข่ายทุกแห่งจะได้รับการสนับสนุนรถพยาบาลจากงบประมาณ
ไทยเข้มแข็ง เพื่อการส่งต่อกรณีเกินขีดความสามารถของรพ.สต. โดยต้องพัฒนาให้
เกิดความพร้อม สะดวก ทั้งกรณีที่ส่งไปรับการตรวจวินิจฉัย รักษา หรือส่งผู้ป่วยจาก
โรงพยาบาลแม่ข่ายกลับไปยัง รพ.สต. เพื่อดูแล ติดตามการเยี่ยมบ้านต่อเนื่อง
2. การสนับสนุนด้านการเงินการคลัง : ในปัจจุบันหน่วยบริการที่เป็นคู่สัญญาระดับ
ปฐมภูมิ (CUP) ยังเป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย ดังนั้นการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงาน
(operating budget) จึงต้องอาศัยโรงพยาบาลแม่ข่ายเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงินในการ
ดำเนินงานเป็นหลัก โดยระบบการจัดสรรงบประมาณมาจาก สปสช. อาจมีการทดลองรูปแบบ
การจัดการการเงินการคลัง ซึ่งจะพัฒนาไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
3 . การสนับสนุนบุคลากร : โรงพยาบาลแม่ข่ายสามารถจัดระบบการสนับสนุนให้ได้
ตั้งแต่แพทย์ (กรณีที่ รพ.สต. เป็น PCU หรือ CMU) เดิม ตามความเหมาะสมของพื้นที่
ตลอดจนบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ที่ช่วยเติมเต็มให้บริการของรพ.สต. ครบถ้วนตามที่
กำหนดไว้ การสนับสนุนอาจให้บุคลากรจากแม่ข่ายไปช่วยอย่างถาวรในช่วงเวลาหนึ่งหรือ
หมุนเวียนไปตามวันระยะเวลาที่เหมาะสม โดยใช้หลักคิดที่ว่า หากบริการที่รพ.สต. มีความ
เข้มแข็งประชาชนก็ไม่ต้องมารับบริการที่โรงพยาบาลแม่ข่าย บุคลากรที่ส่งไปให้บริการที่
รพ.สต. ก็ทำภารกิจเดียวกันกับที่โรงพยาบาลแม่ข่ายจะต้องทำนั่นเอง แต่ประชาชนไม่ต้อง
เดินทางไกลมารับบริการที่โรงพยาบาลแม่ข่าย
30 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
4 . การสนับสนุนด้านวิชาการและการพัฒนาบุคลากร : โรงพยาบาลแม่ข่ายซึ่งเคยให้
ความช่วยเหลือทางวิชาการ แก่สถานีอนามัยอยู่เดิม ควรมีแนวทางหรือแผนพัฒนาบุคลากร
ที่ชัดเจนร่วมกับ รพ.สต. ว่าจะมีการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านต่างๆ แก่บุคลากรของ
รพ.สต. อย่างไร ทั้งเรื่องการวินิจฉัย รักษาพยาบาล โรคต่างๆ ตลอดจนด้านการ
สาธารณสุข และการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น การใช้เทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าว
สารในการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย รวมถึงการพัฒนาบุคลากรที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น
การฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพ ให้เป็นพยาบาลเวชปฏิบัติ ซึ่งอาจต้องประสานกับสำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัด, เขต หรือเครือข่ายภายนอกพื้นที่ด้วย เช่น วิทยาลัยการสาธารณสุข,
วิทยาลัยพยาบาล หรือมหาวิทยาลัย ที่จะเร่งผลิตและพัฒนาบุคลากร เป็นต้น
บทบาทและการสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
สาธารณสุขอำเภอ ยังเป็นผู้บังคับบัญชาและพี่เลี้ยงทางด้านการสาธารณสุขที่สำคัญ
ของ รพ.สต. เพียงแต่ต้องปรับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายและยุคสมัย
รพ.สต. จำเป็นต้องมีการทำงานเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย สสอ.จะช่วยประสาน สนับสนุน
การเชื่อมต่อดังกล่าว รวมถึงการสนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการการเฝ้าระวัง สอบสวน
โรค และควบคุมโรค โดยเฉพาะกรณีที่มีการระบาดกว้างขวางกว่าขอบเขตของ รพ.สต. เอง
ไปจนถึงการช่วยติดตาม กำกับ นิเทศงานในพื้นที่ภาพรวมของอำเภอ กลไก คณะกรรมการ
ประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) ยังมีความสำคัญในการจัดการสุขภาพใน
ระดับอำเภอ โดย รพ.สต. จะเป็นรากฐานที่สำคัญที่จะทำให้เกิดความครอบคลุมและมี
คุณภาพ
บทบาทและการสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค มีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นหัวหน้าส่วนราชการ
ประจำจังหวัด โดยเป็นผู้แทนเพียงหนึ่งเดียวของกระทรวงสาธารณสุข ทำให้การบริหารงาน
บทที่ 2 กลไกการบริหารงานและการสนับสนุนดำเนินงาน 31
ในพื้นที่มีเอกภาพมาก การดำเนินงานของ รพ.สต. ต้องได้รับการสนับสนุนและบริหาร
จัดการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั้งในแง่ของการใช้อำนาจจัดการที่มีตามกฎหมาย
และการสนับสนุนทางวิชาการในการจัดการ เช่น การมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการ รพ.สต.
