วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คู่มือ รพ สต 19 ภารกิจเสริม


ภาระกิจเสริม ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์


ข้อมูลเบื้องต้น
บทบาทหน้าที่ของ รพ.สต. ในส่วนที่อยู่ในขอบข่ายของวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้น
แบ่งได้เป็น 2 ด้านคือ ด้านการป้องกันการเกิดโรคและการรักษาโรค

การป้องกันโรคนั้น ทำได้ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ การเฝ้าระวังคุณภาพของผลิตภัณฑ์
สุขภาพ ได้แก่ อาหาร ยา เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย ซึ่งส่งผลต่อการเกิดโรคหลายชนิด
รวมทั้งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รูปแบบที่ 2 คือ การป้องกันโรคโดยโครงการตรวจค้นหา
ผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงเบื้องต้น เพื่อแก้ไขปัญหาและป้องกันโรค

ในส่วนของการรักษาหรือตรวจหาโรคในเบื้องต้นก็เป็นบทบาทหน้าที่ของ รพ.สต. ที่
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถเข้าไปสนับสนุนได้ทางห้องปฏิบัติการ
แนวคิดของ รพ.สต.ทางห้องปฏิบัติการ
รพ.สต. ในลักษณะทั่วไป ไม่ควรมีห้องปฏิบัติที่มีเครื่องไม้เครื่องมือพิเศษในการตรวจ
วิเคราะห์ ยกเว้น รพ.สต. ขนาดใหญ่ (ซึ่งถือว่าเป็นกรณียกเว้นเฉพาะราย) แต่อาจจะมีการ
ให้บริการตรวจวิเคราะห์/ตรวจวินิจฉัย โดยใช้ชุดทดสอบ ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจคัดกรอง

นอกจากนี้ ควรวางระบบการส่งต่อตัวอย่างกรณีที่การทดสอบต้องใช้ห้องปฏิบัติการและ
การตรวจยืนยันตามความจำเป็น
กรอบการทำงาน
1. การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
1.1 การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ หมายถึง การเฝ้าระวังคุณภาพ และ
ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ โดยใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย โดยมีวัตถุประสงค์
- เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ตามขอบข่ายงานของสำนักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา
- เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหาและให้ผู้ผลิตพัฒนาคุณภาพของ
ผลิตภัณฑ์ต่อไป
- เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในกลุ่มต่างๆ ตามความเหมาะสม เพื่อให้สามารถ
เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้ถูกต้อง
1.2 วิธีการให้บริการ
1.2.1 ใช้ชุดทดสอบเป็นเครื่องมือในการค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ดีและมีปัญหา
1.2.2 การดำเนินการทำได้หลายรูปแบบ
- รพ.สต. ดำเนินการเองโดยดึงเอา อปท. เข้ามามีส่วนร่วมในการ
วางแผน
- ให้ อปท. ไปดำเนินการโดย รพ.สต. เป็นผู้ร่วมวางแผนและดำเนิน
การให้ข้อมูลทางวิชาการ
- รูปแบบอื่นๆ ตามความเหมาะสมของพื้นที่ และสังคมนั้นๆ
1.2.3 วิธีการจัดการภายใน
- ความเชื่อมโยงกับ สสจ. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ กรณีต้องการ
การสนับสนุนทางวิชาการหรือการดำเนินการตามกฎหมาย
- การให้ความรู้และประชาสัมพันธ์
- ขั้นตอนการดำเนินการ

รูปแบบโดยทั่วไปของการดำเนินการด้านนี้เป็นไปตาม Flow chart 1
ขั้นตอนที่ 1 การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะตรวจวิเคราะห์ให้ดำเนินการร่วมกับท้องถิ่น
โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นปัญหา ผลิตภัณฑ์เป็นผลผลิตของพื้นที่ หรือนำเข้าหรือผลิตภัณฑ์
ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ขั้นตอนที่ 2 และ 3 การดำเนินการตรวจวิเคราะห์อาจจะทำได้หลายรูปแบบโดย
เป็นการทำงานร่วมกับท้องถิ่น
ขั้นตอนที่ 4 และ 5 หากผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและปลอดภัย ได้มีการประชาสัมพันธ์ได้
ผลเชิงบวก เช่น การแจกป้าย
ขั้นตอนที่ 6 และ 7 หากผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัย จะต้องมีการแจ้งผู้ผลิตหรือผู้
จำหน่าย เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น หรือมีการเลือกจำหน่ายแก่ผลิตภัณฑ์ที่มี
คุณภาพดีขึ้น หรือมีการเลือกจำหน่าย แต่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี ทั้งนี้ต้องดำเนินร่วมกับ
ท้องถิ่นเสมอ
ขั้นตอนที่ 8 และ 9 เมื่อมีการพัฒนาแล้วต้องมีการตรวจซ้ำว่าปลอดภัยแล้วหรือไม่
หากปลอดภัยแล้วก็ ดำเนินการตามขั้นตอน 5 ต่อไป
ขั้นตอน 10 11 และ 12 หากผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัยสามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ
คือ พัฒนาต่อไปอีก (ขั้นตอน 7) หรืออาจจะต้องประสานกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์
(ศวก.) เพื่อตรวจยืนยัน หรือ สสจ. เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย

Flow 1
การคัดเลือก
ผลิตภัณฑ์
การตรวจวิเคราะห์
ผลิตภัณฑ์
โดยใช้ชุดทดสอบ
- อปท.
- ภาคประชาชน
- อื่นๆ
ผลิตภัณฑ์
ปลอดภัย
ผลิตภัณฑ์ไม่
ปลอดภัย
ประชาสัมพันธ์
เชิงบวกโดยการ
ให้ป้าย...
- แจ้งและพัฒนา
ผู้ผลิต
- ร่วมกับท้องถิ่น
ตรวจ
วิเคราะห์ซ้ำ
ปลอดภัย
ไม่ปลอดภัย
ส่งตรวจ
ยืนยัน
สสจ.
2. การป้องกันและรักษาโดยใช้กลไกทางด้านการตรวจชันสูตร
2.1 ความหมาย ของการป้องกันและรักษาโรคโดยใช้กลไกทางด้านการตรวจ
ชันสูตรนั้น หมายถึง การใช้ผลการตรวจชันสูตรเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วย
เบื้องต้น (early diagnostic) /ผู้ป่วย โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น
2.2 วิธีการให้บริการ โดยปกติแล้ว รพ.สต. จะต้องเป็นผู้ให้บริการเองในเรื่องของ
การรักษา ในส่วนของการป้องกันหรือค้นหากลุ่มเสี่ยง สามารถดำเนินการ
ร่วมกับท้องถิ่น เช่น อบต. และ อสม. ได้
2.3 วิธีการจัดการภายใน ต้องมีการวางระบบการส่งต่อตัวอย่างที่ดำเนินการไม่ได้
เอง หรือตัวอย่างที่ต้องการตรวจยืนยัน ทั้งนี้ ควรจะสอดคล้องกับระบบส่งต่อ
ผู้ป่วยด้วย

ด้านการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
1. การจัดบริการการแพทย์แผนไทย
มาตรฐานการจัดบริการการแพทย์แผนไทยของ รพ.สต. ต้องมีบริการ มีดังนี้
1. มีเวชระเบียนด้านการแพทย์แผนไทย
1.1 มีระบบเวชระเบียนที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
1.2 มีการเก็บเวชระเบียนที่ปลอดภัย และรักษาความลับของผู้รับบริการได้
หมายเหตุ ระบบเวชระเบียนด้านการแพทย์แผนไทย สามารถใช้ร่วมกับระบบเวช
ระเบียนด้านการแพทย์ แผนปัจจุบันได้
2. มีบริการด้านการแพทย์แผนไทย
2.1 การส่งเสริมสุขภาพ
2.1.1 จัดให้มีการให้ความรู้ สาธิต สอนแสดงด้านการแพทย์แผนไทย เช่น
เรื่องสมาธิ การสวดมนต์ การบริหารร่างกายด้วยท่าฤๅษีดัดตน อาหาร
เพื่อสุขภาพ ผักพื้นบ้าน สมุนไพร เป็นต้น แก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ หรือ
มีการให้ความรู้ในรูปแบบอื่นๆ เช่น แผ่นพับ เสียงตามสาย เป็นต้น
อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง
2.1.2 การนวดเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ (ตามความพร้อมของสถานพยาบาล)
2.1.3 การอบไอน้ำสมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (ตามความพร้อมของสถาน
พยาบาล)
2.1.4 การประคบสมุนไพรเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ (ตามความพร้อมของสถาน
พยาบาล)
2.2 การป้องกันโรค
2.2.1 การจัดกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตน อย่างน้อยเดือนละ
1 ครั้ง
2.3 การรักษาโรค
2.3.1 การใช้ยาสมุนไพรอย่างน้อย 10 รายการ ตามบัญชียาสมุนไพรของ
โรงพยาบาล
2.3.2 การนวดเพื่อการบำบัดรักษาโรค (ตามความพร้อมของสถานพยาบาล)
2.3.3 การประคบสมุนไพรเพื่อการบำบัดรักษาโรค (ตามความพร้อมของสถาน
พยาบาล)
2.3.4 การอบไอน้ำสมุนไพรเพื่อการบำบัดรักษาโรค (ตามความพร้อมของ
สถานพยาบาล)
166 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
2.4_การฟื้นฟูสภาพ
2.4.1 การนวดเพื่อการฟื้นฟูสภาพ (ตามความพร้อมของสถานพยาบาล)
2.4.2 การฟื้นฟูสภาพมารดาหลังคลอด เช่น การทับหม้อเกลือ การอาบสมุน
ไพร การรัดหน้าท้อง การนาบอิฐ เป็นต้น (ตามความพร้อมของสถาน
พยาบาล)
2. บุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยที่ควรมีปฏิบัติงาน
ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้แก่
2.1 นักการแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย
ประยุกต์ หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย เพื่อทำหน้าที่ใน
การตรวจวินิจฉัยและสั่งการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยและให้บริการการ
แพทย์แผนไทยด้านการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพ ส่งเสริมสุขภาพ และป้องกัน
โรค
2.2 ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย
- ผู้ที่จบหลักสูตรนวดไทย 372 ชั่วโมง หรือหลักสูตรนวดไทย 330 ชั่วโมงขึ้น
ไป เพื่อให้บริการนวด อบไอน้ำสมุนไพร การประคบสมุนไพรเพื่อการบำบัด
รักษา ฟื้นฟูสภาพ และการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคอื่นๆ
- ผู้ที่จบหลักสูตรนวดไทย ต่ำกว่า 330 ชั่วโมง เพื่อให้บริการนวด อบไอน้ำ
สมุนไพร การประคบสมุนไพรเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
นอกจากกิจกรรมบริการการแพทย์แผนไทยที่ควรมีใน รพ.สต. ดังกล่าวข้างต้นแล้ว
การให้บริการการแพทย์แผนไทย ต้องเป็นไปตามมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทยใน
สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ พ.ศ.2551 ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านสถานที่ เครื่องมือ
เครื่องใช้ และสิ่งแวดล้อม ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการควบคุมคุณภาพ สำหรับด้านการจัด
ภารกิจเสริมบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 167
บริการ (คือขอบเขตบริการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) และด้าน
บุคลากร (ตามบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยที่ควรมีใน รพ.สต.)
การป้องกันโรคที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย
(การคุ้มครองผู้บริโภค)
หลักการและแนวคิดหลัก
การคุ้มครองผู้บริโภค ถือเป็นภารกิจที่สำคัญที่จะปกป้องหรือป้องกันให้ผู้บริโภคได้
รอดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ อันเกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็น
ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารเคมี สารปนเปื้อนต่างๆ ผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบ การบริโภค
ผลิตภัณฑ์เกินความจำเป็น และเลียนแบบตามค่านิยมตะวันตก เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งคุกคามที่
ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งสิ้น เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรค
ความดันโลหิตสูง หรือโรคอ้วน เป็นต้น
ดังนั้น การที่ประชาชนจะมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง ชุมชนเข้มแข็งร่วมใจกันไม่บริโภค
ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ เพื่อที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง
ใช้หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงมาเป็นเครื่องมือในการป้องกันมิให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ
อย่างเหมาะสมต่อเนื่อง โดยครอบคลุมกิจกรรม การเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยง (risk
assessment) การจัดการความเสี่ยง (risk management) ด้วยการ 1) หลีกเลี่ยงความ
เสี่ยง 2) ผ่องถ่ายความเสี่ยง 3) ป้องกันความเสี่ยง 4) ลดความสูญเสีย 5) แบ่งแยกความ
เสี่ยง และการสื่อสารความเสี่ยง (risk communication) ถือเป็นการส่งเสริม ป้องกัน
สุขภาพของประชาชน ตามกรอบแนวคิดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่
ต้องการจะพัฒนาจากสถานีอนามัยให้เป็นหน่วยบริการสร้างสุขภาพที่ใกล้ชิดชุมชนมากที่สุด
168 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ซึ่งเป้าหมายหลักก็เพื่อส่งเสริมสุขภาพมากกว่าการรักษาพยาบาล เป็นการป้องกันตั้งแต่
ต้นทาง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล
ทั้งนี้ บุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่ประจำอยู่ที่ รพ.สต. จักต้องปรับบทบาท ภารกิจ
จากการรักษามาสู่การส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งจะต้องสร้างและพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ถ่ายทอด
องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ให้กับประชาชนในชุมชน ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถหลีก
เลี่ยง และเลือกที่จะไม่บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยได้
นอกจากนี้ ยังต้องปรับบทบาทการเป็นนักรณรงค์ด้านสุขภาพให้กับชุมชน ให้ออกมา
สนใจ เอาใจใส่ในการดูแลสุขภาพของตน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ให้ชุมชนเกิดความตื่นตัว
และตระหนักถึงภัยต่างๆ ที่จะตามมา ทั้งนี้ กระบวนการทำงานด้วยส่งเสริมสุขภาพนั้น ไม่
เฉพาะแค่บุคลากรสาธารณสุขที่มีอยู่ใน รพ.สต. เท่านั้น ภาคีเครือข่ายต่างๆ ต้องเข้ามามี
ส่วนร่วมในการสนับสนุนแนวคิดและเทคนิคที่เหมาะสมให้กับชุมชน ผลักดันและร่วมกัน
พัฒนาชุมชนของตนให้เกิดความเข้มแข็ง เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของ
ภาครัฐในประเทศที่กำลังพัฒนาในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนต่อองค์การอนามัยโลก
โดยมีเนื้อหาระบุบทบาทและกลวิธีหลักของภาครัฐที่สำคัญ มี 3 ประการ คือ
1) บทบาทการสนับสนุน ชี้นำด้านสุขภาพ
2) บทบาทการสนับสนุนทางสังคมเพื่อสุขภาพ
3) บทบาทการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อสุขภาพ
ลักษณะการบริการ
1. ดำเนินการตามกฎหมายที่แต่งตั้งให้ข้าราชการสถานีอนามัย เป็นพนักงานเจ้า
หน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ในการตรวจสอบ
เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์อาหาร ณ สถานที่จำหน่าย โดยตรวจสอบฉลากและสารปนเปื้อนใน
ภารกิจเสริมบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 169
อาหาร เช่น บอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว และสารเร่งเนื้อแดง สารฆ่าแมลง สาร
ฟอร์มาลิน กรดน้ำมันอิสระ สีผสมอาหาร โคลิฟอร์ม กรด-ด่าง ความกระด้างในน้ำดื่ม
เป็นต้น
2. การตรวจร้านค้า ร้านชำ เพื่อเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้อง เช่น ยา
อาหาร วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ ฯลฯ
3. การเฝ้าระวังการกระจายยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่
รถเร่ รถฉายหนัง การขายตรง ฯลฯ
4. การตรวจเยี่ยมโรงเรียน เพื่อค้นหา และแก้ปัญหาด้านยา อาหาร และผลิตภัณฑ์
สุขภาพ ได้แก่ โรงอาหาร โรงครัว ยาในห้องปฐมพยาบาล สินค้าในสหกรณ์ น้ำดื่ม ฯลฯ
5. การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน พร้อมทั้งแนะนำให้ความรู้กับชุมชนและ
ชาวบ้าน ถึงวิธีการเก็บรักษาที่ถูกต้อง และบริโภคได้นาน การดูวันผลิต และวันหมดอายุ
การดูลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ รวมถึงอ่านฉลากโภชนาการได้ถูกต้อง เป็นต้น
6. การส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสมเพื่อการดูแลตนเองเบื้องต้น
6.1 การให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้เกิดการใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม
6.2 การตรวจสอบ เฝ้าระวังเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระจายยาที่ไม่ปลอดภัยใน
ร้านชำ รถเร่
6.3 ส่งเสริม สนับสนุนความเข้มแข็งของห้องยาชุมชน กองทุนยาหมู่บ้าน

7. การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ
7.1 การพัฒนาให้โรงงานผลิตอาหารในชุมชนให้มีมาตรฐานการผลิตที่ดี (GMP)
7.2 การพัฒนาให้สินค้าในชุมชนมีมาตรฐาน เช่น มาตรฐาน OTOP มาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
7.3 การพัฒนาเจ้าของร้านค้าเพื่อนำสินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน
มาจำหน่ายแก่ประชาชน
8. จัดทำรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ระบบการเชื่อมโยงการบริการกับหน่วยงานอื่นๆ
หมายเหตุ : การสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพ จากสถานที่จำหน่าย ทั้ง primary screenming test โดย
ใช้ชุดทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งในโรงพยาบาลของรัฐ และ
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต โดยประสานกับ สสอ. และ สสจ. ตามลำดับ
ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
สสจ.
สสจ.
รพท./รพศ.
รพช.
ชุมชนและ
เครือข่ายในชุมชน
Consumer
empowerment
ข้อมูล
เพื่อประเมิน
ความเสี่ยง
ข้อมูลเพื่อการบังคับใช้กฎหมาย
ปัญหาที่เกี่ยวกับการบริโภค/ผลิตภัณฑ์สุขภาพ(กรณีมีพนักงานเจ้าหน้าที่ใน อปท.)
รพ.สต.
อบต./เทศบาล
ภารกิจเสริมบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 171
การปรับพฤติกรรมสุขภาพ (การคุ้มครองผู้บริโภค)
หลักการและแนวคิดหลัก
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ยา อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายใน
บ้านเรือน และวัตถุเสพติด เป็นสิ่งที่ประชาชนบริโภคตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน การบริโภค
ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ บริโภคไม่ถูกต้องเหมาะสม ล้วนนำมาซึ่งความเจ็บป่วย และที่ร้าย
แรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต เช่น อาหารที่มีการปนเปื้อนสารห้ามใช้ หรือมีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิด
โรค เครื่องสำอางที่มีสารห้ามใช้ การใช้ยาผิดๆ ใช้ยาที่ไม่มีคุณภาพ มาตรฐาน ยาปลอม
การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดโรคตั้งแต่โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไต โรค
มะเร็ง โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอื่นๆ อีก
มากมาย
ขณะเดียวกันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเจริญก้าวหน้า ผู้บริโภคสามารถเข้าถึง
ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทางอินเตอร์เน็ต รวมทั้งการที่ข้อมูลวิ่งเข้าหาโดยผ่านทางอีเมล์ ทำให้
เกิดความเสี่ยงจากการได้รับยาที่ไม่มีทะเบียน ยาปลอม รวมถึงการบริโภคยาโดยไม่อยู่ใน
การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร นอกจากนี้ในชนบทยังพบมีการจำหน่ายยาชุด และยาลูก
กลอนที่มีการนำสเตียรอยด์มาผสม เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นยาที่ดี รักษาโรคได้หาย
ทันใจ ทำให้ประชาชนได้รับพิษภัยจากสเตียรอยด์
รวมถึงการการแข่งขันที่สูงในทางการค้า ทำให้มีการโฆษณาในลักษณะโอ้อวด เกิน
ความจริง หรือทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดในสาระสำคัญ ผลที่ตามมาคือเกิดการบริโภคที่ไม่
เหมาะสม ไม่จำเป็น และบางครั้งเกิดอันตรายจากการบริโภค เช่น คนที่มีปัญหาด้าน
สุขภาพต้องได้รับการรักษาดูแลอย่างต่อเนื่อง เมื่อหลงเชื่อการโฆษณาหันมาบริโภค
172 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ผลิตภัณฑ์ที่มีการโฆษณาแล้วละเลยวิธีการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้โรคมีความรุนแรงขึ้นจน
เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ปัญหาที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากการบริโภคทั้งสิ้น หากผู้บริโภค
ขาดความรู้เกี่ยวกับการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม ปลอดภัย ขาดความตระหนัก
ในสิทธิของผู้บริโภค ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนา
ศักยภาพของผู้บริโภคให้มีความรู้ สามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่าง
ถูกต้อง และสมประโยชน์ เกิดความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค และรู้จักปกป้องสิทธิ
ที่สำคัญการปลูกฝังเรื่องการบริโภคอย่างปลอดภัยตั้งแต่ยังเป็นนักเรียน เพื่อให้เป็นผู้
บริโภคที่ดีในอนาคต จะช่วยลดความเสี่ยงจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นได้ นั่นหมาย
ถึงการลดการเจ็บป่วยจากการบริโภค ลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลของประเทศ และ
เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน
ลักษณะของการบริการ
1. ปลูกฝังเรื่องการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างเหมาะสมและปลอดภัย ให้กับเด็ก
นักเรียนทุกๆ โรงเรียนในพื้นที่ที่ รพ.สต. ดูแลอยู่ มีกิจกรรม อย. น้อยที่เหมาะสมกับสถานที่
โดยให้เจ้าหน้าที่ รพ.สต. เข้าไปให้ความรู้ ความเข้าใจกับเด็กและครู รวมถึงให้ครูคอย
สอดส่องดูแลพฤติกรรมการบริโภคของเด็ก หากเห็นว่าเด็กมีการเลือกบริโภคไม่เหมาะสม
และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ต้องสอนให้เด็กเข้าใจถึงอันตรายดังกล่าว
2. ขยายเครือข่าย อย. น้อยในระดับหมู่บ้าน ให้มีศักยภาพในการร่วมกันสอดส่อง
ดูแลจัดการกับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐานในบ้านของตน และขยายไปยัง
หมู่บ้านของตน
ภารกิจเสริมบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 173
3. เมื่อมีผู้ป่วยมารักษา ณ รพ.สต. เจ้าหน้าที่ต้องให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ป่วย
เกี่ยวกับการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและถูกต้องด้วย เช่น ผู้ป่วยเป็นโรค
มะเร็ง จำเป็นต้องบอกถึงสาเหตุของการเป็นโรคมะเร็ง และสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งจะอยู่
ในอาหารประเภทใดบ้าง เช่น การกินอาหารทอด ต้องดูว่าพ่อค้า-แม่ค้า ใช้น้ำมันทอดซ้ำ
หรือไม่ เพราะในน้ำมันทอดซ้ำมีสารก่อมะเร็งอยู่ เป็นต้น
4. สร้างการมีส่วนร่วมกับบุคคลในท้องถิ่น เช่น อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือพระ
สงฆ์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ รพ.สต. ในการช่วยให้ความรู้ ความเข้าใจในการเลือกบริโภค
ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความปลอดภัย โดยมีการอบรมความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภค
ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความปลอดภัยและถูกต้องให้กับตัวแทนชุมชน เพื่อให้ตัวแทนเหล่านี้
ได้นำความรู้ที่ได้รับการอบรม ไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น วิทยุท้องถิ่น
แจกแผ่นพับความรู้ให้กับทุกครัวเรือน เป็นต้น
5. เผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ที่มาติดต่อ รสพต. โดยการจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งให้บริการความ
รู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้งนี้ อาจจัดเป็นรูปแบบของนิทรรศการ หรือบอร์ด หรือเผย
แพร่ผ่านโทรทัศน์วงจรปิด
174 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ระบบการเชื่อมโยงการบริการกับหน่วยงานอื่นๆ โดยการสร้างเครือข่ายกับ
บุคคลในท้องถิ่น
การให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย ถูกต้อง และสม
ประโยชน์ โดยผ่านเครื่อข่ายในท้องถิ่น เพื่อเครือข่ายเหล่านี้ได้นำความรู้ไปเผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ต่อไป เพื่อสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง
รพ.สต.
ภาคีเครือข่ายในชุมชน
เช่น โรงเรียน อบต. ผู้นำชุมชน
เทศบาล เป็นต้น
ภาคีเครือข่ายนอกชุมชน
เช่น สสอ. สสจ.
อย. เป็นต้น
ประชาชนในชุมชนทั้งเด็ก
ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
ภารกิจเสริมบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 175
ภาคผนวก
แนวคิดการทำงาน
ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
176 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
แนวคิดงานบริการเชิงรุก รพ.สต.
“รพ.สต.จะเป็นคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ควรได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมและ
เสมอภาค”
การทำงานเชิงรุก หมายถึง การทำงานที่มีการวางแผนงานเพื่อป้องกันปัญหาหรือลด
ความรุนแรงของปัญหา สามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ด้วยข้อมูลที่มีอยู่ และ
พร้อมตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มุ่งเน้นที่ความรู้ ทัศนคติ และ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในที่สุด ด้วยการใช้กลยุทธ์ เทคนิค องค์ความรู้และ
เทคโนโลยีต่างๆ อย่างเหมาะสม โดยไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (มิใช่เชิงรุกอดีตที่ปฏิบัติกัน
มา หรือเข้าใจตามความหมายเดิม ที่เข้าไปปฏิบัติงานในชุมชนเพียงอย่างเดียว)
การบริการสุขภาพ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ การบริการเชิงรับ และการบริการเชิงรุก
การบริการเชิงรับ หมายถึง การให้บริการซึ่งส่วนใหญ่เป็นการให้บริการเพื่อการซ่อม
สุขภาพ (รักษาพยาบาล) มากกว่าบริการเพื่อการสร้างสุขภาพ
การบริการเชิงรุก หมายถึง การช่วยให้ประชาชนพึ่งตนเองทางสุขภาพให้ได้ โดย
เป็นการบริการที่ต้องครอบคลุมทั้งเรื่องการสร้างสุขภาพและการซ่อมสุขภาพ (รักษา
ภาคผนวก 177
พยาบาล) มีภารกิจการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และอนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นการให้
บริการทั้งในและนอกสถานที่โดยคำนึงถึง
1. การดูแลแบบองค์รวม
2. การมีทีมสหวิชาชีพ และเครือข่ายสุขภาพ
3. การมีส่วนร่วมของชุมชน
4. การนำมาตรฐานวิชาชีพ มาสู่การปฏิบัติการพิทักษ์สิทธิ์และศักดิ์ศรีของผู้ให้และ
ผู้รับบริการ
ภาระหน้าที่หลักของรพ.สต. คือ การบริการเชิงรุก โดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบริการ
รพ.สต. มีหน้าที่ในการช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนเรียนรู้ และให้มีความสามารถใน
การดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน กลายเป็นระบบที่กลมกลืน
ไปกับวิถีชีวิตตามปกติของชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รพ.สต. ทำหน้าที่เป็นนักสร้าง
เสริมสุขภาพอย่างแท้จริง ที่มีทั้งมาตรฐานและจริยธรรมที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนและชุมชน
มากที่สุด
ชุดบริการเชิงรุก รพ.สต.
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 6 ปัจจัย คือ เพศศึกษา สุรา/เครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ บุหรี่/ยาสูบ อุบัติเหตุ การบริโภคอาหาร การสุขาภิบาลอาหาร การออกกำลังกาย
และสุขบัญญัติ
2 .การเฝ้าระวังโรค การสอบสวนโรค และภัยสุขภาพ
3. การวางแผน ค้นหา ประเมิน และติดตามความเสี่ยงด้านสุขภาวะประชาชนตาม
กลุ่มอายุโดยใช้หลักการ PDCA (Plan, Do, Check Act)
4. การอนามัยสิ่งแวดล้อม
5. การดูแลผู้ป่วยที่บ้านตามหลักการ HHC (Home Health Care) โดยการร่วมมือ
กับ อสม. และญาติ โดยทีมสหวิชาชีพ
178 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
6. การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุในระยะสุดท้ายของชีวิต (End of Life Care)
7. การดูแลประชาชนในพื้นที่ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
วิธีการให้บริการเชิงรุก
การบริการเชิงรุก อย่างน้อยควรประกอบด้วยการบริการ 5 รูปแบบ ได้แก่
1. การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และอนามัยสิ่งแวดล้อม
2. การคัดกรองสุขภาพและการรักษาที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่
3. บริการสุขภาพครอบครัวแบบองค์รวม
4. การมีส่วนร่วมของชุมชน
5. ทีมสุขภาพดูแลอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบการทำงานเชิงรุก ของ รพ.สต.
บริการเชิงรุกใน รพ.สต.
การจัดตั้งบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) เพื่อให้บริการแบบ
ครบวงจร ทั้งด้านการรักษา การส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคแบบองค์รวม โดยมีชุดให้
ความรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติ และการปฏิบัติให้เหมาะสมกับอาการป่วย ภาวะเสี่ยง และ
ภาวะสุขภาพ
จุดบริการดังกล่าว เช่น กรณีจัดเป็นห้อง ภายในห้องจะเป็นจุดรวมของบริการแบบ
เบ็ดเสร็จที่จัดไว้สำหรับทุกกลุ่มอายุ โดยอาจแบ่งกลุ่มต่างๆ ได้แก่ สตรีมีครรภ์ เด็ก 0-5 ปี
เด็ก 6-12 ปี วัยรุ่น วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือแบ่งเป็นงานต่างๆ ที่
สำคัญ เช่น งานให้คำปรึกษาทั่วไป งานสุขภาพจิต งานทันตกรรม งานป้องกันโรคไม่
ติดต่อ ที่จุดบริการจะเน้นการให้ความรู้ หรือสุขศึกษาเป็นหลัก ร่วมกับการตรวจสุขภาพ
เชิงรุก (ตรวจค้นหาโรค ก่อนเกิดโรค เพื่อหาภาวะเสี่ยง) หรือการคัดกรองสุขภาพโดยมี
ภาคผนวก 179
มาตรฐานว่า กลุ่มอายุใด ควรมีการตรวจสุขภาพเรื่องใดบ้าง (การบริการเชิงรุก รุกล้ำ
เข้าไปในความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก ของบุคคล เพื่อให้มีความรู้และทัศนคติที่
เหมาะสม นำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง) โดยมีแนวทางการดำเนินงานสุขศึกษา
ดังนี้
- มีมาตรฐานการให้ความรู้ หรือสุขศึกษาแยกตามกลุ่มอายุและงาน
- การวางแผนสุขศึกษา
- มีทีมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ (สหวิชาชีพ)
- การจัดกิจกรรมสุขศึกษา การเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านสุขภาพ เช่น มีการฉาย
วิดีทัศน์ โดยใช้สื่อความบันเทิงสอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวบ้าน เพื่อชักจูงใจให้เห็น
ความสำคัญของการสร้างสุขภาพ
- สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในการให้สุขศึกษา เช่น จัดมุมสุขภาพดี ซึ่งเป็นแนวทาง
การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพที่ใช้ระบบสื่อสารสุขภาพในการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมสุขภาพของประชาชน โดยจัดวางชุดสื่อประชาสัมพันธ์มุมสุขภาพดีใน
จุดบริการ เพื่อเป็นการปลูกฝังค่านิยมในการดูแลสุขภาพแก่ประชาชน ผลิตสื่อรูป
แบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วย บางประเทศใช้เป็นตู้คอมพิวเตอร์ (คล้ายตู้เล่น
เกมในห้างสรรพสินค้า) เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความสนใจ โดยดัดแปลงมา
จากการเล่นเกม เช่น ถามตอบปัญหา ทายภาพ (สื่อนิทรรศการเพื่อการสื่อสาร
สุขภาพ ตู้เรียนรู้ทางสุขภาพด้วยระบบสัมผัส ที่ใส่เอกสารแผ่นพับความรู้สุขภาพ)
โดยสรุปรูปแบบการบริการมีลักษณะดังนี้
1. รูปแบบบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว
2. มีการซักประวัติ และบันทึก โดยมีแบบบันทึกแยกตามกลุ่มอายุหรือตามลักษณะ
งานที่มาขอรับบริการ
180 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
3. มีมาตรฐานในการให้บริการแยกตามกลุ่ม เช่น เด็กต้องซักประวัติอะไรบ้าง ตรวจ
สุขภาพด้านใดบ้าง ความรู้ที่ให้เรื่องใดและให้ใครบ้าง วิธีการที่ให้ความรู้ เป็นต้น โดย
ประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการทราบเพื่อสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับมาพัฒนาบริการต่อไป (ติด
ป้าย ติดขั้นตอนรับบริการ) เช่น กลุ่มเด็ก มีการซักประวัติครอบคลุมและบันทึก ตรวจ
สุขภาพตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง พัฒนาการ สุขภาพช่องปาก
และให้ความรู้ผู้ปกครอง เป็นต้น
4. มีวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการให้ความรู้ การตรวจสุขภาพครบถ้วน โดยสัมพันธ์
กับมาตรฐานการบริการ เช่น
- แบบซักประวัติแบบบันทึกแยกตามกลุ่มอายุหรือตามลักษณะงานที่มาขอรับ
บริการ (อยู่ที่หน่วยงาน)
- สมุดบันทึกสุขภาพหรือรับบริการประจำตัว (อยู่ที่ผู้รับบริการ)
5. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ทางสุขภาพด้วยตนเอง โดยมีสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ภายในศูนย์แบ่งเป็นโซนต่างๆ ตามกลุ่มอายุหรืองาน โดยกำหนดมาตรฐานการส่งเสริมและ
ป้องกันโรคให้เหมาะสมจำแนกตามกลุ่มอายุหรือแต่ละงานว่าควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
จากการคาดการณ์สถานการณ์แนวโน้มในการเกิดโรคว่า ในกลุ่มอายุต่างๆ มีแนวโน้มที่จะมี
ภาวะเสี่ยงในเรื่องใดบ้าง และจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรค
- ห้องสมุด ค้นคว้าด้วยตนเองได้ บริการยืมคืนได้ มีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ
- มีเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น หนังสือ แผ่นพับ โปสเตอร์เพียงพอ
- คอมพิวเตอร์ และระบบอินเตอร์เน็ต เช่น ดัดแปลงเกมคอมพิวเตอร์มาใช้กับ
การดูแลสุขภาพ ซึ่งน่าสนใจและเกิดการเรียนรู้ การจำได้ดีกว่าโดยเฉพาะวัย
เด็ก วัยรุ่น หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพ
- สร้างแบบจำลองต่างๆ เช่น แบบจำลองฟัน แบบจำลองการตรวจเต้านม
แบบจำลองการตรวจมะเร็งปากมดลูก หรือห้องจำลองสถานการณ์จริง เช่น
การสอนการล้างมือ ผู้รับบริการสามารถปฏิบัติตามได้เลยเมื่ออยู่ในห้องนั้น
ภาคผนวก 181
6. โสตทัศนูปกรณ์
- ห้อง Sound Effect สำหรับงานบางอย่างที่ต้องใช้ระบบแสง เสียงที่ช่วย
กระตุ้นมโนธรรมสำนึก หรือปลุกจิตสำนึกสาธารณะ เช่น การป้องกันโรค
ระบาด อาจต้องใช้เทคนิคที่ทำให้เกิดความหวาดกลัวในกลุ่มเด็ก การใช้
ดนตรีเพื่อบำบัดสุขภาพจิต การใช้ดนตรีกับการสตรีตั้งครรภ์ เป็นต้น
- สื่อทางด้านโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ วิดีทัศน์ โทรทัศน์ เครื่องเล่น VCD/DVD
คอมพิวเตอร์ มีการผลิตสื่อตามความเหมาะสม เช่น สื่อการสอนด้วย
Powerpoint เครื่อง Visualizer Projector
7. สถานที่หรือห้องจัดประชุม อบรม ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และทรัพยากร
8. มีสถานที่ให้คำปรึกษาแบบส่วนบุคคลและรายกลุ่ม
9. มีระบบการติดตามผลเฝ้าระวังทางสุขภาพ
บริการเชิงรุกในชุมชน
แนวคิดการจัดบริการเชิงรุกในชุมชน
1. ภารกิจการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับชุมชน ประกอบด้วยบริการ
การตรวจคัดกรองสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน การเจ็บป่วย 3 ประการ
ได้แก่
(1) บริการการสัมภาษณ์ประวัติ และประเมินพฤติกรรมสุขภาพ การตรวจร่างกาย
และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
(2) บริการการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน การใช้ยา และการทำหัตถการเพื่อป้องกันการ
เจ็บป่วย
(3) บริการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการให้การปรึกษาแนะนำ และการให้
ความรู้
182 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
2. การดูแลผู้ป่วยที่บ้านและชุมชน ตามหลักการ (Home Health Care : HHC)
ประกอบไปด้วยกิจกรรมการให้บริการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมกับบริบท การฟื้นฟูสภาพ
การป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้เจ็บป่วยที่บ้านแบบองค์รวม ร่วมกับการดำเนิน
งานสาธารณสุขมูลฐาน อันจะทำให้เกิดผลลัพธ์ในการดูแลสุขภาพตนเอง สมาชิกใน
ครอบครัวและชุมชนได้ มีทีมสุขภาพที่รับผิดชอบให้การบริการที่มีความเข้มข้น ความต่อเนื่อง
ความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และการร่วมมือกับญาติ โดยมี อสม. เป็นผู้ประสานงานกับ
ทีมสุขภาพ จัดระบบช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างทีมสุขภาพ อสม. ญาติ และ
ผู้ป่วย ที่สะดวกเชื่อมโยงกับระบบการส่งต่อ - รับกลับ
3. การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะสุดท้ายของชีวิต (End of Life Care) รพ.สต.โดย
ทีมสุขภาพรับผิดชอบ มีหน้าที่ในการให้คำแนะนำ การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะสุดท้าย
ของชีวิตแก่ผู้ป่วยและญาติ ซึ่งต้องกำหนดช่องทางสื่อสารได้โดยตรงและสะดวก
4. การมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน กลุ่มเครือข่ายสุขภาพ และ อปท. ทีมสุขภาพ
รพ.สต. มีการดำเนินภารกิจเชิงรุกที่ต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ใช้หลักการ PDCA ในการ
ดำเนินงาน แต่ละหมู่บ้าน/ชุมชนมีเครือข่ายสุขภาพรับผิดชอบอย่างชัดเจน สามารถเข้าถึง
ข้อมูล มีระบบการสื่อสารที่สะดวก
การเตรียมคนรองรับนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนั้น ก่อนอื่นต้อง
ทำความเข้าใจให้ชัดแจ้งกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชนทุกระดับ ให้
รับทราบรับรู้ร่วมกัน แสดงความคิดเห็น เข้าใจอย่างชัดแจ้งถึงเหตุและผล โดยการนำเสนอ
ข้อมูลที่เป็นธรรม จากค่าใช้จ่ายที่ประชาชนและรัฐต้องสูญเสียไป ทั้งตัวเลขแฝง และตัวเลข
ที่เห็นเด่นชัด เพราะเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องเข้าใจ เพื่อพร้อมที่จะเป็นประชาสัมพันธ์ให้กับ
นโยบายโครงการนี้เป็นอย่างดี

ภาคผนวก 183
การทำความเข้าใจทุกระดับต้องมิใช่การแจ้งเพื่อทราบ แต่เป็นกระบวนการสร้างให้
เกิดการทำงานเป็นทีม (ภายในองค์กร) แล้วดำเนินการจัดตั้งทีมการทำงานของสาธารณสุข
ซึ่งร่วมด้วยบุคลากรจากทุกฝ่ายอย่างสมัครใจที่จะทำงานเชิงรุก (เวลาราษฎร) เป็นทีมงานที่
ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เข้าใจบทบาทของบริการปฐมภูมิเป็นอย่างดี แบ่งบทบาทการ
ทำงานเพื่อดำเนินการนำเสนอเรื่องราวหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการโรงพยาบาลสร้าง
เสริมสุขภาพตำบล
หลังจากนั้น นำเสนอข้อมูลกับกลุ่มผู้นำชุมชน ทั้งในระบบราชการและนอกระบบ
ราชการ ในการประชุมระดับอำเภอและตำบล เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของ รพ.สต.
สร้างการทำงานเป็นทีม ซึ่งสิ่งที่ได้จากการนำเสนอข้อมูล จะนำไปสู่การจัดตั้งคณะ
กรรมการหรือทีมงานในส่วนของผู้นำภาคต่างๆ เพื่อมาร่วมกันจัดทำแผน ออกประชาคมใน
ระดับตำบลและหมู่บ้าน พร้อมกับแบ่งบทบาทในการออกประชาคม กำหนดการปฏิบัติงาน
อย่างครบถ้วน
อีกทั้งต้องจัดประชุม อสม. ทุกคนในแต่ละตำบล ซักซ้อมความเข้าใจอย่างถี่ถ้วน ถึง
ความสำคัญของโครงการและบทบาทของ อสม.ในการทำประชาคม และเป็นตัวหลักในการ
ประชาสัมพันธ์กับประชาชนในระดับหนึ่งได้เป็นอย่างดี ดังนั้นส่วนใหญ่เวลาที่ใช้ในการ
ประชุม อาจจำเป็นต้องใช้เวลาราษฎร แล้วแต่ความเหมาะสม นั่นหมายถึง ความเสียสละ
ความทุ่มเทของคณะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับในอำเภอนั้นๆ เพื่อให้ผู้นำชุมชน อสม.
มีความเข้าใจถี่ถ้วน ทั้งในแนวคิดของ รพ.สต. วิธีการทำงาน ความแตกต่างจากสถานี
อนามัยและประโยชน์ที่จะได้รับ และสิ่งที่ประชาชนต้องเปลี่ยนแปลงคือ กระบวนทัศน์ด้าน
สุขภาพ การดูแลสุขภาพให้เกิดความเป็นเจ้าของระบบสุขภาพ โดยต้องเข้ามามีส่วนร่วมถึง
การบริหารจัดการ ซึ่งเป็นการปฏิรูประบบสุขภาพ นำมาซึ่งการปฏิรูปราชการในตำบลและ
อำเภอ เพื่อนำไปสู่การทำความเข้าใจในระดับหมู่บ้านต่อไป

วิธีการกำหนดการทำงานในแต่ละหมู่บ้าน นอกจากการใช้เวลาราษฎรในการทำ
ประชาคมแล้ว จะต้องเตรียมสื่อที่น่าสนใจ โดยใช้ข้อมูลที่ใกล้ตัวชาวบ้าน อีกทั้งต้องเน้น
ข้อมูลระดับอำเภอและประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลค่าใช้จ่ายที่ประชาชนและรัฐต้องสูญเสียไปใน
การเดินทาง หยุดงาน หรือค่าใช้จ่ายของการรักษาพยาบาล ต้นทุนต่อหน่วย ปัญหาระบบ
ต่างๆ
เจ้าหน้าที่และคณะทำงานร่วมภาคประชาชน ต้องแบ่งบทบาทกันทำงานอย่างเป็นทีม
ในการดำเนินการประชาคม มีความเข้าใจในกระบวนการประชาคมทุกขั้นตอน และการ
ประชาคมต้องมิใช่การแจ้งเพื่อทราบ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาพอสมควรในแต่ละหมู่บ้าน จน
ครบทุกตำบล ซึ่งสิ่งที่ตามมา คือมาตรการทางสังคมจะเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การกำหนด
เวลาการทำงานของ รพ.สต. ขั้นตอนการบริการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
กำหนดการสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งทำให้เกิดสัญญาประชาคม และ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องนำไปดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพราะเป็นความ
ต้องการของประชาชนซึ่งสะท้อนจากเวทีสาธารณะ สร้างให้เกิดคณะกรรมการ รพ.สต.
ภาคประชาชน และกำหนดวาระของการทำงานของคณะกรรมการ นำไปสู่การเข้าร่วมของ
คณะกรรมการอย่างมีเกียรติ โดยมาจากการคัดเลือกของประชาชนในเวทีประชาคม ซึ่ง
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำ
เมื่อได้คณะกรรมการรายหมู่บ้านครบถ้วนแล้ว ต้องประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่เพื่อ
ร่วมคัดเลือกคณะกรรมการบริหารงานตามจำนวนที่ได้ตกลงในการประชุม แต่ต้อง
ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ทุกกลุ่มตำแหน่ง โดยผู้อำนวยการ รพ.สต. และปลัดองค์การบริหาร
ส่วนตำบล เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ แจ้งกำหนดแผนการทำงานตลอดปี พร้อม
ทั้งบทบาทในรายละเอียดอย่างชัดเจน สร้างให้การทำงานร่วมกันอย่างเป็นทีม นำไปสู่การ
ปฏิรูประบบการทำงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น
ข้อมูลการเงิน ข้อมูลบุคลากรหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ รพ.สต.
ภาคผนวก 185
ในการประชาคมนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเพื่อนำเสนอข้อมูล
เพราะจะทำให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานเชิงรุกอย่างเป็นระบบ ประชาชนจะได้ร่วมวิเคราะห์
ข้อมูลต่างๆ ที่เป็นทั้งปัญหา และแนวทางแก้ไขอย่างชัดเจน อีกทั้งสร้างความสัมพันธ์ในเชิง
คุณภาพ ลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับประชาชน
ในอำเภอหล่มสักได้ใช้ความสัมพันธ์นี้ นำไปสู่สัมพันธ์ภาพอย่างแน่นแฟ้น สามารถ
แก้ไขปัญหาการฟ้องร้องทางคดีของแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขได้อย่างเป็นรูปธรรม
เป็นการสร้างให้เกิดประชาคมเข้มแข็งได้เป็นอย่างดี
กล่าวโดยสรุป การทำงานกับชุมชน ต้องใช้ยุทธศาสตร์ เสียสละ ทุ่มเท เข้าใจ เข้าถึง
พึงพอใจ ร่วมแก้ไขปัญหา เป็นหนึ่งเดียว เป็นเจ้าของร่วมกันอย่างชัดเจน ส่วนในการ
ทำงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ใช้ “กิจเขา คือกิจเรา” คือต้องรู้ภารกิจของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รู้จักคน (อปท.ในแต่ละหมู่บ้าน) สร้างสัมพันธภาพ นำเสนอ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง รู้ระบบการทำงาน การนำเสนอโครงการ
เพื่อการสนับสนุนงบประมาณในแต่ละช่วงปี ซึ่งต้องเกิดจากแผนซึ่งได้มาจากการประชาคม


แนวคิดการเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลแม่ข่าย
รพช.
One Stop Service
รพ.สต.
รพ.สต.
รพ.สต.
รพ.สต.
รพ.ต.
รพ.ต.
ระบบ EMS.
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT
1. โรงพยาบาลเชื่อมโยงการสื่อสารจากจุดบริการ ให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ (ทั้งด้าน
hardware, software ระบบเชื่อมต่อ และบุคลากร) เกิดขึ้นเป็น one stop service ใน
งานบริการ ทั้งประชาชนผู้มาที่มาโดยตรง หรือที่ติดต่อทาง Internet แบบ “ภาพและเสียง”
ซึ่งจะทำให้เกิดผล ดังนี้
• การให้คำปรึกษาระหว่างแพทย์กับผู้ให้บริการระดับ รพ.สต.
• การส่งต่อผู้ป่วยผ่านระบบพิเศษ ทำให้ประชาชนจะไปรับการรักษาที่ รพ.สต. ก่อน
หากจำเป็นจะต้องส่งต่อผู้ป่วย ก็จะมีบริการส่งต่อผ่านช่องทางพิเศษที่ให้บริการ
รวดเร็วกว่าที่จะไปรอรับบริการที่โรงพยาบาลแม่ข่าย
ภาคผนวก 187
• หากจะต้องส่งต่อไปยังหน่วยที่สูงกว่าโรงพยาบาลแม่ข่าย ก็สามารถทำได้ที่
รพ.สต.
• สามารถส่งต่อผู้ป่วยทั้งไปและกลับ รวมถึงข้อมูลต่างๆ เช่น เมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน
และต้องการดูแลรักษาต่อที่บ้าน แพทย์ก็จะให้ข้อมูล รวมถึงบริการที่ผู้ป่วย
ต้องการดูแลต่อเช่น ทำความสะอาดแผล หรือการกายภาพบำบัด
• สามารถติดต่อสื่อสารในเรื่องอื่นๆ เช่น การตรวจสอบคลังยาและสั่งยาผ่านการ
สื่อสารนี้ ซึ่งฝ่ายเภสัชจะนำยาไปส่งทุก 2 สัปดาห์
• ปัจจุบันข้อมูลของห้องปฏิบัติการ หรือภาพถ่ายรังสี สามารถส่งทางอิเล็กทรอนิกส์
ได้ ทำให้สามารถดำเนินการร่วมกับโรงพยาบาลแม่ข่าย หรือส่งต่อไปยัง
โรงพยาบาลศูนย์ ซึ่งถ้าบริหารจัดการแบบเป็นระบบ จะได้รับการยอมรับทั้งจาก
ต้นทางและปลายทาง จะเกิดประโยชน์มาก
2. พัฒนาระบบปฏิบัติการของทั้ง รพ.สต. และโรงพยาบาลแม่ข่ายให้สามารถส่ง/รับ
ข้อมูลผู้ป่วยได้ ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนการทำงานจากข้อมูลเชิงประจักษ์ เช่น การเชื่อมโยง
ข้อมูลผู้ป่วยด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographical Information System : GIS)
ทำให้สามารถวางแผนการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวคิดการบริการอย่างต่อเนื่อง
และสามารถให้คำปรึกษากับผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง
“บริการอย่างต่อเนื่อง และสามารถให้คำปรึกษากับผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง โดย
สามารถปรึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลพี่เลี้ยง หรือส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลา ทั้งนี้อาจมี
บริการเตียงนอนเพื่อสังเกตอาการโดยไม่รับผู้ป่วยไว้นอนค้างคืน และหากมีกรณีฉุกเฉิน ก็มี
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในการออกไปรับผู้ป่วยและให้การปฐมพยาบาลก่อนส่งต่อ”
188 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ความสำคัญ
การบริการดูแลต่อเนื่อง เป็นคุณลักษณะสำคัญในบริการปฐมภูมิ (โรงพยาบาลส่ง
เสริมสุขภาพตำบล) จำเป็นมีข้อมูลพื้นฐาน บุคคล ครอบครัว ความเจ็บป่วยปัจจุบัน ความ
เจ็บป่วยในอดีต สามารถประสานบริการระหว่างโรงพยาบาลกับหน่วยบริการปฐมภูมิให้
สามารถเชื่อมโยงข้อมูล มีข้อมูลเพียงพอที่ใช้ในการดูแล หรือสามารถวางแผนดูแลร่วมกันได้
กรณีที่ประชาชนไม่มั่นใจ หรือไม่แน่ใจในปัญหาสุขภาพของตนเองและคนใน
ครอบครัว สามารถขอคำปรึกษากับ รพ.สต.ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น
โทรศัพท์ตรง ผ่านศูนย์รับปรึกษา เพื่อลดการเดินทางมารับบริการที่ไม่จำเป็น สร้างความ
มั่นใจในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น คัดแยกภาวะร้ายแรงทางสุขภาพ เช่น ไข้ในเด็กเล็ก การ
ใช้ยา (ลืมกินยา กินยาไม่ถูก ภาวะฉุกเฉินเบื้องต้น) ในบางพื้นที่มีความพร้อม มีการแจ้ง
เบอร์โทรศัพท์ของหน่วยบริการปฐมภูมิ และของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบประชากร
ในหมู่บ้านเพื่อให้บริการคำปรึกษาเรื่องสุขภาพ
ในกรณีผู้ป่วยที่หน่วยบริการปฐมภูมิไม่มั่นใจ สงสัยในการวินิจฉัย การให้การดูแล
รักษา มีระบบการให้คำปรึกษาของผู้ให้บริการกับทีมสุขภาพของโรงพยาบาลแม่ข่าย (แพทย์
และทีมสหสาขา) ผ่านกิจกรรมที่สำคัญ เช่น กำหนดทีมรับผิดชอบของโรงพยาบาล ในการ
วางแนวทางพัฒนาคน เป็นที่ปรึกษา ให้เบอร์โทรศัพท์ของทีมที่ปรึกษาของโรงพยาบาลที่
รับผิดชอบ รพ.สต. การเชื่อมต่อระบบปรึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปรึกษา
ทางไกล
ในบางกรณีต้องมีการสังเกตอาการ หรือให้บริการรักษาเบื้องต้น (การให้ยา
สารละลายทางเส้นเลือด) โดยมีเตียงสังเกตอาการในช่วงเวลาทำการ เมื่อมีการประเมิน
สภาวะผู้ป่วยดีขึ้น ให้กลับบ้านหรือส่งต่อไปรับบริการที่โรงพยาบาลต่อไป จะไม่รับผู้ป่วย
ภาคผนวก 189
ดูแลแบบหอผู้ป่วยใน 24 ชั่วโมงเช่นเดียวกับโรงพยาบาลแม่ข่าย
มีบริการฉุกเฉิน ภายหลังได้รับการรักษาภาวะฉุกเฉินในหน่วยบริการปฐมภูมิแล้ว หรือ
ภายหลังจากที่โทรศัพท์ขอคำปรึกษา และต้องมีการส่งต่อเพื่อไปรับการรักษาในโรงพยาบาล
จะมีการเชื่อมโยงกับระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่ดำเนินการโดย อปท.และของโรงพยาบาลที่
ใกล้เคียง
ในบางพื้นที่บริการ หากมีผู้รับบริการจำนวนมากที่ไม่สะดวกมารับบริการในเวลา
ราชการ เนื่องจากเป็นเวลาทำงาน หน่วยบริการปฐมภูมิสามารถสร้างการเข้าถึงบริการ ด้วย
190 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
การเปิดบริการนอกเวลาช่วงเย็น (16.00 -20.00 น.) และหรือในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์
แนวทาง/กิจกรรมสำคัญ ระดับการพัฒนา
ไม่มี กำลัง ดำเนินการ
ดำเนินการ แล้ว
ระดับ รพ.สต.
- กำหนดบุคคลรับผิดชอบพื้นที่ให้คำปรึกษาสุขภาพ
- การส่งต่อมีระบบส่งต่อข้อมูลที่เพียงพอ
- ประชาชนมีช่องทางปรึกษาเจ้าหน้าที่ได้สะดวก
- บริการนอกเวลาทำงานและในช่วงวันหยุด
(สำหรับพื้นที่ที่มีความจำเป็น)
- มีระบบประสานกับหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
ในระดับตำบลและอำเภอ
- มีเตียงรับสังเกตอาการในหน่วยบริการ
ระดับ CUP
- รพ.กำหนดทีมแพทย์และทีมสุขภาพในการ
ให้คำปรึกษาเฉพาะในระดับพื้นที่รายสอ.
- จัดโปรแกรมในการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สอ.
ในการดูแลรักษาโรคเรื้อรัง ปัญหาที่พบบ่อย และการใช้ยา
- รพ.มีศูนย์รับส่งต่อที่มีผู้รับผิดชอบเฉพาะ
สามารถลดปัญหาในการส่งต่อได้
- มีการกำหนดแนวทางคู่มือดูแลรายโรคที่สำคัญ
ร่วมกับ รพ.สต.