ดำเนินการใดได้บ้าง การวางระบบเชื่อมต่อทางด้านไอที ระบบเฝ้าระวังและรายงานโรค
การสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรที่ต้องอาศัยการจัดการระดับจังหวัด งบลงทุนทดแทนที่อยู่
ในอำนาจของจังหวัดก็สามารถพิจารณาจัดสรรสนับสนุนให้แก่ รพ.สต. ตามความเหมาะสม
ได้ รวมถึงการเป็นกลไกที่จะควบคุมกำกับ ติดตาม นิเทศงานให้เกิดการดำเนินตาม
นโยบายด้วยความเรียบร้อยในภาพรวมของจังหวัด
บทบาทและการสนับสนุนจากเขตตรวจราชการ
เขตตรวจราชการมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาที่ต้องใช้อำนาจในระดับเขต หรือ
การจัดการที่ทำด้วยระดับเขตตรวจราชการแล้วได้ผลดีมากกว่า เช่น การพัฒนาบุคลากร
บางสาขาเพื่อสนับสนุน รพ.สต. การจัดสรรงบลงทุนทดแทนที่เป็นอำนาจเขตตรวจราชการ
การนิเทศและประเมินผลในภาพรวมของเขต ตลอดจนการเชื่อมต่อกับกระทรวงในส่วนกลาง
เป็นต้น
บทบาทและการสนับสนุนจากส่วนกลาง
การสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจไทยเข้ม
แข็ง ระยะที่ 2 (ระยะที่ 1 เป็นการปรับปรุงชั้นล่างของสถานีอนามัยที่ยังไม่ได้ดำเนินการ)
ซึ่งสนับสนุน รพ.สต. ในหลายโครงการ
1. โครงการพัฒนาบริการปฐมภูมิ จำนวน 14,793 ล้านบาท
โดยในปี 2553 จัดสรรงบประมาณเป็นรถพยาบาล จำนวน 829 คัน ไว้ที่โรงพยาบาล
แม่ข่ายทุกแห่งสำหรับการส่งต่อ นอกจากนี้ยังสนับสนุนงบประมาณใน รพ.สต. จำนวน
32 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
2,151 แห่ง แห่งละ 1.355 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและ
ภูมิทัศน์ 5 แสนบาทต่อแห่ง งบครุภัณฑ์ทางการแพทย์ และครุภัณฑ์สำนักงานที่จำเป็น
จำนวนเงิน 8.55 แสนบาท
2. โครงการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพ ทั้งหมดจำนวน 2,700 ล้านบาท
ซึ่งส่วนหนึ่งจะนำมาพัฒนาระบบข้อมูลด้านสุขภาพของ รพ.สต. ด้วย
3. โครงการผลิตและพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข เช่น แพทย์ พยาบาล ทันตภิบาล
นักวิชาการสาธารณสุขและอื่นๆ แต่กว่าจะได้บุคลากรจากการผลิตมาช่วยทำงานอาจใช้
เวลานาน ในขณะเดียวกันการพัฒนาบุคลากรก็สามารถส่งเสริมการทำงานของบุคลากรใน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีอยู่อีกทางหนึ่ง
สปสช. : ซึ่งเป็นผู้ซื้อบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีงบประมาณทั้ง
ทางด้านรักษาพยาบาลและส่งเสริมป้องกันโรคไปจนถึงการพัฒนาระบบ จะให้เงินสนับสนุน
ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในลักษณะรายหัวทั่วไป ซึ่งได้คิดรวมไปให้ที่ CUP และกิจกรรมเฉพาะ
ซึ่งได้ดำเนินการให้การสนับสนุน รพ.สต. โดยในระยะสั้นสนับสนุนงบดำเนินการให้ รพ.สต.
แห่งละ 2 แสนบาท และในปี 2553 ก็จะมีเงินสนับสนุนเพิ่มเติมให้กับหน่วยบริการที่ผ่าน
เกณฑ์มาตรฐานของ สปสช.
บทที่ 2 กลไกการบริหารงานและการสนับสนุนดำเนินงาน 33
บทที่ 3
ภารกิจของโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล
34 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ภารกิจของ รพ.สต. จะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
ภารกิจหลักพื้นฐาน จะเป็นการบริการแบบผสมผสานให้แก่ประชากรทุกกลุ่มอายุ ใน
สถานพยาบาล ที่บ้าน และชุมชน งานบริการดูแลเป็นกลุ่มประชากร ตามวัย และตาม
ประเด็นปัญหาเฉพาะของพื้นที่ รวมทั้งการจัดการเพื่อเสริมศักยภาพการเรียนรู้ของชุมชน
และบริการที่ต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นภารกิจที่ รพ.สต. จะต้องดำเนิน
งานให้ครอบคลุม โดยเน้นตามสภาพปัญหาสุขภาพของพื้นที่ ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากร กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยในชุมชน
ภารกิจเสริม เป็นกิจกรรมที่ รพ.สต. สามารถทำเพิ่มเนื่องจากสภาพปัญหาที่แตกต่าง
กันในแต่ละพื้นที่ และความต้องการของชุมชนที่สามารถพัฒนาคุณภาพบริการที่เพิ่มมากขึ้น
จากภารกิจหลัก เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม (รายละเอียดในภาคผนวก)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น