ภาคผนวก 191
แนวทางการพัฒนาระบบบริการของ รพ.สต.
รูปแบบการแก้ปัญหาสุขภาพตามบริบทของพื้นที่ที่แตกต่างกัน
รพ.สต.อาจจะมีการปรับเปลี่ยนบทบาทในการจัดการปัญหา ตามบริบทของพื้นที่และ
สภาพปัญหา เช่น
1. พื้นที่อุตสาหกรรม ต้องมีการประเมินสภาพแวดล้อมในที่ทำงานและผลกระทบจาก
อุตสาหกรรมต่อสิ่งแวดล้อม ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านอุตสาหกรรม เฝ้าระวังเสี่ยง
จากสารเคมีที่นำเข้าและที่เกิดจากการผลิต สร้างการมีส่วนร่วมของเจ้าของกิจการและคน
งาน เจ้าหน้าที่ต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
2. พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ต้องมีการประเมินโรคและภัยที่มาจากนักท่องเที่ยว และกลุ่ม
แรงงานที่อพยพเข้ามาในพื้นที่ (โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เอดส์ และกามโรค) มีการประสาน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การท่องเที่ยว แรงงานจังหวัด เฝ้าระวังสถานการณ์ การสร้างการมี
ส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคของสถานบริการ
3. พื้นที่กันดารลำบาก (ภูเขาสูง เกาะ) มีความจำเป็นต้องสร้างการเข้าถึงบริการโดย
ใช้ช่องทางต่างๆ เช่น การออกหน่วยบริการเชิงรุกในพื้นที่ (รักษา ส่งเสริม ป้องกัน) การ
สร้างหน่วยบริการขนาดเล็กที่ใช้คนในพื้นที่ให้บริการ (สถานบริการสาธารณสุขชุมชน :
สสช. ให้ทุนนักเรียนในชุมชน แล้วกลับไปทำงานในพื้นที่) การสร้างช่องทางการให้คำปรึกษา
ในพื้นที่ผ่าน วิทยุ โทรศัพท์ อินเทอร์เนต
หน่วยบริการปฐมภูมิ หมายความว่า สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ
ปฐมภูมิในเครือข่ายของหน่วยบริการประจำ ซึ่งสามารถจัดบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ
ด้านเวชกรรม หรือทันตกรรมขั้นพื้นฐานได้อย่างเป็นองค์รวม ทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ การ
ป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยผู้มีสิทธิ
ของหน่วยบริการประจำดังกล่าวสามารถใช้บริการสาธารณสุข ณ หน่วยบริการปฐมภูมิใน
เครือข่ายได้ ทั้งนี้หน่วยบริการปฐมภูมิมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากหน่วย
บริการประจำหรือจากกองทุนตามที่คณะกรรมการกำหนด
นิยามศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) กระทรวงสาธารณสุข 2
“เป็นหน่วยบริการระดับปฐมภูมิทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่มีหน้าที่และ
ความรับผิดชอบจัดบริการตอบสนองต่อความจำเป็นทางด้านสุขภาพของประชาชนขั้น
พื้นฐาน มีความเชื่อมโยง ต่อเนื่องของกิจกรรมด้านสุขภาพในลักษณะองค์รวม บูรณาการ
ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก และมีระบบการให้คำปรึกษาและส่งต่อ ทั้งนี้เพื่อการ
สร้างสุขภาพการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนเพื่อป้องกันหรือลดปัญหาที่ป้องกันได้ทั้ง
ทางกาย จิต สังคม โดยประชาชนมีส่วนร่วม”
ความหมาย “หน่วยบริการปฐมภูมิ”
ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 1
1 ข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักการ วิธีการ และเงื่อนไข การขึ้น
ทะเบียนเป็นหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ พ.ศ.2547
2 คู่มือมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน กระทรวงสาธารณสุข
ความเชื่อมโยง ความหมายของ ระบบบริการปฐมภูมิ บริการปฐมภูมิ
สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข และ PCU 3
คำเหล่านี้มีส่วนที่เหมือนกัน คือ เกี่ยวข้องการจัดบริการปฐมภูมิเหมือนกัน มีส่วนต่าง
คือ
คำว่า “บริการปฐมภูมิ” หมายถึง ส่วนที่เป็น “บริการ” อันเป็นกระบวนการที่ทำให้
แก่กลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะเอกลักษณ์ตามคำจำกัดความ
ส่วน “ระบบบริการปฐมภูมิ” หมายถึง ส่วนที่เป็น “ระบบ” อันเป็นการจัดการให้เกิด
กระบวนการบริการปฐมภูมิ ซึ่งผู้ให้บริการนี้มิใช่หมายรวมเฉพาะเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่
ครอบคลุมไปถึงการดูแลโดยประชาชน หรือท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ด้วย
หน่วยบริการปฐมภูมิ หมายถึง “หน่วยงาน” องค์กรหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ให้บริการปฐมภูมิ
ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานในสังกัดใดก็ได้
PCU (Primary Care Unit) หรือ หน่วยบริการปฐมภูมิ เป็นชื่อทั่วไป ที่ใช้เรียกองค์กร
หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการปฐมภูมิได้ตามคำจำกัดความ จะเป็นหน่วยงานในสังกัด
ใดก็ได้ เป็นรัฐหรือเอกชนก็ได้ ถ้าสามารถทำหน้าที่ได้ตามที่กำหนด
แต่เนื่องจาก คำว่า “PCU” เกิดขึ้นใหม่ในระหว่างที่มีการพัฒนาระบบหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ คำนี้ ที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “หน่วยบริการปฐมภูมิ” จึงได้ถูกกำหนดใน
ตอนหลังว่า เป็นหน่วยงานจำเพาะที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดที่กำหนดโดยคณะกรรมการ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
3 พัฒนาการแนวคิด หลักการพัฒนาบริการปฐมภูมิ พ.ศ.2548
ส่วน “สถานีอนามัย” ถือว่าเป็นหน่วยงานเฉพาะในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ทำ
หน้าที่ให้บริการปฐมภูมิ ในลักษณะเดียวกับพีซียู หรือ หน่วยบริการปฐมภูมิ ตามที่กล่าว
ข้างต้น “ศูนย์บริการสาธารณสุข” หรือ “คลินิกเอกชน” ก็ถือว่าเป็นชื่อเฉพาะของหน่วยงาน
ที่มีบทบาทในการให้บริการปฐมภูมิบางส่วนเช่นเดียวกัน แต่อาจไม่ครอบคลุมเหมือนกับ
หน่วยบริการปฐมภูมิ
คำว่า “ศูนย์สุขภาพชุมชน” ถือเป็นคำใหม่ ที่กำหนดขึ้นมาใช้แทนคำว่าพีซียู ที่มี
คุณสมบัติตามมาตรฐานที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด แต่ไม่ได้แปลว่าตั้ง
ศูนย์สุขภาพชุมชนแล้ว จะยุบสถานีอนามัย หรือ ล้มเลิกสถานีอนามัยไป เป็นการใช้คำตาม
วาระโอกาสเป็นสำคัญ มิได้แปลว่ายุบเลิกของเดิม
ทั้งนี้ คุณลักษณะสำคัญของระบบบริการปฐมภูมิ มี 3 กลุ่มหลัก คือ
1) บริการองค์รวม
2) การส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค
3) สนับสนุนการพึ่งตนเองของประชาชน
หน่วยบริการประจำ กับ CUP มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร
ความหมายเหมือนกันคือ แต่เดิมนั้นในประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2544 ใช้
คำว่า คู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ (Contracting Unit for Primary care :
CUP) ต่อมาเมื่อมีข้อบังคับสปสช.ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเป็น
หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ พ.ศ.2547 มีการกำหนดประเภทให้สอดคล้องกับ
พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงเรียกคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิว่า
หน่วยบริการประจำ
“หน่วยบริการประจำ” (ตามข้อบังคับ สปสช.) หมายความว่า สถานบริการหรือกลุ่ม
สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการประจำ ซึ่งสามารถจัดบริการสาธารณสุขระดับ
ปฐมภูมิที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตได้อย่างเป็นองค์รวม ทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ
การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยต้อง
ให้บริการด้านเวชกรรมด้วยตนเอง และมีเครือข่ายหน่วยบริการเพื่อการส่งต่อผู้รับบริการไป
รับการบริการสาธารณสุขในกรณีที่เกินขีดความสามารถ ซึ่งผู้มีสิทธิสามารถเลือกลงทะเบียน
เป็นหน่วยบริการประจำของตน ทั้งนี้หน่วยบริการประจำมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ
สาธารณสุขในลักษณะเหมาจ่ายรายหัวและค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขอื่นจากกองทุน
ตามที่คณะกรรมการกำหนด
ศูนย์แพทย์ชุมชน (Community Medical Unit) หรือเรียกง่ายๆ ว่า CMU เป็น
รูปแบบหนึ่งของหน่วยบริการปฐมภูมิ ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้การปฏิรูประบบ
บริการสาธารณสุขสู่สภาพที่พึงประสงค์ นั่นคือ เป็นระบบบริการสุขภาพที่ ใกล้บ้าน ใกล้ใจ
ประชาชนเข้าถึงง่าย สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย และบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
“ศูนย์แพทย์ชุมชน จริงๆ แล้วก็คือศูนย์สุขภาพชุมชนที่มีแพทย์ประจำ เพื่อให้การดูแล
สุขภาพประชาชนเป็นไปอย่างเป็นองค์รวม ต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้
กับหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไม่มีแพทย์ในเครือข่ายรอบๆ

คู่มือ รพ สต 19 ภารกิจเสริม

ภาระกิจเสริม
ของโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล
160 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
ข้อมูลเบื้องต้น
บทบาทหน้าที่ของ รพ.สต. ในส่วนที่อยู่ในขอบข่ายของวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้น
แบ่งได้เป็น 2 ด้านคือ ด้านการป้องกันการเกิดโรคและการรักษาโรค
การป้องกันโรคนั้น ทำได้ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ การเฝ้าระวังคุณภาพของผลิตภัณฑ์
สุขภาพ ได้แก่ อาหาร ยา เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย ซึ่งส่งผลต่อการเกิดโรคหลายชนิด
รวมทั้งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รูปแบบที่ 2 คือ การป้องกันโรคโดยโครงการตรวจค้นหา
ผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงเบื้องต้น เพื่อแก้ไขปัญหาและป้องกันโรค
ในส่วนของการรักษาหรือตรวจหาโรคในเบื้องต้นก็เป็นบทบาทหน้าที่ของ รพ.สต. ที่
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถเข้าไปสนับสนุนได้ทางห้องปฏิบัติการ
แนวคิดของ รพ.สต.ทางห้องปฏิบัติการ
รพ.สต. ในลักษณะทั่วไป ไม่ควรมีห้องปฏิบัติที่มีเครื่องไม้เครื่องมือพิเศษในการตรวจ
วิเคราะห์ ยกเว้น รพ.สต. ขนาดใหญ่ (ซึ่งถือว่าเป็นกรณียกเว้นเฉพาะราย) แต่อาจจะมีการ
ให้บริการตรวจวิเคราะห์/ตรวจวินิจฉัย โดยใช้ชุดทดสอบ ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจคัดกรอง
ภารกิจเสริมบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 161
นอกจากนี้ ควรวางระบบการส่งต่อตัวอย่างกรณีที่การทดสอบต้องใช้ห้องปฏิบัติการและ
การตรวจยืนยันตามความจำเป็น
กรอบการทำงาน
1. การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
1.1 การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพ หมายถึง การเฝ้าระวังคุณภาพ และ
ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ โดยใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย โดยมีวัตถุประสงค์
- เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ตามขอบข่ายงานของสำนักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา
- เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหาและให้ผู้ผลิตพัฒนาคุณภาพของ
ผลิตภัณฑ์ต่อไป
- เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในกลุ่มต่างๆ ตามความเหมาะสม เพื่อให้สามารถ
เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้ถูกต้อง
1.2 วิธีการให้บริการ
1.2.1 ใช้ชุดทดสอบเป็นเครื่องมือในการค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ดีและมีปัญหา
1.2.2 การดำเนินการทำได้หลายรูปแบบ
- รพ.สต. ดำเนินการเองโดยดึงเอา อปท. เข้ามามีส่วนร่วมในการ
วางแผน
- ให้ อปท. ไปดำเนินการโดย รพ.สต. เป็นผู้ร่วมวางแผนและดำเนิน
การให้ข้อมูลทางวิชาการ
- รูปแบบอื่นๆ ตามความเหมาะสมของพื้นที่ และสังคมนั้นๆ
1.2.3 วิธีการจัดการภายใน
- ความเชื่อมโยงกับ สสจ. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ กรณีต้องการ
การสนับสนุนทางวิชาการหรือการดำเนินการตามกฎหมาย
162 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
- การให้ความรู้และประชาสัมพันธ์
- ขั้นตอนการดำเนินการ
รูปแบบโดยทั่วไปของการดำเนินการด้านนี้เป็นไปตาม Flow chart 1
ขั้นตอนที่ 1 การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะตรวจวิเคราะห์ให้ดำเนินการร่วมกับท้องถิ่น
โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นปัญหา ผลิตภัณฑ์เป็นผลผลิตของพื้นที่ หรือนำเข้าหรือผลิตภัณฑ์
ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ขั้นตอนที่ 2 และ 3 การดำเนินการตรวจวิเคราะห์อาจจะทำได้หลายรูปแบบโดย
เป็นการทำงานร่วมกับท้องถิ่น
ขั้นตอนที่ 4 และ 5 หากผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและปลอดภัย ได้มีการประชาสัมพันธ์ได้
ผลเชิงบวก เช่น การแจกป้าย
ขั้นตอนที่ 6 และ 7 หากผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัย จะต้องมีการแจ้งผู้ผลิตหรือผู้
จำหน่าย เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น หรือมีการเลือกจำหน่ายแก่ผลิตภัณฑ์ที่มี
คุณภาพดีขึ้น หรือมีการเลือกจำหน่าย แต่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี ทั้งนี้ต้องดำเนินร่วมกับ
ท้องถิ่นเสมอ
ขั้นตอนที่ 8 และ 9 เมื่อมีการพัฒนาแล้วต้องมีการตรวจซ้ำว่าปลอดภัยแล้วหรือไม่
หากปลอดภัยแล้วก็ ดำเนินการตามขั้นตอน 5 ต่อไป
ขั้นตอน 10 11 และ 12 หากผลิตภัณฑ์ไม่ปลอดภัยสามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ
คือ พัฒนาต่อไปอีก (ขั้นตอน 7) หรืออาจจะต้องประสานกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์
(ศวก.) เพื่อตรวจยืนยัน หรือ สสจ. เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย
ภารกิจเสริมบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 163
Flow 1
การคัดเลือก
ผลิตภัณฑ์
การตรวจวิเคราะห์
ผลิตภัณฑ์
โดยใช้ชุดทดสอบ
- อปท.
- ภาคประชาชน
- อื่นๆ
ผลิตภัณฑ์
ปลอดภัย
ผลิตภัณฑ์ไม่
ปลอดภัย
ประชาสัมพันธ์
เชิงบวกโดยการ
ให้ป้าย...
- แจ้งและพัฒนา
ผู้ผลิต
- ร่วมกับท้องถิ่น
ตรวจ
วิเคราะห์ซ้ำ
ปลอดภัย
ไม่ปลอดภัย
ส่งตรวจ
ยืนยัน
สสจ.
164 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
2. การป้องกันและรักษาโดยใช้กลไกทางด้านการตรวจชันสูตร
2.1 ความหมาย ของการป้องกันและรักษาโรคโดยใช้กลไกทางด้านการตรวจ
ชันสูตรนั้น หมายถึง การใช้ผลการตรวจชันสูตรเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วย
เบื้องต้น (early diagnostic) /ผู้ป่วย โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น
2.2 วิธีการให้บริการ โดยปกติแล้ว รพ.สต. จะต้องเป็นผู้ให้บริการเองในเรื่องของ
การรักษา ในส่วนของการป้องกันหรือค้นหากลุ่มเสี่ยง สามารถดำเนินการ
ร่วมกับท้องถิ่น เช่น อบต. และ อสม. ได้
2.3 วิธีการจัดการภายใน ต้องมีการวางระบบการส่งต่อตัวอย่างที่ดำเนินการไม่ได้
เอง หรือตัวอย่างที่ต้องการตรวจยืนยัน ทั้งนี้ ควรจะสอดคล้องกับระบบส่งต่อ
ผู้ป่วยด้วย
ด้านการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
1. การจัดบริการการแพทย์แผนไทย
มาตรฐานการจัดบริการการแพทย์แผนไทยของ รพ.สต. ต้องมีบริการ มีดังนี้
1. มีเวชระเบียนด้านการแพทย์แผนไทย
1.1 มีระบบเวชระเบียนที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
1.2 มีการเก็บเวชระเบียนที่ปลอดภัย และรักษาความลับของผู้รับบริการได้
หมายเหตุ ระบบเวชระเบียนด้านการแพทย์แผนไทย สามารถใช้ร่วมกับระบบเวช
ระเบียนด้านการแพทย์ แผนปัจจุบันได้
ภารกิจเสริมบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 165
2. มีบริการด้านการแพทย์แผนไทย
2.1 การส่งเสริมสุขภาพ
2.1.1 จัดให้มีการให้ความรู้ สาธิต สอนแสดงด้านการแพทย์แผนไทย เช่น
เรื่องสมาธิ การสวดมนต์ การบริหารร่างกายด้วยท่าฤๅษีดัดตน อาหาร
เพื่อสุขภาพ ผักพื้นบ้าน สมุนไพร เป็นต้น แก่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ หรือ
มีการให้ความรู้ในรูปแบบอื่นๆ เช่น แผ่นพับ เสียงตามสาย เป็นต้น
อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง
2.1.2 การนวดเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ (ตามความพร้อมของสถานพยาบาล)
2.1.3 การอบไอน้ำสมุนไพรเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (ตามความพร้อมของสถาน
พยาบาล)
2.1.4 การประคบสมุนไพรเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ (ตามความพร้อมของสถาน
พยาบาล)
2.2 การป้องกันโรค
2.2.1 การจัดกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตน อย่างน้อยเดือนละ
1 ครั้ง
2.3 การรักษาโรค
2.3.1 การใช้ยาสมุนไพรอย่างน้อย 10 รายการ ตามบัญชียาสมุนไพรของ
โรงพยาบาล
2.3.2 การนวดเพื่อการบำบัดรักษาโรค (ตามความพร้อมของสถานพยาบาล)
2.3.3 การประคบสมุนไพรเพื่อการบำบัดรักษาโรค (ตามความพร้อมของสถาน
พยาบาล)
2.3.4 การอบไอน้ำสมุนไพรเพื่อการบำบัดรักษาโรค (ตามความพร้อมของ
สถานพยาบาล)
166 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
2.4_การฟื้นฟูสภาพ
2.4.1 การนวดเพื่อการฟื้นฟูสภาพ (ตามความพร้อมของสถานพยาบาล)
2.4.2 การฟื้นฟูสภาพมารดาหลังคลอด เช่น การทับหม้อเกลือ การอาบสมุน
ไพร การรัดหน้าท้อง การนาบอิฐ เป็นต้น (ตามความพร้อมของสถาน
พยาบาล)
2. บุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยที่ควรมีปฏิบัติงาน
ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้แก่
2.1 นักการแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย
ประยุกต์ หรือสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย เพื่อทำหน้าที่ใน
การตรวจวินิจฉัยและสั่งการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยและให้บริการการ
แพทย์แผนไทยด้านการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพ ส่งเสริมสุขภาพ และป้องกัน
โรค
2.2 ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย
- ผู้ที่จบหลักสูตรนวดไทย 372 ชั่วโมง หรือหลักสูตรนวดไทย 330 ชั่วโมงขึ้น
ไป เพื่อให้บริการนวด อบไอน้ำสมุนไพร การประคบสมุนไพรเพื่อการบำบัด
รักษา ฟื้นฟูสภาพ และการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคอื่นๆ
- ผู้ที่จบหลักสูตรนวดไทย ต่ำกว่า 330 ชั่วโมง เพื่อให้บริการนวด อบไอน้ำ
สมุนไพร การประคบสมุนไพรเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
นอกจากกิจกรรมบริการการแพทย์แผนไทยที่ควรมีใน รพ.สต. ดังกล่าวข้างต้นแล้ว
การให้บริการการแพทย์แผนไทย ต้องเป็นไปตามมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทยใน
สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ พ.ศ.2551 ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านสถานที่ เครื่องมือ
เครื่องใช้ และสิ่งแวดล้อม ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการควบคุมคุณภาพ สำหรับด้านการจัด
ภารกิจเสริมบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 167
บริการ (คือขอบเขตบริการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) และด้าน
บุคลากร (ตามบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยที่ควรมีใน รพ.สต.)
การป้องกันโรคที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย
(การคุ้มครองผู้บริโภค)
หลักการและแนวคิดหลัก
การคุ้มครองผู้บริโภค ถือเป็นภารกิจที่สำคัญที่จะปกป้องหรือป้องกันให้ผู้บริโภคได้
รอดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ อันเกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็น
ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารเคมี สารปนเปื้อนต่างๆ ผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบ การบริโภค
ผลิตภัณฑ์เกินความจำเป็น และเลียนแบบตามค่านิยมตะวันตก เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งคุกคามที่
ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งสิ้น เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรค
ความดันโลหิตสูง หรือโรคอ้วน เป็นต้น
ดังนั้น การที่ประชาชนจะมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง ชุมชนเข้มแข็งร่วมใจกันไม่บริโภค
ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ เพื่อที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง
ใช้หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงมาเป็นเครื่องมือในการป้องกันมิให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ
อย่างเหมาะสมต่อเนื่อง โดยครอบคลุมกิจกรรม การเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยง (risk
assessment) การจัดการความเสี่ยง (risk management) ด้วยการ 1) หลีกเลี่ยงความ
เสี่ยง 2) ผ่องถ่ายความเสี่ยง 3) ป้องกันความเสี่ยง 4) ลดความสูญเสีย 5) แบ่งแยกความ
เสี่ยง และการสื่อสารความเสี่ยง (risk communication) ถือเป็นการส่งเสริม ป้องกัน
สุขภาพของประชาชน ตามกรอบแนวคิดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่
ต้องการจะพัฒนาจากสถานีอนามัยให้เป็นหน่วยบริการสร้างสุขภาพที่ใกล้ชิดชุมชนมากที่สุด
168 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ซึ่งเป้าหมายหลักก็เพื่อส่งเสริมสุขภาพมากกว่าการรักษาพยาบาล เป็นการป้องกันตั้งแต่
ต้นทาง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล
ทั้งนี้ บุคลากรทางด้านสาธารณสุขที่ประจำอยู่ที่ รพ.สต. จักต้องปรับบทบาท ภารกิจ
จากการรักษามาสู่การส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งจะต้องสร้างและพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ถ่ายทอด
องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ให้กับประชาชนในชุมชน ให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถหลีก
เลี่ยง และเลือกที่จะไม่บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยได้
นอกจากนี้ ยังต้องปรับบทบาทการเป็นนักรณรงค์ด้านสุขภาพให้กับชุมชน ให้ออกมา
สนใจ เอาใจใส่ในการดูแลสุขภาพของตน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ให้ชุมชนเกิดความตื่นตัว
และตระหนักถึงภัยต่างๆ ที่จะตามมา ทั้งนี้ กระบวนการทำงานด้วยส่งเสริมสุขภาพนั้น ไม่
เฉพาะแค่บุคลากรสาธารณสุขที่มีอยู่ใน รพ.สต. เท่านั้น ภาคีเครือข่ายต่างๆ ต้องเข้ามามี
ส่วนร่วมในการสนับสนุนแนวคิดและเทคนิคที่เหมาะสมให้กับชุมชน ผลักดันและร่วมกัน
พัฒนาชุมชนของตนให้เกิดความเข้มแข็ง เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของ
ภาครัฐในประเทศที่กำลังพัฒนาในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนต่อองค์การอนามัยโลก
โดยมีเนื้อหาระบุบทบาทและกลวิธีหลักของภาครัฐที่สำคัญ มี 3 ประการ คือ
1) บทบาทการสนับสนุน ชี้นำด้านสุขภาพ
2) บทบาทการสนับสนุนทางสังคมเพื่อสุขภาพ
3) บทบาทการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อสุขภาพ
ลักษณะการบริการ
1. ดำเนินการตามกฎหมายที่แต่งตั้งให้ข้าราชการสถานีอนามัย เป็นพนักงานเจ้า
หน้าที่ตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ในการตรวจสอบ
เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์อาหาร ณ สถานที่จำหน่าย โดยตรวจสอบฉลากและสารปนเปื้อนใน
ภารกิจเสริมบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 169
อาหาร เช่น บอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว และสารเร่งเนื้อแดง สารฆ่าแมลง สาร
ฟอร์มาลิน กรดน้ำมันอิสระ สีผสมอาหาร โคลิฟอร์ม กรด-ด่าง ความกระด้างในน้ำดื่ม
เป็นต้น
2. การตรวจร้านค้า ร้านชำ เพื่อเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้อง เช่น ยา
อาหาร วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ ฯลฯ
3. การเฝ้าระวังการกระจายยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่
รถเร่ รถฉายหนัง การขายตรง ฯลฯ
4. การตรวจเยี่ยมโรงเรียน เพื่อค้นหา และแก้ปัญหาด้านยา อาหาร และผลิตภัณฑ์
สุขภาพ ได้แก่ โรงอาหาร โรงครัว ยาในห้องปฐมพยาบาล สินค้าในสหกรณ์ น้ำดื่ม ฯลฯ
5. การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน พร้อมทั้งแนะนำให้ความรู้กับชุมชนและ
ชาวบ้าน ถึงวิธีการเก็บรักษาที่ถูกต้อง และบริโภคได้นาน การดูวันผลิต และวันหมดอายุ
การดูลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ รวมถึงอ่านฉลากโภชนาการได้ถูกต้อง เป็นต้น
6. การส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างเหมาะสมเพื่อการดูแลตนเองเบื้องต้น
6.1 การให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้เกิดการใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม
6.2 การตรวจสอบ เฝ้าระวังเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระจายยาที่ไม่ปลอดภัยใน
ร้านชำ รถเร่
6.3 ส่งเสริม สนับสนุนความเข้มแข็งของห้องยาชุมชน กองทุนยาหมู่บ้าน
170 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
7. การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ
7.1 การพัฒนาให้โรงงานผลิตอาหารในชุมชนให้มีมาตรฐานการผลิตที่ดี (GMP)
7.2 การพัฒนาให้สินค้าในชุมชนมีมาตรฐาน เช่น มาตรฐาน OTOP มาตรฐาน
ผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
7.3 การพัฒนาเจ้าของร้านค้าเพื่อนำสินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน
มาจำหน่ายแก่ประชาชน
8. จัดทำรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ระบบการเชื่อมโยงการบริการกับหน่วยงานอื่นๆ
หมายเหตุ : การสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพ จากสถานที่จำหน่าย ทั้ง primary screenming test โดย
ใช้ชุดทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งในโรงพยาบาลของรัฐ และ
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต โดยประสานกับ สสอ. และ สสจ. ตามลำดับ
ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
สสจ.
สสจ.
รพท./รพศ.
รพช.
ชุมชนและ
เครือข่ายในชุมชน
Consumer
empowerment
ข้อมูล
เพื่อประเมิน
ความเสี่ยง
ข้อมูลเพื่อการบังคับใช้กฎหมาย
ปัญหาที่เกี่ยวกับการบริโภค/ผลิตภัณฑ์สุขภาพ(กรณีมีพนักงานเจ้าหน้าที่ใน อปท.)
รพ.สต.
อบต./เทศบาล
ภารกิจเสริมบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 171
การปรับพฤติกรรมสุขภาพ (การคุ้มครองผู้บริโภค)
หลักการและแนวคิดหลัก
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ยา อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายใน
บ้านเรือน และวัตถุเสพติด เป็นสิ่งที่ประชาชนบริโภคตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน การบริโภค
ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ บริโภคไม่ถูกต้องเหมาะสม ล้วนนำมาซึ่งความเจ็บป่วย และที่ร้าย
แรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต เช่น อาหารที่มีการปนเปื้อนสารห้ามใช้ หรือมีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิด
โรค เครื่องสำอางที่มีสารห้ามใช้ การใช้ยาผิดๆ ใช้ยาที่ไม่มีคุณภาพ มาตรฐาน ยาปลอม
การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดโรคตั้งแต่โรคระบบทางเดินอาหาร โรคไต โรค
มะเร็ง โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอื่นๆ อีก
มากมาย
ขณะเดียวกันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเจริญก้าวหน้า ผู้บริโภคสามารถเข้าถึง
ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทางอินเตอร์เน็ต รวมทั้งการที่ข้อมูลวิ่งเข้าหาโดยผ่านทางอีเมล์ ทำให้
เกิดความเสี่ยงจากการได้รับยาที่ไม่มีทะเบียน ยาปลอม รวมถึงการบริโภคยาโดยไม่อยู่ใน
การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร นอกจากนี้ในชนบทยังพบมีการจำหน่ายยาชุด และยาลูก
กลอนที่มีการนำสเตียรอยด์มาผสม เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นยาที่ดี รักษาโรคได้หาย
ทันใจ ทำให้ประชาชนได้รับพิษภัยจากสเตียรอยด์
รวมถึงการการแข่งขันที่สูงในทางการค้า ทำให้มีการโฆษณาในลักษณะโอ้อวด เกิน
ความจริง หรือทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดในสาระสำคัญ ผลที่ตามมาคือเกิดการบริโภคที่ไม่
เหมาะสม ไม่จำเป็น และบางครั้งเกิดอันตรายจากการบริโภค เช่น คนที่มีปัญหาด้าน
สุขภาพต้องได้รับการรักษาดูแลอย่างต่อเนื่อง เมื่อหลงเชื่อการโฆษณาหันมาบริโภค
172 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ผลิตภัณฑ์ที่มีการโฆษณาแล้วละเลยวิธีการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้โรคมีความรุนแรงขึ้นจน
เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ปัญหาที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากการบริโภคทั้งสิ้น หากผู้บริโภค
ขาดความรู้เกี่ยวกับการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม ปลอดภัย ขาดความตระหนัก
ในสิทธิของผู้บริโภค ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนา
ศักยภาพของผู้บริโภคให้มีความรู้ สามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่าง
ถูกต้อง และสมประโยชน์ เกิดความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค และรู้จักปกป้องสิทธิ
ที่สำคัญการปลูกฝังเรื่องการบริโภคอย่างปลอดภัยตั้งแต่ยังเป็นนักเรียน เพื่อให้เป็นผู้
บริโภคที่ดีในอนาคต จะช่วยลดความเสี่ยงจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นได้ นั่นหมาย
ถึงการลดการเจ็บป่วยจากการบริโภค ลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลของประเทศ และ
เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน
ลักษณะของการบริการ
1. ปลูกฝังเรื่องการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างเหมาะสมและปลอดภัย ให้กับเด็ก
นักเรียนทุกๆ โรงเรียนในพื้นที่ที่ รพ.สต. ดูแลอยู่ มีกิจกรรม อย. น้อยที่เหมาะสมกับสถานที่
โดยให้เจ้าหน้าที่ รพ.สต. เข้าไปให้ความรู้ ความเข้าใจกับเด็กและครู รวมถึงให้ครูคอย
สอดส่องดูแลพฤติกรรมการบริโภคของเด็ก หากเห็นว่าเด็กมีการเลือกบริโภคไม่เหมาะสม
และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ต้องสอนให้เด็กเข้าใจถึงอันตรายดังกล่าว
2. ขยายเครือข่าย อย. น้อยในระดับหมู่บ้าน ให้มีศักยภาพในการร่วมกันสอดส่อง
ดูแลจัดการกับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐานในบ้านของตน และขยายไปยัง
หมู่บ้านของตน
ภารกิจเสริมบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 173
3. เมื่อมีผู้ป่วยมารักษา ณ รพ.สต. เจ้าหน้าที่ต้องให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ป่วย
เกี่ยวกับการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและถูกต้องด้วย เช่น ผู้ป่วยเป็นโรค
มะเร็ง จำเป็นต้องบอกถึงสาเหตุของการเป็นโรคมะเร็ง และสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งจะอยู่
ในอาหารประเภทใดบ้าง เช่น การกินอาหารทอด ต้องดูว่าพ่อค้า-แม่ค้า ใช้น้ำมันทอดซ้ำ
หรือไม่ เพราะในน้ำมันทอดซ้ำมีสารก่อมะเร็งอยู่ เป็นต้น
4. สร้างการมีส่วนร่วมกับบุคคลในท้องถิ่น เช่น อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือพระ
สงฆ์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ รพ.สต. ในการช่วยให้ความรู้ ความเข้าใจในการเลือกบริโภค
ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความปลอดภัย โดยมีการอบรมความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภค
ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความปลอดภัยและถูกต้องให้กับตัวแทนชุมชน เพื่อให้ตัวแทนเหล่านี้
ได้นำความรู้ที่ได้รับการอบรม ไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น วิทยุท้องถิ่น
แจกแผ่นพับความรู้ให้กับทุกครัวเรือน เป็นต้น
5. เผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ที่มาติดต่อ รสพต. โดยการจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งให้บริการความ
รู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทั้งนี้ อาจจัดเป็นรูปแบบของนิทรรศการ หรือบอร์ด หรือเผย
แพร่ผ่านโทรทัศน์วงจรปิด
174 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ระบบการเชื่อมโยงการบริการกับหน่วยงานอื่นๆ โดยการสร้างเครือข่ายกับ
บุคคลในท้องถิ่น
การให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย ถูกต้อง และสม
ประโยชน์ โดยผ่านเครื่อข่ายในท้องถิ่น เพื่อเครือข่ายเหล่านี้ได้นำความรู้ไปเผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ต่อไป เพื่อสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง
รพ.สต.
ภาคีเครือข่ายในชุมชน
เช่น โรงเรียน อบต. ผู้นำชุมชน
เทศบาล เป็นต้น
ภาคีเครือข่ายนอกชุมชน
เช่น สสอ. สสจ.
อย. เป็นต้น
ประชาชนในชุมชนทั้งเด็ก
ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
ภารกิจเสริมบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 175
ภาคผนวก
แนวคิดการทำงาน
ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
176 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
แนวคิดงานบริการเชิงรุก รพ.สต.
“รพ.สต.จะเป็นคืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ควรได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมและ
เสมอภาค”
การทำงานเชิงรุก หมายถึง การทำงานที่มีการวางแผนงานเพื่อป้องกันปัญหาหรือลด
ความรุนแรงของปัญหา สามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ด้วยข้อมูลที่มีอยู่ และ
พร้อมตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มุ่งเน้นที่ความรู้ ทัศนคติ และ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในที่สุด ด้วยการใช้กลยุทธ์ เทคนิค องค์ความรู้และ
เทคโนโลยีต่างๆ อย่างเหมาะสม โดยไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (มิใช่เชิงรุกอดีตที่ปฏิบัติกัน
มา หรือเข้าใจตามความหมายเดิม ที่เข้าไปปฏิบัติงานในชุมชนเพียงอย่างเดียว)
การบริการสุขภาพ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ การบริการเชิงรับ และการบริการเชิงรุก
การบริการเชิงรับ หมายถึง การให้บริการซึ่งส่วนใหญ่เป็นการให้บริการเพื่อการซ่อม
สุขภาพ (รักษาพยาบาล) มากกว่าบริการเพื่อการสร้างสุขภาพ
การบริการเชิงรุก หมายถึง การช่วยให้ประชาชนพึ่งตนเองทางสุขภาพให้ได้ โดย
เป็นการบริการที่ต้องครอบคลุมทั้งเรื่องการสร้างสุขภาพและการซ่อมสุขภาพ (รักษา
ภาคผนวก 177
พยาบาล) มีภารกิจการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และอนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นการให้
บริการทั้งในและนอกสถานที่โดยคำนึงถึง
1. การดูแลแบบองค์รวม
2. การมีทีมสหวิชาชีพ และเครือข่ายสุขภาพ
3. การมีส่วนร่วมของชุมชน
4. การนำมาตรฐานวิชาชีพ มาสู่การปฏิบัติการพิทักษ์สิทธิ์และศักดิ์ศรีของผู้ให้และ
ผู้รับบริการ
ภาระหน้าที่หลักของรพ.สต. คือ การบริการเชิงรุก โดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบริการ
รพ.สต. มีหน้าที่ในการช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนเรียนรู้ และให้มีความสามารถใน
การดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน กลายเป็นระบบที่กลมกลืน
ไปกับวิถีชีวิตตามปกติของชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รพ.สต. ทำหน้าที่เป็นนักสร้าง
เสริมสุขภาพอย่างแท้จริง ที่มีทั้งมาตรฐานและจริยธรรมที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนและชุมชน
มากที่สุด
ชุดบริการเชิงรุก รพ.สต.
1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 6 ปัจจัย คือ เพศศึกษา สุรา/เครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ บุหรี่/ยาสูบ อุบัติเหตุ การบริโภคอาหาร การสุขาภิบาลอาหาร การออกกำลังกาย
และสุขบัญญัติ
2 .การเฝ้าระวังโรค การสอบสวนโรค และภัยสุขภาพ
3. การวางแผน ค้นหา ประเมิน และติดตามความเสี่ยงด้านสุขภาวะประชาชนตาม
กลุ่มอายุโดยใช้หลักการ PDCA (Plan, Do, Check Act)
4. การอนามัยสิ่งแวดล้อม
5. การดูแลผู้ป่วยที่บ้านตามหลักการ HHC (Home Health Care) โดยการร่วมมือ
กับ อสม. และญาติ โดยทีมสหวิชาชีพ
178 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
6. การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุในระยะสุดท้ายของชีวิต (End of Life Care)
7. การดูแลประชาชนในพื้นที่ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
วิธีการให้บริการเชิงรุก
การบริการเชิงรุก อย่างน้อยควรประกอบด้วยการบริการ 5 รูปแบบ ได้แก่
1. การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และอนามัยสิ่งแวดล้อม
2. การคัดกรองสุขภาพและการรักษาที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่
3. บริการสุขภาพครอบครัวแบบองค์รวม
4. การมีส่วนร่วมของชุมชน
5. ทีมสุขภาพดูแลอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบการทำงานเชิงรุก ของ รพ.สต.
บริการเชิงรุกใน รพ.สต.
การจัดตั้งบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) เพื่อให้บริการแบบ
ครบวงจร ทั้งด้านการรักษา การส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคแบบองค์รวม โดยมีชุดให้
ความรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติ และการปฏิบัติให้เหมาะสมกับอาการป่วย ภาวะเสี่ยง และ
ภาวะสุขภาพ
จุดบริการดังกล่าว เช่น กรณีจัดเป็นห้อง ภายในห้องจะเป็นจุดรวมของบริการแบบ
เบ็ดเสร็จที่จัดไว้สำหรับทุกกลุ่มอายุ โดยอาจแบ่งกลุ่มต่างๆ ได้แก่ สตรีมีครรภ์ เด็ก 0-5 ปี
เด็ก 6-12 ปี วัยรุ่น วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือแบ่งเป็นงานต่างๆ ที่
สำคัญ เช่น งานให้คำปรึกษาทั่วไป งานสุขภาพจิต งานทันตกรรม งานป้องกันโรคไม่
ติดต่อ ที่จุดบริการจะเน้นการให้ความรู้ หรือสุขศึกษาเป็นหลัก ร่วมกับการตรวจสุขภาพ
เชิงรุก (ตรวจค้นหาโรค ก่อนเกิดโรค เพื่อหาภาวะเสี่ยง) หรือการคัดกรองสุขภาพโดยมี
ภาคผนวก 179
มาตรฐานว่า กลุ่มอายุใด ควรมีการตรวจสุขภาพเรื่องใดบ้าง (การบริการเชิงรุก รุกล้ำ
เข้าไปในความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก ของบุคคล เพื่อให้มีความรู้และทัศนคติที่
เหมาะสม นำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง) โดยมีแนวทางการดำเนินงานสุขศึกษา
ดังนี้
- มีมาตรฐานการให้ความรู้ หรือสุขศึกษาแยกตามกลุ่มอายุและงาน
- การวางแผนสุขศึกษา
- มีทีมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ (สหวิชาชีพ)
- การจัดกิจกรรมสุขศึกษา การเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านสุขภาพ เช่น มีการฉาย
วิดีทัศน์ โดยใช้สื่อความบันเทิงสอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวบ้าน เพื่อชักจูงใจให้เห็น
ความสำคัญของการสร้างสุขภาพ
- สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในการให้สุขศึกษา เช่น จัดมุมสุขภาพดี ซึ่งเป็นแนวทาง
การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพที่ใช้ระบบสื่อสารสุขภาพในการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมสุขภาพของประชาชน โดยจัดวางชุดสื่อประชาสัมพันธ์มุมสุขภาพดีใน
จุดบริการ เพื่อเป็นการปลูกฝังค่านิยมในการดูแลสุขภาพแก่ประชาชน ผลิตสื่อรูป
แบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วย บางประเทศใช้เป็นตู้คอมพิวเตอร์ (คล้ายตู้เล่น
เกมในห้างสรรพสินค้า) เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความสนใจ โดยดัดแปลงมา
จากการเล่นเกม เช่น ถามตอบปัญหา ทายภาพ (สื่อนิทรรศการเพื่อการสื่อสาร
สุขภาพ ตู้เรียนรู้ทางสุขภาพด้วยระบบสัมผัส ที่ใส่เอกสารแผ่นพับความรู้สุขภาพ)
โดยสรุปรูปแบบการบริการมีลักษณะดังนี้
1. รูปแบบบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว
2. มีการซักประวัติ และบันทึก โดยมีแบบบันทึกแยกตามกลุ่มอายุหรือตามลักษณะ
งานที่มาขอรับบริการ
180 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
3. มีมาตรฐานในการให้บริการแยกตามกลุ่ม เช่น เด็กต้องซักประวัติอะไรบ้าง ตรวจ
สุขภาพด้านใดบ้าง ความรู้ที่ให้เรื่องใดและให้ใครบ้าง วิธีการที่ให้ความรู้ เป็นต้น โดย
ประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับบริการทราบเพื่อสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับมาพัฒนาบริการต่อไป (ติด
ป้าย ติดขั้นตอนรับบริการ) เช่น กลุ่มเด็ก มีการซักประวัติครอบคลุมและบันทึก ตรวจ
สุขภาพตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง พัฒนาการ สุขภาพช่องปาก
และให้ความรู้ผู้ปกครอง เป็นต้น
4. มีวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการให้ความรู้ การตรวจสุขภาพครบถ้วน โดยสัมพันธ์
กับมาตรฐานการบริการ เช่น
- แบบซักประวัติแบบบันทึกแยกตามกลุ่มอายุหรือตามลักษณะงานที่มาขอรับ
บริการ (อยู่ที่หน่วยงาน)
- สมุดบันทึกสุขภาพหรือรับบริการประจำตัว (อยู่ที่ผู้รับบริการ)
5. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ทางสุขภาพด้วยตนเอง โดยมีสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ภายในศูนย์แบ่งเป็นโซนต่างๆ ตามกลุ่มอายุหรืองาน โดยกำหนดมาตรฐานการส่งเสริมและ
ป้องกันโรคให้เหมาะสมจำแนกตามกลุ่มอายุหรือแต่ละงานว่าควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
จากการคาดการณ์สถานการณ์แนวโน้มในการเกิดโรคว่า ในกลุ่มอายุต่างๆ มีแนวโน้มที่จะมี
ภาวะเสี่ยงในเรื่องใดบ้าง และจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรค
- ห้องสมุด ค้นคว้าด้วยตนเองได้ บริการยืมคืนได้ มีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ
- มีเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น หนังสือ แผ่นพับ โปสเตอร์เพียงพอ
- คอมพิวเตอร์ และระบบอินเตอร์เน็ต เช่น ดัดแปลงเกมคอมพิวเตอร์มาใช้กับ
การดูแลสุขภาพ ซึ่งน่าสนใจและเกิดการเรียนรู้ การจำได้ดีกว่าโดยเฉพาะวัย
เด็ก วัยรุ่น หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพ
- สร้างแบบจำลองต่างๆ เช่น แบบจำลองฟัน แบบจำลองการตรวจเต้านม
แบบจำลองการตรวจมะเร็งปากมดลูก หรือห้องจำลองสถานการณ์จริง เช่น
การสอนการล้างมือ ผู้รับบริการสามารถปฏิบัติตามได้เลยเมื่ออยู่ในห้องนั้น
ภาคผนวก 181
6. โสตทัศนูปกรณ์
- ห้อง Sound Effect สำหรับงานบางอย่างที่ต้องใช้ระบบแสง เสียงที่ช่วย
กระตุ้นมโนธรรมสำนึก หรือปลุกจิตสำนึกสาธารณะ เช่น การป้องกันโรค
ระบาด อาจต้องใช้เทคนิคที่ทำให้เกิดความหวาดกลัวในกลุ่มเด็ก การใช้
ดนตรีเพื่อบำบัดสุขภาพจิต การใช้ดนตรีกับการสตรีตั้งครรภ์ เป็นต้น
- สื่อทางด้านโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ วิดีทัศน์ โทรทัศน์ เครื่องเล่น VCD/DVD
คอมพิวเตอร์ มีการผลิตสื่อตามความเหมาะสม เช่น สื่อการสอนด้วย
Powerpoint เครื่อง Visualizer Projector
7. สถานที่หรือห้องจัดประชุม อบรม ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และทรัพยากร
8. มีสถานที่ให้คำปรึกษาแบบส่วนบุคคลและรายกลุ่ม
9. มีระบบการติดตามผลเฝ้าระวังทางสุขภาพ
บริการเชิงรุกในชุมชน
แนวคิดการจัดบริการเชิงรุกในชุมชน
1. ภารกิจการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับชุมชน ประกอบด้วยบริการ
การตรวจคัดกรองสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน การเจ็บป่วย 3 ประการ
ได้แก่
(1) บริการการสัมภาษณ์ประวัติ และประเมินพฤติกรรมสุขภาพ การตรวจร่างกาย
และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
(2) บริการการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน การใช้ยา และการทำหัตถการเพื่อป้องกันการ
เจ็บป่วย
(3) บริการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการให้การปรึกษาแนะนำ และการให้
ความรู้
182 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
2. การดูแลผู้ป่วยที่บ้านและชุมชน ตามหลักการ (Home Health Care : HHC)
ประกอบไปด้วยกิจกรรมการให้บริการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมกับบริบท การฟื้นฟูสภาพ
การป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้เจ็บป่วยที่บ้านแบบองค์รวม ร่วมกับการดำเนิน
งานสาธารณสุขมูลฐาน อันจะทำให้เกิดผลลัพธ์ในการดูแลสุขภาพตนเอง สมาชิกใน
ครอบครัวและชุมชนได้ มีทีมสุขภาพที่รับผิดชอบให้การบริการที่มีความเข้มข้น ความต่อเนื่อง
ความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย และการร่วมมือกับญาติ โดยมี อสม. เป็นผู้ประสานงานกับ
ทีมสุขภาพ จัดระบบช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างทีมสุขภาพ อสม. ญาติ และ
ผู้ป่วย ที่สะดวกเชื่อมโยงกับระบบการส่งต่อ - รับกลับ
3. การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะสุดท้ายของชีวิต (End of Life Care) รพ.สต.โดย
ทีมสุขภาพรับผิดชอบ มีหน้าที่ในการให้คำแนะนำ การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะสุดท้าย
ของชีวิตแก่ผู้ป่วยและญาติ ซึ่งต้องกำหนดช่องทางสื่อสารได้โดยตรงและสะดวก
4. การมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน กลุ่มเครือข่ายสุขภาพ และ อปท. ทีมสุขภาพ
รพ.สต. มีการดำเนินภารกิจเชิงรุกที่ต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ใช้หลักการ PDCA ในการ
ดำเนินงาน แต่ละหมู่บ้าน/ชุมชนมีเครือข่ายสุขภาพรับผิดชอบอย่างชัดเจน สามารถเข้าถึง
ข้อมูล มีระบบการสื่อสารที่สะดวก
การเตรียมคนรองรับนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนั้น ก่อนอื่นต้อง
ทำความเข้าใจให้ชัดแจ้งกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชนทุกระดับ ให้
รับทราบรับรู้ร่วมกัน แสดงความคิดเห็น เข้าใจอย่างชัดแจ้งถึงเหตุและผล โดยการนำเสนอ
ข้อมูลที่เป็นธรรม จากค่าใช้จ่ายที่ประชาชนและรัฐต้องสูญเสียไป ทั้งตัวเลขแฝง และตัวเลข
ที่เห็นเด่นชัด เพราะเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องเข้าใจ เพื่อพร้อมที่จะเป็นประชาสัมพันธ์ให้กับ
นโยบายโครงการนี้เป็นอย่างดี
ภาคผนวก 183
การทำความเข้าใจทุกระดับต้องมิใช่การแจ้งเพื่อทราบ แต่เป็นกระบวนการสร้างให้
เกิดการทำงานเป็นทีม (ภายในองค์กร) แล้วดำเนินการจัดตั้งทีมการทำงานของสาธารณสุข
ซึ่งร่วมด้วยบุคลากรจากทุกฝ่ายอย่างสมัครใจที่จะทำงานเชิงรุก (เวลาราษฎร) เป็นทีมงานที่
ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เข้าใจบทบาทของบริการปฐมภูมิเป็นอย่างดี แบ่งบทบาทการ
ทำงานเพื่อดำเนินการนำเสนอเรื่องราวหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการโรงพยาบาลสร้าง
เสริมสุขภาพตำบล
หลังจากนั้น นำเสนอข้อมูลกับกลุ่มผู้นำชุมชน ทั้งในระบบราชการและนอกระบบ
ราชการ ในการประชุมระดับอำเภอและตำบล เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของ รพ.สต.
สร้างการทำงานเป็นทีม ซึ่งสิ่งที่ได้จากการนำเสนอข้อมูล จะนำไปสู่การจัดตั้งคณะ
กรรมการหรือทีมงานในส่วนของผู้นำภาคต่างๆ เพื่อมาร่วมกันจัดทำแผน ออกประชาคมใน
ระดับตำบลและหมู่บ้าน พร้อมกับแบ่งบทบาทในการออกประชาคม กำหนดการปฏิบัติงาน
อย่างครบถ้วน
อีกทั้งต้องจัดประชุม อสม. ทุกคนในแต่ละตำบล ซักซ้อมความเข้าใจอย่างถี่ถ้วน ถึง
ความสำคัญของโครงการและบทบาทของ อสม.ในการทำประชาคม และเป็นตัวหลักในการ
ประชาสัมพันธ์กับประชาชนในระดับหนึ่งได้เป็นอย่างดี ดังนั้นส่วนใหญ่เวลาที่ใช้ในการ
ประชุม อาจจำเป็นต้องใช้เวลาราษฎร แล้วแต่ความเหมาะสม นั่นหมายถึง ความเสียสละ
ความทุ่มเทของคณะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกระดับในอำเภอนั้นๆ เพื่อให้ผู้นำชุมชน อสม.
มีความเข้าใจถี่ถ้วน ทั้งในแนวคิดของ รพ.สต. วิธีการทำงาน ความแตกต่างจากสถานี
อนามัยและประโยชน์ที่จะได้รับ และสิ่งที่ประชาชนต้องเปลี่ยนแปลงคือ กระบวนทัศน์ด้าน
สุขภาพ การดูแลสุขภาพให้เกิดความเป็นเจ้าของระบบสุขภาพ โดยต้องเข้ามามีส่วนร่วมถึง
การบริหารจัดการ ซึ่งเป็นการปฏิรูประบบสุขภาพ นำมาซึ่งการปฏิรูปราชการในตำบลและ
อำเภอ เพื่อนำไปสู่การทำความเข้าใจในระดับหมู่บ้านต่อไป
184 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
วิธีการกำหนดการทำงานในแต่ละหมู่บ้าน นอกจากการใช้เวลาราษฎรในการทำ
ประชาคมแล้ว จะต้องเตรียมสื่อที่น่าสนใจ โดยใช้ข้อมูลที่ใกล้ตัวชาวบ้าน อีกทั้งต้องเน้น
ข้อมูลระดับอำเภอและประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลค่าใช้จ่ายที่ประชาชนและรัฐต้องสูญเสียไปใน
การเดินทาง หยุดงาน หรือค่าใช้จ่ายของการรักษาพยาบาล ต้นทุนต่อหน่วย ปัญหาระบบ
ต่างๆ
เจ้าหน้าที่และคณะทำงานร่วมภาคประชาชน ต้องแบ่งบทบาทกันทำงานอย่างเป็นทีม
ในการดำเนินการประชาคม มีความเข้าใจในกระบวนการประชาคมทุกขั้นตอน และการ
ประชาคมต้องมิใช่การแจ้งเพื่อทราบ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาพอสมควรในแต่ละหมู่บ้าน จน
ครบทุกตำบล ซึ่งสิ่งที่ตามมา คือมาตรการทางสังคมจะเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การกำหนด
เวลาการทำงานของ รพ.สต. ขั้นตอนการบริการ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
กำหนดการสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งทำให้เกิดสัญญาประชาคม และ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องนำไปดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพราะเป็นความ
ต้องการของประชาชนซึ่งสะท้อนจากเวทีสาธารณะ สร้างให้เกิดคณะกรรมการ รพ.สต.
ภาคประชาชน และกำหนดวาระของการทำงานของคณะกรรมการ นำไปสู่การเข้าร่วมของ
คณะกรรมการอย่างมีเกียรติ โดยมาจากการคัดเลือกของประชาชนในเวทีประชาคม ซึ่ง
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำ
เมื่อได้คณะกรรมการรายหมู่บ้านครบถ้วนแล้ว ต้องประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่เพื่อ
ร่วมคัดเลือกคณะกรรมการบริหารงานตามจำนวนที่ได้ตกลงในการประชุม แต่ต้อง
ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ทุกกลุ่มตำแหน่ง โดยผู้อำนวยการ รพ.สต. และปลัดองค์การบริหาร
ส่วนตำบล เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ แจ้งกำหนดแผนการทำงานตลอดปี พร้อม
ทั้งบทบาทในรายละเอียดอย่างชัดเจน สร้างให้การทำงานร่วมกันอย่างเป็นทีม นำไปสู่การ
ปฏิรูประบบการทำงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น
ข้อมูลการเงิน ข้อมูลบุคลากรหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ รพ.สต.
ภาคผนวก 185
ในการประชาคมนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเพื่อนำเสนอข้อมูล
เพราะจะทำให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานเชิงรุกอย่างเป็นระบบ ประชาชนจะได้ร่วมวิเคราะห์
ข้อมูลต่างๆ ที่เป็นทั้งปัญหา และแนวทางแก้ไขอย่างชัดเจน อีกทั้งสร้างความสัมพันธ์ในเชิง
คุณภาพ ลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับประชาชน
ในอำเภอหล่มสักได้ใช้ความสัมพันธ์นี้ นำไปสู่สัมพันธ์ภาพอย่างแน่นแฟ้น สามารถ
แก้ไขปัญหาการฟ้องร้องทางคดีของแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขได้อย่างเป็นรูปธรรม
เป็นการสร้างให้เกิดประชาคมเข้มแข็งได้เป็นอย่างดี
กล่าวโดยสรุป การทำงานกับชุมชน ต้องใช้ยุทธศาสตร์ เสียสละ ทุ่มเท เข้าใจ เข้าถึง
พึงพอใจ ร่วมแก้ไขปัญหา เป็นหนึ่งเดียว เป็นเจ้าของร่วมกันอย่างชัดเจน ส่วนในการ
ทำงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ใช้ “กิจเขา คือกิจเรา” คือต้องรู้ภารกิจของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รู้จักคน (อปท.ในแต่ละหมู่บ้าน) สร้างสัมพันธภาพ นำเสนอ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง รู้ระบบการทำงาน การนำเสนอโครงการ
เพื่อการสนับสนุนงบประมาณในแต่ละช่วงปี ซึ่งต้องเกิดจากแผนซึ่งได้มาจากการประชาคม
รพ.สต.
รพ.สต.
รพ.สต.
186 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
แนวคิดการเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลแม่ข่าย
รพช.
One Stop Service
รพ.สต.
รพ.สต.
รพ.สต.
รพ.สต.
รพ.ต.
รพ.ต.
ระบบ EMS.
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT
1. โรงพยาบาลเชื่อมโยงการสื่อสารจากจุดบริการ ให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ (ทั้งด้าน
hardware, software ระบบเชื่อมต่อ และบุคลากร) เกิดขึ้นเป็น one stop service ใน
งานบริการ ทั้งประชาชนผู้มาที่มาโดยตรง หรือที่ติดต่อทาง Internet แบบ “ภาพและเสียง”
ซึ่งจะทำให้เกิดผล ดังนี้
• การให้คำปรึกษาระหว่างแพทย์กับผู้ให้บริการระดับ รพ.สต.
• การส่งต่อผู้ป่วยผ่านระบบพิเศษ ทำให้ประชาชนจะไปรับการรักษาที่ รพ.สต. ก่อน
หากจำเป็นจะต้องส่งต่อผู้ป่วย ก็จะมีบริการส่งต่อผ่านช่องทางพิเศษที่ให้บริการ
รวดเร็วกว่าที่จะไปรอรับบริการที่โรงพยาบาลแม่ข่าย
ภาคผนวก 187
• หากจะต้องส่งต่อไปยังหน่วยที่สูงกว่าโรงพยาบาลแม่ข่าย ก็สามารถทำได้ที่
รพ.สต.
• สามารถส่งต่อผู้ป่วยทั้งไปและกลับ รวมถึงข้อมูลต่างๆ เช่น เมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน
และต้องการดูแลรักษาต่อที่บ้าน แพทย์ก็จะให้ข้อมูล รวมถึงบริการที่ผู้ป่วย
ต้องการดูแลต่อเช่น ทำความสะอาดแผล หรือการกายภาพบำบัด
• สามารถติดต่อสื่อสารในเรื่องอื่นๆ เช่น การตรวจสอบคลังยาและสั่งยาผ่านการ
สื่อสารนี้ ซึ่งฝ่ายเภสัชจะนำยาไปส่งทุก 2 สัปดาห์
• ปัจจุบันข้อมูลของห้องปฏิบัติการ หรือภาพถ่ายรังสี สามารถส่งทางอิเล็กทรอนิกส์
ได้ ทำให้สามารถดำเนินการร่วมกับโรงพยาบาลแม่ข่าย หรือส่งต่อไปยัง
โรงพยาบาลศูนย์ ซึ่งถ้าบริหารจัดการแบบเป็นระบบ จะได้รับการยอมรับทั้งจาก
ต้นทางและปลายทาง จะเกิดประโยชน์มาก
2. พัฒนาระบบปฏิบัติการของทั้ง รพ.สต. และโรงพยาบาลแม่ข่ายให้สามารถส่ง/รับ
ข้อมูลผู้ป่วยได้ ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนการทำงานจากข้อมูลเชิงประจักษ์ เช่น การเชื่อมโยง
ข้อมูลผู้ป่วยด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographical Information System : GIS)
ทำให้สามารถวางแผนการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวคิดการบริการอย่างต่อเนื่อง
และสามารถให้คำปรึกษากับผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง
“บริการอย่างต่อเนื่อง และสามารถให้คำปรึกษากับผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง โดย
สามารถปรึกษาแพทย์ในโรงพยาบาลพี่เลี้ยง หรือส่งต่อผู้ป่วยได้ตลอดเวลา ทั้งนี้อาจมี
บริการเตียงนอนเพื่อสังเกตอาการโดยไม่รับผู้ป่วยไว้นอนค้างคืน และหากมีกรณีฉุกเฉิน ก็มี
ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในการออกไปรับผู้ป่วยและให้การปฐมพยาบาลก่อนส่งต่อ”
188 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ความสำคัญ
การบริการดูแลต่อเนื่อง เป็นคุณลักษณะสำคัญในบริการปฐมภูมิ (โรงพยาบาลส่ง
เสริมสุขภาพตำบล) จำเป็นมีข้อมูลพื้นฐาน บุคคล ครอบครัว ความเจ็บป่วยปัจจุบัน ความ
เจ็บป่วยในอดีต สามารถประสานบริการระหว่างโรงพยาบาลกับหน่วยบริการปฐมภูมิให้
สามารถเชื่อมโยงข้อมูล มีข้อมูลเพียงพอที่ใช้ในการดูแล หรือสามารถวางแผนดูแลร่วมกันได้
กรณีที่ประชาชนไม่มั่นใจ หรือไม่แน่ใจในปัญหาสุขภาพของตนเองและคนใน
ครอบครัว สามารถขอคำปรึกษากับ รพ.สต.ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น
โทรศัพท์ตรง ผ่านศูนย์รับปรึกษา เพื่อลดการเดินทางมารับบริการที่ไม่จำเป็น สร้างความ
มั่นใจในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น คัดแยกภาวะร้ายแรงทางสุขภาพ เช่น ไข้ในเด็กเล็ก การ
ใช้ยา (ลืมกินยา กินยาไม่ถูก ภาวะฉุกเฉินเบื้องต้น) ในบางพื้นที่มีความพร้อม มีการแจ้ง
เบอร์โทรศัพท์ของหน่วยบริการปฐมภูมิ และของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบประชากร
ในหมู่บ้านเพื่อให้บริการคำปรึกษาเรื่องสุขภาพ
ในกรณีผู้ป่วยที่หน่วยบริการปฐมภูมิไม่มั่นใจ สงสัยในการวินิจฉัย การให้การดูแล
รักษา มีระบบการให้คำปรึกษาของผู้ให้บริการกับทีมสุขภาพของโรงพยาบาลแม่ข่าย (แพทย์
และทีมสหสาขา) ผ่านกิจกรรมที่สำคัญ เช่น กำหนดทีมรับผิดชอบของโรงพยาบาล ในการ
วางแนวทางพัฒนาคน เป็นที่ปรึกษา ให้เบอร์โทรศัพท์ของทีมที่ปรึกษาของโรงพยาบาลที่
รับผิดชอบ รพ.สต. การเชื่อมต่อระบบปรึกษาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปรึกษา
ทางไกล
ในบางกรณีต้องมีการสังเกตอาการ หรือให้บริการรักษาเบื้องต้น (การให้ยา
สารละลายทางเส้นเลือด) โดยมีเตียงสังเกตอาการในช่วงเวลาทำการ เมื่อมีการประเมิน
สภาวะผู้ป่วยดีขึ้น ให้กลับบ้านหรือส่งต่อไปรับบริการที่โรงพยาบาลต่อไป จะไม่รับผู้ป่วย
ภาคผนวก 189
ดูแลแบบหอผู้ป่วยใน 24 ชั่วโมงเช่นเดียวกับโรงพยาบาลแม่ข่าย
มีบริการฉุกเฉิน ภายหลังได้รับการรักษาภาวะฉุกเฉินในหน่วยบริการปฐมภูมิแล้ว หรือ
ภายหลังจากที่โทรศัพท์ขอคำปรึกษา และต้องมีการส่งต่อเพื่อไปรับการรักษาในโรงพยาบาล
จะมีการเชื่อมโยงกับระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่ดำเนินการโดย อปท.และของโรงพยาบาลที่
ใกล้เคียง
ในบางพื้นที่บริการ หากมีผู้รับบริการจำนวนมากที่ไม่สะดวกมารับบริการในเวลา
ราชการ เนื่องจากเป็นเวลาทำงาน หน่วยบริการปฐมภูมิสามารถสร้างการเข้าถึงบริการ ด้วย
190 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
การเปิดบริการนอกเวลาช่วงเย็น (16.00 -20.00 น.) และหรือในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์
แนวทาง/กิจกรรมสำคัญ ระดับการพัฒนา
ไม่มี กำลัง ดำเนินการ
ดำเนินการ แล้ว
ระดับ รพ.สต.
- กำหนดบุคคลรับผิดชอบพื้นที่ให้คำปรึกษาสุขภาพ
- การส่งต่อมีระบบส่งต่อข้อมูลที่เพียงพอ
- ประชาชนมีช่องทางปรึกษาเจ้าหน้าที่ได้สะดวก
- บริการนอกเวลาทำงานและในช่วงวันหยุด
(สำหรับพื้นที่ที่มีความจำเป็น)
- มีระบบประสานกับหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
ในระดับตำบลและอำเภอ
- มีเตียงรับสังเกตอาการในหน่วยบริการ
ระดับ CUP
- รพ.กำหนดทีมแพทย์และทีมสุขภาพในการ
ให้คำปรึกษาเฉพาะในระดับพื้นที่รายสอ.
- จัดโปรแกรมในการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สอ.
ในการดูแลรักษาโรคเรื้อรัง ปัญหาที่พบบ่อย และการใช้ยา
- รพ.มีศูนย์รับส่งต่อที่มีผู้รับผิดชอบเฉพาะ
สามารถลดปัญหาในการส่งต่อได้
- มีการกำหนดแนวทางคู่มือดูแลรายโรคที่สำคัญ
ร่วมกับ รพ.สต.

ภาคผนวก 191
แนวทางการพัฒนาระบบบริการของ รพ.สต.
รูปแบบการแก้ปัญหาสุขภาพตามบริบทของพื้นที่ที่แตกต่างกัน
รพ.สต.อาจจะมีการปรับเปลี่ยนบทบาทในการจัดการปัญหา ตามบริบทของพื้นที่และ
สภาพปัญหา เช่น
1. พื้นที่อุตสาหกรรม ต้องมีการประเมินสภาพแวดล้อมในที่ทำงานและผลกระทบจาก
อุตสาหกรรมต่อสิ่งแวดล้อม ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านอุตสาหกรรม เฝ้าระวังเสี่ยง
จากสารเคมีที่นำเข้าและที่เกิดจากการผลิต สร้างการมีส่วนร่วมของเจ้าของกิจการและคน
งาน เจ้าหน้าที่ต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
2. พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ต้องมีการประเมินโรคและภัยที่มาจากนักท่องเที่ยว และกลุ่ม
แรงงานที่อพยพเข้ามาในพื้นที่ (โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เอดส์ และกามโรค) มีการประสาน
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การท่องเที่ยว แรงงานจังหวัด เฝ้าระวังสถานการณ์ การสร้างการมี
ส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคของสถานบริการ
3. พื้นที่กันดารลำบาก (ภูเขาสูง เกาะ) มีความจำเป็นต้องสร้างการเข้าถึงบริการโดย
ใช้ช่องทางต่างๆ เช่น การออกหน่วยบริการเชิงรุกในพื้นที่ (รักษา ส่งเสริม ป้องกัน) การ
สร้างหน่วยบริการขนาดเล็กที่ใช้คนในพื้นที่ให้บริการ (สถานบริการสาธารณสุขชุมชน :
สสช. ให้ทุนนักเรียนในชุมชน แล้วกลับไปทำงานในพื้นที่) การสร้างช่องทางการให้คำปรึกษา
ในพื้นที่ผ่าน วิทยุ โทรศัพท์ อินเทอร์เนต
หน่วยบริการปฐมภูมิ หมายความว่า สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ
ปฐมภูมิในเครือข่ายของหน่วยบริการประจำ ซึ่งสามารถจัดบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ
ด้านเวชกรรม หรือทันตกรรมขั้นพื้นฐานได้อย่างเป็นองค์รวม ทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ การ
ป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยผู้มีสิทธิ
ของหน่วยบริการประจำดังกล่าวสามารถใช้บริการสาธารณสุข ณ หน่วยบริการปฐมภูมิใน
เครือข่ายได้ ทั้งนี้หน่วยบริการปฐมภูมิมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากหน่วย
บริการประจำหรือจากกองทุนตามที่คณะกรรมการกำหนด
นิยามศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) กระทรวงสาธารณสุข 2
“เป็นหน่วยบริการระดับปฐมภูมิทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่มีหน้าที่และ
ความรับผิดชอบจัดบริการตอบสนองต่อความจำเป็นทางด้านสุขภาพของประชาชนขั้น
พื้นฐาน มีความเชื่อมโยง ต่อเนื่องของกิจกรรมด้านสุขภาพในลักษณะองค์รวม บูรณาการ
ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก และมีระบบการให้คำปรึกษาและส่งต่อ ทั้งนี้เพื่อการ
สร้างสุขภาพการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนเพื่อป้องกันหรือลดปัญหาที่ป้องกันได้ทั้ง
ทางกาย จิต สังคม โดยประชาชนมีส่วนร่วม”
ความหมาย “หน่วยบริการปฐมภูมิ”
ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 1
1 ข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักการ วิธีการ และเงื่อนไข การขึ้น
ทะเบียนเป็นหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ พ.ศ.2547
2 คู่มือมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน กระทรวงสาธารณสุข
ความเชื่อมโยง ความหมายของ ระบบบริการปฐมภูมิ บริการปฐมภูมิ
สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข และ PCU 3
คำเหล่านี้มีส่วนที่เหมือนกัน คือ เกี่ยวข้องการจัดบริการปฐมภูมิเหมือนกัน มีส่วนต่าง
คือ
คำว่า “บริการปฐมภูมิ” หมายถึง ส่วนที่เป็น “บริการ” อันเป็นกระบวนการที่ทำให้
แก่กลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะเอกลักษณ์ตามคำจำกัดความ
ส่วน “ระบบบริการปฐมภูมิ” หมายถึง ส่วนที่เป็น “ระบบ” อันเป็นการจัดการให้เกิด
กระบวนการบริการปฐมภูมิ ซึ่งผู้ให้บริการนี้มิใช่หมายรวมเฉพาะเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่
ครอบคลุมไปถึงการดูแลโดยประชาชน หรือท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ด้วย
หน่วยบริการปฐมภูมิ หมายถึง “หน่วยงาน” องค์กรหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ให้บริการปฐมภูมิ
ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานในสังกัดใดก็ได้
PCU (Primary Care Unit) หรือ หน่วยบริการปฐมภูมิ เป็นชื่อทั่วไป ที่ใช้เรียกองค์กร
หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการปฐมภูมิได้ตามคำจำกัดความ จะเป็นหน่วยงานในสังกัด
ใดก็ได้ เป็นรัฐหรือเอกชนก็ได้ ถ้าสามารถทำหน้าที่ได้ตามที่กำหนด
แต่เนื่องจาก คำว่า “PCU” เกิดขึ้นใหม่ในระหว่างที่มีการพัฒนาระบบหลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ คำนี้ ที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “หน่วยบริการปฐมภูมิ” จึงได้ถูกกำหนดใน
ตอนหลังว่า เป็นหน่วยงานจำเพาะที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดที่กำหนดโดยคณะกรรมการ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
3 พัฒนาการแนวคิด หลักการพัฒนาบริการปฐมภูมิ พ.ศ.2548
ส่วน “สถานีอนามัย” ถือว่าเป็นหน่วยงานเฉพาะในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ทำ
หน้าที่ให้บริการปฐมภูมิ ในลักษณะเดียวกับพีซียู หรือ หน่วยบริการปฐมภูมิ ตามที่กล่าว
ข้างต้น “ศูนย์บริการสาธารณสุข” หรือ “คลินิกเอกชน” ก็ถือว่าเป็นชื่อเฉพาะของหน่วยงาน
ที่มีบทบาทในการให้บริการปฐมภูมิบางส่วนเช่นเดียวกัน แต่อาจไม่ครอบคลุมเหมือนกับ
หน่วยบริการปฐมภูมิ
คำว่า “ศูนย์สุขภาพชุมชน” ถือเป็นคำใหม่ ที่กำหนดขึ้นมาใช้แทนคำว่าพีซียู ที่มี
คุณสมบัติตามมาตรฐานที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด แต่ไม่ได้แปลว่าตั้ง
ศูนย์สุขภาพชุมชนแล้ว จะยุบสถานีอนามัย หรือ ล้มเลิกสถานีอนามัยไป เป็นการใช้คำตาม
วาระโอกาสเป็นสำคัญ มิได้แปลว่ายุบเลิกของเดิม
ทั้งนี้ คุณลักษณะสำคัญของระบบบริการปฐมภูมิ มี 3 กลุ่มหลัก คือ
1) บริการองค์รวม
2) การส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค
3) สนับสนุนการพึ่งตนเองของประชาชน
หน่วยบริการประจำ กับ CUP มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร
ความหมายเหมือนกันคือ แต่เดิมนั้นในประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2544 ใช้
คำว่า คู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ (Contracting Unit for Primary care :
CUP) ต่อมาเมื่อมีข้อบังคับสปสช.ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเป็น
หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ พ.ศ.2547 มีการกำหนดประเภทให้สอดคล้องกับ
พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงเรียกคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิว่า
หน่วยบริการประจำ
“หน่วยบริการประจำ” (ตามข้อบังคับ สปสช.) หมายความว่า สถานบริการหรือกลุ่ม
สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการประจำ ซึ่งสามารถจัดบริการสาธารณสุขระดับ
ปฐมภูมิที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตได้อย่างเป็นองค์รวม ทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ
การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยต้อง
ให้บริการด้านเวชกรรมด้วยตนเอง และมีเครือข่ายหน่วยบริการเพื่อการส่งต่อผู้รับบริการไป
รับการบริการสาธารณสุขในกรณีที่เกินขีดความสามารถ ซึ่งผู้มีสิทธิสามารถเลือกลงทะเบียน
เป็นหน่วยบริการประจำของตน ทั้งนี้หน่วยบริการประจำมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการ
สาธารณสุขในลักษณะเหมาจ่ายรายหัวและค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขอื่นจากกองทุน
ตามที่คณะกรรมการกำหนด
ศูนย์แพทย์ชุมชน (Community Medical Unit) หรือเรียกง่ายๆ ว่า CMU เป็น
รูปแบบหนึ่งของหน่วยบริการปฐมภูมิ ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้การปฏิรูประบบ
บริการสาธารณสุขสู่สภาพที่พึงประสงค์ นั่นคือ เป็นระบบบริการสุขภาพที่ ใกล้บ้าน ใกล้ใจ
ประชาชนเข้าถึงง่าย สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย และบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
“ศูนย์แพทย์ชุมชน จริงๆ แล้วก็คือศูนย์สุขภาพชุมชนที่มีแพทย์ประจำ เพื่อให้การดูแล
สุขภาพประชาชนเป็นไปอย่างเป็นองค์รวม ต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้
กับหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไม่มีแพทย์ในเครือข่ายรอบๆ


__

คู่มือ รพ สต 18 ภารกิจหลักบท 3 โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

ขอบเขตการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค
จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ถือเป็น
กิจกรรมหนึ่งที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควรจะมีความสามารถในการให้บริการแก่
ชุมชนได้ อย่างไรก็ตาม ในระยะเริ่มแรกของการพัฒนาการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรค
จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม อาจเป็นการยากที่จะจัดกิจกรรมการดำเนินการให้
ครอบคลุมในทุกกิจกรรม รวมทั้งการมีข้อจำกัดของหน่วยบริการสุขภาพด้วย เช่น การมีข้อ
จำกัดในเรื่องจำนวนบุคลากร พื้นฐานความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยของบุคลากรในหน่วย
บริการนั้น การขาดแคลนในเรื่องอุปกรณ์ งบประมาณหรือทรัพยากรอื่นๆ เป็นต้น ดังนั้นจึง
มีความจำเป็นที่จะต้องริเริ่มและพัฒนากิจกรรมของการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคจาก
การประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ตามความพร้อมของแต่ละหน่วยบริการ
กิจกรรมของการป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมนั้น แม้ว่า
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงานจะมุ่งเน้นที่การป้องกันการประสบอันตรายและเจ็บป่วยจาก
การทำงานและการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แต่การ
ดำเนินการดังกล่าวจะต้องครอบคลุมทุกมิติของการจัดบริการสุขภาพทั่วไปด้วย คือ การ
ป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การวินิจฉัยและรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพ
ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในกิจกรรมของการดำเนินงานป้องกันควบคุม
โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมในหน่วยบริการสุขภาพ จึงอาจแบ่งกิจกรรมของ
การให้บริการออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบ
อาชีพและสิ่งแวดล้อมเชิงรุกและเชิงรับ โดยการพิจารณาจากกิจกรรมของการบริการที่อิงกับ
สถานที่ของหน่วยบริการเป็นหลัก ถ้าเป็นการจัดบริการภายในหน่วยบริการเองจะเรียกว่า
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 155
การให้บริการเชิงรับ และถ้าเป็นการให้บริการนอกหน่วยบริการหรือดำเนินการในชุมชน จะ
เรียกว่าการให้บริการเชิงรุก โดยสามารถสรุปกิจกรรมหลักที่สำคัญดังนี้
การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ
และสิ่งแวดล้อมเชิงรุก
การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมเชิงรุก
เป็นการดำเนินงานในพื้นที่ ประกอบด้วยกิจกรรม การสำรวจสภาพการทำงานและประเมิน
ความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทำงานของกลุ่มผู้ทำงานในพื้นที่ และการสำรวจปัญหาและ
ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม รวบรวมข้อมูลปัญหาโรค
จากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนหาแนวทางแก้ไขปัญหา
โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่ได้รับผลกระทบ
ต่อสุขภาพในการทำงานและผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมงานเชิงรุก ประกอบด้วย
1. ดำเนินการสำรวจและประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจากสภาพแวดล้อมใน
การทำงานในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ และผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมในกลุ่ม
ประชาชน ปีละ 1 ครั้ง
2. ดำเนินการรวบรวมข้อมูล สรุปปัญหา โรคและผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่ง
แวดล้อม เพื่อวางแผนในการติดตาม ตรวจเยี่ยม แก้ไขปัญหา และประสานการดำเนินงาน
กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. ดำเนินการติดตาม ตรวจเยี่ยมผู้ที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทำงาน และกลุ่ม
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คำแนะนำสำหรับการป้องกันและ
การปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยง
156 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
4. ดำเนินการให้ความรู้และอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะในการป้องกันโรคจากการ
ประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชน
5. ดำเนินการสนับสนุนเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำ
หมู่บ้าน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพในชุมชน กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อสร้างความ
เข้มแข็งและการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
6. ดำเนินการสอบสวนโรคและการบาดเจ็บที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ผลกระทบ
ต่อสุขภาพที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ร่วมกับเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เช่น สสอ. รพช. รพท.
รพศ. สสจ.และหน่วยงานอื่นๆ ภายนอกหน่วยงานสาธารณสุข เช่น อบต.
7. การจัดเก็บรวบรวม วิเคราะห์ และแปลผลข้อมูลที่เกิดจากการดำเนินการทางด้าน
โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เช่น ข้อมูลการประเมินความเสี่ยง ข้อมูลการ
เจ็บป่วย หรือข้อมูลการดำเนินการควบคุมหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อบริหารจัดการการ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมในการให้บริการ รวมทั้ง
การประเมินผลการให้บริการด้วย
กิจกรรมงานเชิงรับ มีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้
1. การให้บริการวินิจฉัยโรคหรือการบาดเจ็บจากการทำงาน และวินิจฉัยโรคจาก
สิ่งแวดล้อม อันได้แก่ การซักประวัติการเจ็บป่วย และประวัติการทำงาน และการวินิจฉัย
โรคเบื้องต้น รวมทั้งการให้บริการรักษาพยาบาลโรคหรือการเจ็บป่วยจากการทำงานนั้น ใน
กรณีที่ไม่สามารถให้การวินิจฉัยหรือรักษาพยาบาลได้ก็จะมีกิจกรรมของการส่งต่อเพื่อการ
วินิจฉัยและรักษาด้วย
คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 157
2. การฟื้นฟูสุขภาพ สำหรับหน่วยบริการที่สามารถดำเนินการได้ อาจมีภารกิจในการ
ฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยหรือการให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวภายหลังการเจ็บป่วย เพื่อให้กลับ
มาทำงานได้เหมือนปกติหรืออย่างปลอดภัย
3. การตรวจประเมินสุขภาพเพื่อเฝ้าระวัง บางครั้งผู้ให้บริการ อาจจะนัดแนะให้
ผู้ประกอบอาชีพมารับบริการตรวจประเมินสุขภาพที่หน่วยบริการสุขภาพได้
4. การให้คำปรึกษาหรือให้ความรู้ทางด้านอาชีวสุขศึกษารายบุคคล
5. การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารทางด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
เช่น การจัดเก็บรวบรวม วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลการดำเนินการทางด้านโรคจากการ
ประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมต่างๆ
6. การจัดเตรียมในเรื่องการปฐมพยาบาลและการรับมือต่ออุบัติภัยต่างๆ
7. กิจกรรมอื่นๆ ที่สามารถดำเนินการในหน่วยบริการ เช่น การฝึกอบรมให้ความรู้แก่
กลุ่มผู้ประกอบอาชีพ เป็นต้น
ในกรณีที่กิจกรรมการดำเนินงานทางด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
มีปริมาณการดำเนินงานค่อนข้างมาก และสามารถดำเนินการเป็นประจำสม่ำเสมอทุก
สัปดาห์ รวมทั้งมีแพทย์ที่มีความรู้ทางด้านอาชีวเวชศาสตร์มาเป็นผู้ให้บริการโดยตรง หน่วย
บริการนั้นสามารถที่จะจัดเป็นคลินิกเป็นการเฉพาะเลยก็ได้ โดยอาจจะเรียกว่า คลินิกอาชีว
เวชศาสตร์ หรือคลินิกโรคจากการทำงาน เป็นต้น
158 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
สรุป
การดำเนินงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุข
ภาพระดับตำบล ถือเป็นความจำเป็นในการดำเนินงานทางด้านสาธารณสุข เพื่อที่จะมุ่งเน้น
การดูแลสุขภาพที่เกี่ยวกับการทำงานและผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งแวดล้อม ให้แก่
ประชากรในพื้นที่ ลักษณะการจัดบริการจะเน้นที่การป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพและ
สิ่งแวดล้อม โดยผสมผสานไปกับการจัดบริการที่หน่วยบริการสุขภาพดำเนินการอยู่ ซึ่ง
กิจกรรมมีทั้งการดำเนินการเชิงรับและเชิงรุก การดำเนินการดังกล่าวจะต้องมีการสนับสนุน
ในระดับนโยบายอย่างจริงจังและอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน

คู่มือ รพ สต 17 ภารกิจหลักบท 3 โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การดำเนินงานเชิงรุก
หมายถึง การจัดกิจกรรมลงในพื้นที่เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันโรค
ติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ เพื่อให้ประชาชนตระหนักและลดพฤติกรรมเสี่ยง รวมถึง
การประชาสัมพันธ์การให้บริการตรวจรักษา คัดกรองของสถานบริการสาธารณสุข ตลอดจน
การค้นหาและติดตามผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์หรือผู้ป่วย
เพื่อนำเข้าสู่บริการในระบบรักษาพยาบาลที่เหมาะสม หรือจัดคลินิกเคลื่อนที่เพื่อบริการ
ตรวจคัดกรองโรคให้แก่กลุ่มเสี่ยงต่างๆ
งานเชิงรุก
1. สำรวจข้อมูลทางระบาดวิทยา เพื่อนำมาวิเคราะห์สถานการณ์ และวางแผนการ
ทำงานป้องกันควบคุมโรค
1.1 สำรวจพื้นที่ที่มีประชากรในเขตรับผิดชอบที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง ได้แก่ สำรวจ
สถานบริการทางเพศ สำรวจชุมชนที่มีผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด สำรวจสถานบันเทิง
หรือสถานที่ต่างๆ ที่มีกลุ่มประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนและวัยรุ่นที่มีโอกาสมี
พฤติกรรมเสี่ยง
1.2 สำรวจประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง และลักษณะพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบ เช่น
สำรวจจำนวนผู้ให้บริการทางเพศในชุมชน สำรวจผู้ใช้ยาเสพติดในชุมชนปีละ
หนึ่งครั้ง และหลังจากสำรวจแล้ว ควรมีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล และจัด
ทำรายงาน รวมถึงการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการ
วางแผนการทำงานป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ได้อย่างเหมาะสม
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 149
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจรักษาที่พร้อมด้วย (ในอดีตที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด
เป็นผู้ให้บริการในคลินิกกามโรค และปัจจุบันคลินิกได้ย้ายมาขึ้นกับ รพท./รพศ. แต่ผู้ให้
บริการที่คลินิกส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการสาธารณสุข หรือพยาบาล มีน้อยแห่งที่มีแพทย์ลง
ตรวจ หลังจากย้ายมาที่ รพท./รพศ. ผู้เข้ารับบริการก็น้อยลง เนื่องจากปัญหาปริมาณผู้ป่วย
โรคทั่วไปจำนวนมาก และความไม่ไว้ใจในการมารับบริการที่โรงพยาบาลใหญ่ๆ ไม่มีการ
ติดตามลงพื้นที่ด้วย ดังนั้น รพ.สต. ก็สามารถให้บริการได้ ซึ่งปัจจุบันงานพัฒนาศักยภาพ
บุคลากรและหน่วยบริการให้บริการได้มาตรฐานนั้นเป็นภารกิจหนึ่งที่กรมควบคุมโรคดำเนินการ
ถ้าสามารถมีบริการได้จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการของกลุ่มผู้ให้บริการทางเพศ ประชาชน
โดยเฉพาะเยาวชนที่ติดเชื้อได้ ลดปัญหาการดื้อยา เนื่องจากการซื้อยากินเอง และลดการ
แพร่ระบาดของโรคได้)
2. ติดตามให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคแก่คู่สัมผัสโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ใน
ครอบครัวหรือชุมชน
3. ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในผู้ให้บริการทางเพศ เช่น ตรวจภายใน
ทุกเดือน เจาะเลือดเพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคซิฟิลิสเมื่อมารับบริการครั้งแรก และทุก 3 เดือน
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกปี โดยส่งตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของ รพช./
รพท./รพศ.
4. ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคทั่วไป
5. ให้ยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสทั้งแบบปฐมภูมิ (ให้ยาเมื่อผู้ติดเชื้อ HIV ยังไม่
เคยป่วยเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสชนิดนั้นมาก่อนแต่มีจำนวนเม็ดเลือดขาว CD4 น้อยกว่า
เกณฑ์ที่กำหนดตามแนวทางการดูแลรักษาโรค ซึ่งสามารถเกิดโรคฉวยโอกาสได้) และการ
150 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ป้องกันแบบทุติยภูมิ (การให้ยาเมื่อผู้ป่วยป่วยเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสชนิดนั้นๆ แล้ว และ
รักษาหายขาดแล้ว จึงต้องรับประทานยาเพื่อป้องกันการเป็นโรคนั้นซ้ำอีก) โดยรับส่งต่อ
ผู้ติดเชื้อ HIV ที่ได้รับการดูแลรักษาจาก รพช./รพศ./รพท. และแพทย์สั่งให้มารับยาป้องกัน
เพื่อรับมาดูแลให้ยาต่อเนื่อง
6. ให้บริการยาต้านไวรัส HIV โดยรับส่งต่อผู้ติดเชื้อที่มีประวัติรับประทานยาอย่าง
ต่อเนื่อง และไม่มีปัญหาทางการแพทย์ที่แทรกซ้อน จาก รพช./รพศ./รพท. เพื่อรับมาดูแล
ต่อเนื่อง และจะส่งผู้ป่วยกลับไปรับบริการที่ รพช./รพศ./รพท. เป็นครั้งคราวตามที่แพทย์
นัด หรือเมื่อเกิดปัญหาด้านการรักษา เช่น การดื้อยา หรืออาการข้างเคียงจากยา
7. มีบริการฝากครรภ์ (antenatal care : ANC) เช่น ตรวจคัดกรองการติดเชื้อ HIV
และซิฟิลิส ในหญิงตั้งครรภ์ และให้บริการยาต้านไวรัสเอดส์เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ
จากแม่สู่ลูก
8. ตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น (routine laboratory testing) เพื่อใช้ประกอบ
การวินิจฉัยโรค ในกรณีที่มีแพทย์ประจำอยู่ที่ รพ.สต. และมีวัสดุอุปกรณ์ตรวจทางห้อง
ปฏิบัติการพร้อม เช่น กล้องจุลทรรศน์ และน้ำยาตรวจ ได้แก่ การตรวจ UA stool exam
(เพื่อดูการติดเชื้อที่อุจจาระ เช่น พยาธิ) การย้อมสีกรัม (ram’s stain) (เช่น ใช้ดูเชื้อ
หนองใน ดูการติดเชื้อที่ปอดจากการย้อมเสมหะ หรือดูการติดเชื้อที่แผลต่างๆ) wet
smear (ใช้น้ำเกลือหยดลงบนตัวอย่างตกขาวบนสไลด์แล้วส่งกล้องจุลทรรศน์ดู เพื่อหาเชื้อ
Trichomonas Vaginalis) KOH (ใช้ดูเชื้อรา) แต่ถ้าไม่มีแพทย์ประจำอยู่ หรืออุปกรณ์การ
ตรวจไม่พร้อม ก็ส่งตัวอย่างตรวจที่ รพช./รพท./รพศ. ได้
9. ตรวจหาการติดเชื้อ HIV โดยการตรวจหา HIV Antibody ด้วยวิธีการตรวจเร็ว
(rapid test) หรือตรวจโดยการส่งตัวอย่าง
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 151
10. ตรวจคัดกรองหามะเร็งปากมดลูก โดยวิธี PAP Smear โดยการตรวจผู้ป่วยเองแล้ว
ส่งไปดูที่ รพช./รพท./รพศ. (เพราะเป็นการตรวจตามปกติ สำหรับผู้ติดเชื้อ HIV ที่มักพบ
มะเร็งปากมดลูกได้บ่อย สำหรับวิธี VIA ยังอยู่ระหว่างการศึกษา)
11. ตรวจคัดกรองหาวัณโรคปอดในผู้ติดเชื้อ HIV โดยการทำตรวจทางรังสีปอดและ
ตรวจเสมหะ ซึ่งทำได้เองที่ รพ.สต. ถ้ามีแพทย์ประจำ หรือวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการพร้อม แต่ถ้าไม่พร้อมก็ส่งผู้ป่วยไปรับการตรวจที่ รพช. และรับส่งต่อมาให้รับ
ยารักษาวัณโรคต่อเนื่องด้วยวิธี DirectIy Observed Therapy : DOT
12. ให้คำปรึกษาเพื่อตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีแบบสมัครใจ Volunteer Counselling
and Testing Programs : VCT)
13. ให้คำปรึกษาเรื่องการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์ เพื่อส่งเสริมการรับประทาน
ยาอย่างต่อเนื่อง
14. ให้คำปรึกษาโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
15. ให้คำปรึกษาด้านจิตใจ และสังคม
16. ให้คำปรึกษาเพื่อวางแผนครอบครัว การปรึกษาก่อนการตั้งครรภ์ การปรึกษา
ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
17. ให้คำปรึกษากับคู่ของผู้ติดเชื้อ HIV และครอบครัว (couple counseling, family
counseling)
152 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
18. ให้สุขศึกษาเกี่ยวกับโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การใช้ถุงยาง
อนามัยอย่างถูกต้องแก่ผู้รับบริการ เช่น ผ่านทางสื่อต่างๆ
19. มีการจัดกิจกรรมกลุ่มสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV เช่น เพื่อส่งเสริมการรับประทานยา
ต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คำปรึกษาซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม
20. มีการแจกอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ได้แก่ ถุงยางอนามัย ให้กับผู้ติดเชื้อ HIV
และผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง รวมถึง สารหล่อลื่น สำหรับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
อุปกรณ์หรือผงทำความสะอาดเข็มและกระบอกฉีดยา สำหรับกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด
21. มีบริการวัคซีนป้องกันโรคสำหรับเด็กที่ติดเชื้อ HIV ตามเกณฑ์ของกระทรวง
สาธารณสุข
22. รวบรวมข้อมูลและจัดทำรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาที่เกี่ยวข้อง เพื่อ
ติดตามสถานการณ์โรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น รายงาน 506/1 และ
รายงาน 506
23. พัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการอย่างต่อเนื่อง เช่น ส่งไปฝึกอบรม ดูงาน เป็นต้น
ระบบส่งต่อและเชื่อมโยง
1. ส่งตัวอย่าง หรือส่งคนไข้ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ซับซ้อนที่ รพช./รพท./รพศ.
เช่น การตรวจ HIV PCR ในเด็ก การตรวจ CD4 การตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส TPHA
VDRL การตรวจ urine PCR เพื่อหาการติดเชื้อหนองใน ในบางกรณีอาจต้องส่งคนไข้ไป
ตรวจที่ รพช./รพท./รพศ. เช่น การตรวจ CD4 ที่ไม่สามารถเก็บตัวอย่างส่งตรวจได้ภายใน
24 ชั่วโมง เป็นต้น
ภารกิจหลักบทที่ 3 ภารกิจของ รพ.สต. 153
2. การส่งต่อการรักษาทางการแพทย์ที่ซับซ้อน ไปยัง รพช./รพท./รพศ.
3. การส่งต่อผู้ติดเชื้อ HIV ไปเริ่มรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ที่ รพช./รพท./รพศ.
4. ส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV ไปรับการผ่าตัดครรภ์ที่ รพช./รพท./รพศ.
5. ส่งต่อ รพช./รพท./รพศ. เพื่อให้ติดตามการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคแก่คู่สัมผัส
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในครอบครัวหรือชุมชนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของ รพช./รพท./
รพศ.
6. ส่งต่อผู้ใช้ยาที่ติดเชื้อ HIV ไปรับการบำบัดรักษายาเสพติดที่คลินิก/รพ./ศูนย์บำบัด
รักษายาเสพติด
7. การส่งต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือด้าน
สังคม และสวัสดิการสังคมต่างๆ เช่น เงินสงเคราะห์ การฝึกอาชีพ
8. ส่งต่อผู้ติดเชื้อ HIV ให้กับครอบครัว เพื่อการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องที่บ้าน
9. ติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ HIV อย่างต่อเนื่องที่บ้าน
10. มีการส่งต่อยาต้านไวรัสเอดส์จากโรงพยาบาลชุมชนมาให้กับ บุคลากรของ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลที่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานเพื่อป้องกันการติด
เชื้อ HIV
154 คู่มือการให้บริการของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล